Top
โรคพืชในส้มที่ควรระวัง
ในช่วงที่สภาพอากาศแปรปรวน เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวฝน โรคพืชในส้มที่เกษตรกรต้องระวังมีดังนี้
.
1. โรคแคงเกอร์ หรือ โรคขี้กลากในส้ม (Canker)
โรคแคงเกอร์ หรือ โรคขี้กลาก ในส้ม (Canker) คือ ปัญหาสำคัญของพืชตระกูลส้ม จะพบและเป็นปัญหากระทบถึงผลผลิต ใน ส้มโอ มะนาว และ มะกรูด ส่วนใน ส้มเขียวหวาน เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas campestris pv. Citri ( Hasse) Dye เชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคสามารถระบาดไปตามลมและน้ำ เข้าทำลายพืชเมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม ในระยะพืชแตกใบอ่อน หรือใบที่เกิดจากการทำลายของแมลง
ลักษณะอาการของโรค
รอยแผลตรงกลางจะดูฝังลึกลงไปในผิวของผล ขอบแผลจะนูน และจะมีวงสีเหลืองรอบๆแผล
 
การป้องกันกำจัด
✅ ฉีดพ่น เวโล อัตรา 20-30 ซีซี + ฟิกเซอร์ 408 อัตรา 2 ซีซี. ผสมน้ำ 20 ลิตร หากฉีดตั้งแต่เริ่มพบอาการจะทำให้ควบคุมโรคได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
-----------------------------

2. โรคสแคป
เกิดจากเชื้อรา Elsinoe fawcettii Bitanc& Jankins
ลักษณะอาการของโรค
โรคสแคปของส้ม เกิดจากเชื้อรา ชอบอากาศเย็น พบมากบนพื้นที่ปลูกส้มที่อากาศเย็น จะมีลักษณะคล้ายโรคแคงเกอร์ คือจุดแผลนูน พบบนใบอ่อนส้มที่แตกใหม่ หรือผลส้ม แต่มีความแตกต่างที่รอยแผล โดยโรคสแคป จะไม่มีวงสีเหลืองล้อมรอบแผลบนใบ จะเกิดตุ่มนูนด้านหลังใบ ส่วนหน้าใบแผลจะบุ๋มลงพบการแพร่ระบาดช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว
 
การป้องกันกำจัด
✅ ฉีดพ่น โกลด์ทิป 76 (สารซีแรม 76%) อัตรา 20-30 กรัม + ฟิกเซอร์ 408 อัตรา 2 ซีซี. ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นได้ตั้งแต่ระยะแรกที่เจออาการของโรค จะควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
-----------------------------

3. โรคเมลาโนส
กลุ่มโรคเมลาโนส เป็นกลุ่มโรคสำคัญโรคหนึ่งของส้มที่พบระบาดในสวนส้มบ่อยมาก โรคกลุ่มนี้จะทำให้ใบส้มเหลือง หลุดร่วง ต้นส้มทรุดโทรม ผลผลิตลดลง ในแหล่งปลูกส้มบริเวณภาคกลางสามารถพบโรคส้มในกลุ่มนี้ได้ตลอดปีโดยระบาดรุนแรงในส้มเขียวหวาน ส้มตรา(ส้มเช้ง) ส้มโอและมะนาว จะพบในส้มต้นโตหรือมีอายุมากกว่าในส้มต้นเล็กหรือเพิ่งปลูก ซึ่งกลุ่มโรคเมลาโนส แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ โรคเมลาโนส เชื้อรา Diaporthe citri, โรคกรีสซีเมลาโนส เชื้อรา Cercospora citri, โรคใบปื้นเหลือง เชื้อรา Cercospora citri
 
การป้องกันกำจัด
✅ ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา ซอร์บา (#อะซอกซีสโตรบิน 25%W/V SC) อัตรา 5-10 ซีซี + ฟิกเซอร์ 408 อัตรา 2 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อเพิ่มประสิทธิการดูดซึมและแผ่กระจายของยา
**ควรฉีดพ่นห่างกัน 7-10 วัน/ครั้ง เพื่อป้องกันโรค และ 5-7 วัน/ครั้ง เมื่อพบการระบาดของโรค ควรฉีด 2-3 ครั้งติดต่อกัน เพื่อหยุดการระบาดของโรค

✅ ใช้ วีเกอรา เอสแอล (อิมิดาคลอพริด 10% W/V SL) กำจัดเพลี้ยไฟก่อนที่จะกำจัดเชื้อราโดยฉีดพ่น 3 ครั้งติดต่อกันห่างกัน 3 วัน
*ในการฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อราและแมลงศัตรูพืช ควรฉีดพ่นให้ทั่วทั้งต้น โดยเฉพาะด้านใต้ใบ ซึ่งเป็นที่ที่มีการเข้าทำลายของเชื้อราสาเหตุโรคพืช
-----------------------------
4. โรครากเน่าโคนเน่า ในส้ม (Root and Stem Rot)
โรครากเน่าโคนเน่าจะเกิดได้กับพืชหลายชนิด สำหรับพืชตระกูลส้มนั้น เดิมจะทำความเสียมากกับ ส้มเขียวหวานและส้มโอ แต่ปัจจุบันนี้จะพบมากในส้มโอ โรคเข้าทำลายต้นส้มได้ตลอดปีถ้ามีการให้น้ำ แต่ระบาดมากในฤดูฝน โรคระบาดมากในดินเปรี้ยว และดินเหนียว สภาพน้ำขัง สภาพต้นไม่สมบูรณ์แข็งแรง ขาดการดูแล และ/หรือ มีผลส้มบนต้นมากเกินไป
 
ลักษณะการเข้าทำลาย
โรครากเน่า โรคโคนเน่า ส้ม คือ โรคที่เกิดจากเชื้อรา Phytophthora parasitica Dastur โรคเกิดได้กับทุกส่วนของต้น โดยเฉพาะโคนต้นและระบบราก ต้นส้มเป็นโรคมีอาการทรุดโทรม ไม่สมบูรณ์ อาจพบแผลบริเวณโคนต้นหรือกิ่ง โดยส่วนเปลือกปริแตกมีสีคล้ำ ฉ่ำน้ำและอาจมียางไหลจากรอยแผล เมื่อถากเปลือกตรงรอยแผลออกจะพบเนื้อไม้เป็นแผลสีน้ำตาล หรือน้ำตาลแดง รากที่เป็นโรคจะมีเปลือกเป็นแผลเน่าและส่วนเนื้อรากตรงรอยแผลเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือน้ำตาลแดง
 
การป้องกันกำจัด
✅ ใช้ คิวโตฟอส (ฟอสฟอนิก แอซิด) ใช้อัตรา 1:1 คิวโปรฟอส 400 อัตรา 100 ซีซี ต่อน้ำกลั่น 100 ซีซี
หรือ
✅ ริดโดมิลโกลด์ (แมนโคเซบ 64% + เมทาแลกซิล-เอ็ม 4%) อัตรา 250 กรัม + น้ำ 1 ลิตร+ ฟิกเซอร์ 408 อัตรา 2-3 ซีซี
ฉีดพ่นหรือทาบริเวณแผลที่มีการถากเปลือกด้านนอกออกไปแล้ว
 
 
บทความที่เกี่ยวข้อง
การใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและปลอดภัย
อาการขาดธาตุอาหารของพืช
ข้อมูลแถบสีบนฉลากสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช
ข้อแตกต่างระหว่างหนอนผีเสื้อ VS หนอนแมลงวัน ชอนใบในมะเขือเทศ
โรคใบด่างจุดวงแหวนในมะละกอ
ผังแสดงตารางการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชบางชนิด
การระบาดของศัตรูพืชช่วงหน้าร้อน
น้ำตาลทางด่วน VS กรดอะมิโน
การปลูกพืชใช้ดินอะไรดี
โรคยอดฮิตในมะละกอ
แนวทางการทำเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง
เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน
เพลี้ยไก่แจ้ส้ม และการป้องกัน
7 วิธีดูแลรักษาไม้ผลในช่วงแล้ง
โรคพืชที่มีสาเหตุมาจากไวรัสในพริก
การตรวจวิเคราะห์ดิน
มารู้จักกับหนอนชอนใบผีเสื้อมะเขือเทศ
โรคราแป้งในเงาะ
รู้ไหมว่าเชื้อ "บีที" คืออะไร
น้ำฝนต่อการเจริญเติบโตของพืช
การดูแลผักในฤดูฝน
ทุเรียนเต่าเผา ทุเรียนไส้ซึม
แต่ละภาค...ปลูกอะไรดี?
โรคเมลาโนสในส้ม
การฉีดพ่นสารทางใบให้ถูกวิธี
การฝังเข็มรักษาโรครากเน่าโคนเน่าอย่างไรให้ได้ผล
เพลี้ยหอยในส้ม
เพลี้ยจักจั่นฝอยทุเรียน
โรคใบจุดสาหร่ายในทุเรียน
โรคใบจุดตากบในพริก
โครงการแก้มลิง
7 วิธีกำจัดหอยทากอย่างปลอดภัย
หนอนม้วนใบส้ม (Citrus leaf-roller)
5 เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับกระท่อม
การดูแลต้นไม้หลังน้ำลด
ระวัง ไรขาวและโรคกุ้งแห้งระบาดในพริก
โรคกิ่งแห้งทุเรียน จากเชื้อฟิวซาเรียม
โรคราสีชมพูในทุเรียน
หนอนหน้าแมวศัตรูต้วร้ายปาล์มน้ำมัน
โรคเน่าคอดินในผักกินใบ
แมลงศัตรูพืชที่ระบาดในหน้าหนาว
โรคพืชที่ต้องระวังในฤดูหนาว
3 ตัวห้ำ แมลงดีในแปลงเกษตร
ธาตุรอง และ จุลธาตุ ธาตุอาหารสำคัญที่พืชขาดไม่ได้
แมลงศัตรูพืชที่สำคัญในทุเรียน
โรคพืชในทุเรียน
ปลูกมังคุดต้องระวัง (โรคและแมลง) อะไรบ้าง
การใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ
8 เทคนิคการจัดการปุ๋ย
มาทำความรู้จัก ปุ๋ยไนโตรเจนกันเถอะ
โรคและแมลงศัตรูพืชยอดฮิตในพริก
วิธีการดูทุเรียนสุก
โรคและแมลงศัตรูพืชที่พบบ่อยในผักตระกูลกะหล่ำ
การขาดธาตุแมงกานีสในทุเรียน
แมลงและโรคพืชที่ต้องระวังในส้ม
6 เรื่อง...ที่ต้องรู้ก่อนซื้อสารกำจัดศัตรูพืช
อาการ...ขาดธาตุโบรอน ในปาล์มน้ำมัน
อาการขาดธาตุสังกะสี
อาการขาดธาตุแมกนีเซียมในปาล์มน้ำมัน
โรคใบติดทุเรียน ภัยร้าย ทำลายพืช !!
วิธีการฟื้นฟู และดูแลต้นไม้หลังน้ำลด
สีของดินบอกอะไรบ้าง?
4 หลักการใส่ปุ๋ยเคมีให้คุ้มค่า
มารู้จัก แมลงศัตรูพืช กันเถอะ
ประโยชน์ของธาตุแคลเซียมที่มีต่อพืช
การดูแล "ผักสลัด" ในหน้าร้อน ทั้งในและนอกโรงเรือน
5 แมลงศัตรูพืชที่สำคัญในส้ม
บำรุงดินด้วยวิธีธรรมชาติ เคล็ดดลับดูแลต้นไม้แบบประหยัด
ปัญหาพืชหน้าฝน โรครากเน่า โคนเน่า
โรคร้ายทำลายข้าว
อาหารทางใบฉีดพ่นยังไงให้ได้ผล
สารกำจัดศัตรูพืช ยาร้อน ยาเย็น ดูอย่างไร?
โรคพืชที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย