แมลงหวี่ขาว
แมลงพาหะก่อโรคพืช
ในฤดูร้อนที่มีสภาพอากาศร้อนและแห้ง มักพบการระบาดของแมลงศัตรูพืชหลายชนิด และหนึ่งในแมลงศัตรูพืชที่สำคัญอีกชนิดที่เกษตรกรส่วนใหญ่น่าจะรู้จักกันดี ก็คือ "แมลงหวี่ขาว"
ซึ่งแมลงหวี่ขาวนี้นอกจากจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบและยอดอ่อนของพืช ทำให้เกิดเป็นจุดสีเหลืองบนใบพืช ใบพืชหงิกงอขอบใบม้วนลงด้านล่าง ต้นแคระแกร็น และเหี่ยว แมลงหวี่ขาวยังเป็นตัวการสำคัญที่นำเชื้อโรคเข้าสู่ต้นพืชอีกด้วย
การแพร่ระบาด
แมลงหวี่ขาวพบระบาดในแหล่งปลูกพืชทั่วๆ ไป โดยมีการระบาดหนักในฤดูร้อนและต้นฤดูฝน หากอากาศแห้งและไม่มีฝนติดต่อกันหลายวัน จะยิ่งส่งผลให้แมลงหวี่ขาวเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว
พืชอาหาร
แมลงหวี่ขาวจัดเป็นแมลงศัตรูพืชที่มีพืชอาหารมากชนิดหนึ่ง ที่เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญ ได้แก่ พริก มะเขือ กระเจี๊ยบเขียว มันเทศ พืชตระกูลกะหล่ำ ถั่วต่างๆ ยาสูบ มันฝรั่ง และฝ้าย เป็นต้น
แมลงหวี่ขาวเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสสาเหตุโรคใบด่างในพืชต่างๆ ดังนี้ โรคใบหงิกเหลือง (Tomato Yellow Leaf Curl Virus - TYLCV)
✅ พบในมะเขือเทศ พริก และพืชตระกูลมะเขือ
✅ อาการ: ใบหงิกงอ มีสีเหลือง พืชชะงักการเจริญเติบโต โรคใบด่างโมเสก (Cassava Mosaic Disease - CMD)
✅ พบในมันสำปะหลัง
✅ อาการ: ใบด่างเป็นลายเหลืองเขียว ใบหงิกและเล็กลง โรคใบด่างเหลือง (Yellow Mosaic Virus - YMV)
✅ พบในถั่วฝักยาว และพืชตระกูลถั่ว
✅ อาการ: ใบด่างเหลือง ขอบใบม้วนงอ และการเจริญเติบโตลดลง โรคใบด่างในฝ้าย (Cotton Leaf Curl Virus - CLCuV)
✅ พบในฝ้าย
✅ อาการ: ใบม้วนขึ้น ปลายใบแห้ง และผลผลิตลดลง โรคใบหงิกในแตงกวา (Cucumber Yellow Stunting Disorder Virus - CYSDV)
✅ พบในแตงกวา และพืชตระกูลแตง
✅ อาการ: ใบมีจุดเหลืองซีด การเจริญเติบโตผิดปกติ โรคใบหงิกในพริก (Chilli Leaf Curl Virus - ChiLCV)
✅ พบในพริก
✅ อาการ: ใบม้วนงอ ขนาดใบเล็กลง และลดการติดผล
-------------------------------------
การป้องกันและกำจัด
หมั่นสำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ หากพบการระบาดสามารถป้องกันกำจัดได้หลายวิธี เช่น
✅ ใช้กับดักกาวเหนียว
✅ ฉีดพ่นด้วยเชื้อราบิวเวอร์เรีย อัตราเชื้อสด 1 กิโลกรัมต่อน้ า 40 ลิตร
✅ ฉีดพ่นด้วยพืชสมุนไพร เช่น หางไหล ใบยาสูบ อัตราสมุนไพร 1 กิโลกรัมต่อน้ า 40 ลิตร
✅ การใช้สารป้องกันกำจัดแมลง
✅ ฉีดพ่น #วีเกอรา35 (อิมิดาคลอพริด35% SL) อัตรา 5-10 ซีซี หรือ #โปรโตคอพ (ไทอะมีทอกแซม 25% WG) อัตรา 2-4 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
***ไม่ควรใช้สารเคมีชนิดเดียวติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรมีการสลับชนิดเพื่อป้องกันเพลี้ยเกิดความต้านทาน และควรใช้ในขณะที่แมลงหวี่ขาวอยู่ในระยะตัวอ่อนวัยแรกเพราะไม่มีปุยขาวปกคลุมตัว จะให้ผลดีที่สุด
-------------------------------------
ข้อมูลอ้างอิง : เอกสารกลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดตราด และ เพจเกษตรภูมิใจ