แคลเซียม (Ca) เป็นธาตุอาหารรองที่สำคัญต่อพืช ไม่แพ้ธาตุอาหารหลักอย่าง ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K) เพราะแคลเซียมมีบทบาทเกี่ยวข้องกับการแบ่งเซลล์ของพืช บริเวณเนื้อเยื่อเจริญทั้งที่ปลายยอด ปลายราก ใบอ่อน การแตกตาอ่อนของกิ่ง ของตาดอก และการเจริญของดอกและผล ทำให้ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพ เก็บรักษาได้นาน ทนต่อการเข้าทำลายของโรคและแมลงมากขึ้น
หน้าที่สำคัญของธาตุแคลเซียม (Ca) ได้แก่
• ช่วยเสริมสร้างเซลล์ และการแบ่งเซลล์ของพืช ซึ่งพืชต้องการอย่างต่อเนื่อง
• ช่วยเพิ่มการติดผล
• ช่วยให้สีเนื้อและสีผิวของผลสดใส
• ช่วยลดการเกิดเนื้อของผลแข็งกระด้าง และเนื้อแฉะ
• ช่วยป้องกันผลร่วง ผลแตก
• มีบทบาทที่สำคัญในระยะการเจริญเติบโตและการออกดอกของพืช
• เป็นตัวช่วยลดการหายในของพืช ทำให้พืชเหี่ยวช้า
• เป็นตัวช่วยเคลื่อนย้ายน้ำตาลจากใบไปสู่ผล ทำให้ผักผลไม้มีรสชาติดี
• ควบคุมการดูดน้ำเข้าไปในเซลล์พืช และป้องกันผลแตก
• ช่วยให้พืชทนทานต่อการเข้าทำลายของโรคและแมลง ไม่เน่าง่าย
การเติมแคลเซียมให้กับพืช ทำได้ 2 วิธี คือ
1. การเพิ่มปริมาณแคลเซียมในดิน ซึ่งแคลเซียมจะดูดซึมเข้าทางรากพืช โดยการหว่านปุ๋ยที่มีแคลเซียมเป็นองค์ประกอบที่อยู่ในรูปเม็ดทางดิน
2. การฉีดพ่นเข้าทางใบและผลโดยตรง โดยสามารถใช้ผสมรวมไปกับสารเคมีฆ่าแมลงหรือสารกำจัดเชื้อราและฉีดพ่นต้นตามปกติ ซึ่งการฉีดพ่นทางใบจะทำให้พืชนำแคลเซียมไปใช้ได้ทันที
สินค้าแคลเซียมของคิวยีล์
• แคลเซียมเดี่ยว
✅ เบรซิล แคลเซียม
แคลเซียมคีเลตน้ำในรูปสารอินทรีย์
พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที ติดที่ใบนาน
⊕ อัตราใช้ 10-20 ซีซี / 20 ลิตร
✅ วาเรส แคลเซียม
แคลเซียมคีเลตในรูป EDTA เข้มข้น ใช้น้อย
⊕ อัตราใช้ 2-4 กรัม / น้ำ 20 ลิตร
• แคลเซียม แมกนีเซียม
✅ อโซแม็ค
แคลเซียม แมกนีเซียมในรูปแบบน้ำ พืชดูดซึมไว เคลื่อนย้ายได้ดี
⊕ อัตราใช้ 10-15 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร
• แคลเซียม โบรอน (ในรูปน้ำ)
✅ จิโอลา
แคลเซียม โบรอน น้ำใส
⊕ อัตราใช้ 10-15 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร
✅ คิว-พลัส
แคลเซียม โบรอน น้ำดำ
⊕ อัตราใช้ 20-30 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร
• แคลเซียม โบรอน (ในเม็ดหว่านทางดิน)
✅ บีจี เฟอร์ลิซ
แคลเซียม โบรอน ทางดิน เป็นสารอาหารในรูปแบบพร้อมใช้งาน
⊕ อัตราใช้ 200-300 กรัม/ต้น (ไม้ผล)