Top
โรคเมลาโนสในส้ม

กลุ่มโรคเมลาโนส เป็นกลุ่มโรคสำคัญโรคหนึ่งของส้มที่พบระบาดในสวนส้มบ่อยมาก โรคกลุ่มนี้จะทำให้ใบส้มเหลือง หลุดร่วง ต้นส้มทรุดโทรม ผลผลิตลดลง ในแหล่งปลูกส้มบริเวณภาคกลางสามารถพบโรคส้มในกลุ่มนี้ได้ตลอดปีโดยระบาดรุนแรงในส้มเขียวหวาน  ส้มตรา(ส้มเช้ง) ส้มโอและมะนาว จะพบในส้มต้นโตหรือมีอายุมากกว่าในส้มต้นเล็กหรือเพิ่งปลูก

 

กลุ่มโรคเมลาโนส แบ่งเป็น 3 ชนิด

  1. โรคเมลาโนส เชื้อรา  Diaporthe citri ที่เป็นสาเหตุโรค จะเข้าทำลายส้มได้ทั้งที่ใบ กิ่ง และผล แต่จะมีความรุนแรงมากเมื่อเกิดในกิ่งส้ม จะเกิดกับใบเพสลาด  อาการเริ่มแรกเป็นแผลจุดขนาดเล็กสีเหลืองอ่อน ต่อมาจะขยายใหญ่นูนขึ้นสีน้ำตาลเข้ม มักจะเกิดด้านใต้ใบกระจายทั่วทั้งใบ เวลาลูบจะรู้สึกสากมือ แต่ถ้าในกิ่งอาการเริ่มแรกจะคล้ายกับแผลบนใบ เมื่อเป็นมากขึ้นแผลจะแตกเป็นสะเก็ดนูน และทำให้กิ่งเริ่มแห้งตายไป

 

  1. โรคกรีสซีเมลาโนส เชื้อรา Cercospora citri จะเข้าทำลายใบในขณะที่ยังเป็นใบอ่อน แผลมีลักษณะเป็นจุดใสเล็กๆ เกิดได้ทั้งด้านใต้ใบและบนใบ ต่อมาแผลจะเปลี่ยนสีเป็นสีเหลืองปนเขียวหรือสีน้ำตาล เมื่อใบแก่จุดนูนนี้จะขยายใหญ่มีสีน้ำตาลหรือสีดำ เมื่อลูบจะไม่รู้สึกสากมือเหมือนเมลาโนส

 

  1. โรคใบปื้นเหลือง เชื้อรา Cercospora citri จะเข้าทำลายใบ โดยใบส้มจะเกิดอาการเหลืองเป็นแต้มๆ หรือแถบๆ ทั้งด้านใบและใต้ใบ อาจพบตุ่มหรือจุดนูนสีครีมหรือสีน้ำตาลอ่อนอยู่บนแต้มสีเหลือง โรคนี้จะทำให้ใบร่วงมาก และทำให้ยอดแห้งตาย

    นอกจากโรคดังกล่าวข้างต้นแล้ว อาจพบโรคอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า “โรคสตาร์เมลาโนส หรือ โรคเมลาโนสรูปดาว” เป็นโรคที่เกิดบนใบทีเกิดโรคเมลาโนสแล้วมีการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชพวกสารประกอบของคอปเปอร์ ไม่ถูกต้อง เช่น เมื่อเกิดโรคเมลาโนสระบาดแล้ว ใช้สารในอัตราที่เข้มข้นเกินไป หรือใช้ฉีดพ่นบ่อยเกินไป จะทำให้แผลจุดนูนของโรคเมลาโนสแตกเป็นสะเก็ดสีน้ำตาลมีลักษณะเป็นแฉกๆ คล้ายรูปดาว ขนาดของแผลมีตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ โดยทั่วไปโรคนี้จะไม่ทำให้เกิดความเสียหายมากนัก ยกเว้นกรณีที่เกิดแผลบนผลส้ม อาจเป็นสาเหตุทำให้ผลส้มแตกได้

 

การแพร่ระบาด

สำหรับโรคเมลาโนสซึ่งมีสาเหตุเกิดจากเชื้อรานั้นจะแพร่ระบาดโดย สปอร์ซึ่งเชื้อราสร้างขึ้นปลิวไปกับลมติดไปกับน้ำหรือน้ำฝนหรือติดไปกับกิ่งพันธุ์

ส่วนโรคสตาร์เมลาโนสเป็นโรคที่เกิดจากโรคเมลาโนสและใช้สารประกอบคอปเปอร์ผิดวิธี จึงเป็นโรคที่ไม่ระบาด

 

การป้องกันกำจัดโรคเมลาโนสที่เกิดจากเชื้อรา

  1. เก็บกิ่ง ใบ ผล ในสวนส้มที่เป็นโรค เพื่อป้องกันการระบาด หรือเป็นการทำลายแหล่งเพาะเชื้อสาเหตุ
  2. แต่งทรงต้นไม้ให้โปร่งไม่รกทึบ เพื่อให้การถ่ายเทอากาศสะดวกและแสงแดดส่องเข้าถึงกำจัดวัชพืชในสวนส้มออกให้หมดเพื่อลดความชื้น และลดแหล่งเพาะเชื้อสาเหตุ
  3. ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา ซอร์บา (อะซอกซีสโตรบิน 25%W/V SC) อัตรา 5-10 ซีซี ผสมร่วมกับฟิกเซอร์ 408 อัตรา 2 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อเพิ่มประสิทธิการดูดซึมและแผ่กระจายของยา ฉีดพ่นห่างกัน 7-10 วัน/ครั้ง เพื่อป้องกันโรค และ 5-7 วัน/ครั้ง เมื่อพบการระบาดของโรค ควรฉีด 2-3 ครั้งติดต่อกัน เพื่อหยุดการระบาดของโรค
  4. ใช้วีเกอรา เอสแอล (อิมิดาคลอพริด 10% W/V SL) กำจัดเพลี้ยไฟก่อนที่จะกำจัดเชื้อราโดยฉีดพ่น 3 ครั้งติดต่อกันห่างกัน 3 วัน

*ในการฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อราและแมลงศัตรูพืช ควรฉีดพ่นให้ทั่วทั้งต้น โดยเฉพาะด้านใต้ใบ ซึ่งเป็นที่ที่มีการเข้าทำลายของเชื้อราสาเหตุโรคพืช

 

บทความอ้างอิง : “โรคส้ม...ตอนที่สอง” โดยนางสาวอำไพวรรณ ภราดร์นุวัฒน์

บทความที่เกี่ยวข้อง
การใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและปลอดภัย
อาการขาดธาตุอาหารของพืช
ข้อมูลแถบสีบนฉลากสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช
ข้อแตกต่างระหว่างหนอนผีเสื้อ VS หนอนแมลงวัน ชอนใบในมะเขือเทศ
โรคใบด่างจุดวงแหวนในมะละกอ
ผังแสดงตารางการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชบางชนิด
การระบาดของศัตรูพืชช่วงหน้าร้อน
น้ำตาลทางด่วน VS กรดอะมิโน
การปลูกพืชใช้ดินอะไรดี
โรคยอดฮิตในมะละกอ
แนวทางการทำเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง
เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน
เพลี้ยไก่แจ้ส้ม และการป้องกัน
7 วิธีดูแลรักษาไม้ผลในช่วงแล้ง
โรคพืชที่มีสาเหตุมาจากไวรัสในพริก
การตรวจวิเคราะห์ดิน
มารู้จักกับหนอนชอนใบผีเสื้อมะเขือเทศ
โรคราแป้งในเงาะ
รู้ไหมว่าเชื้อ "บีที" คืออะไร
น้ำฝนต่อการเจริญเติบโตของพืช
การดูแลผักในฤดูฝน
ทุเรียนเต่าเผา ทุเรียนไส้ซึม
แต่ละภาค...ปลูกอะไรดี?
การฉีดพ่นสารทางใบให้ถูกวิธี
การฝังเข็มรักษาโรครากเน่าโคนเน่าอย่างไรให้ได้ผล
เพลี้ยหอยในส้ม
เพลี้ยจักจั่นฝอยทุเรียน
โรคใบจุดสาหร่ายในทุเรียน
โรคใบจุดตากบในพริก
โครงการแก้มลิง
7 วิธีกำจัดหอยทากอย่างปลอดภัย
หนอนม้วนใบส้ม (Citrus leaf-roller)
5 เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับกระท่อม
การดูแลต้นไม้หลังน้ำลด
ระวัง ไรขาวและโรคกุ้งแห้งระบาดในพริก
โรคกิ่งแห้งทุเรียน จากเชื้อฟิวซาเรียม
โรคราสีชมพูในทุเรียน
หนอนหน้าแมวศัตรูต้วร้ายปาล์มน้ำมัน
โรคเน่าคอดินในผักกินใบ
แมลงศัตรูพืชที่ระบาดในหน้าหนาว
โรคพืชที่ต้องระวังในฤดูหนาว
3 ตัวห้ำ แมลงดีในแปลงเกษตร
ธาตุรอง และ จุลธาตุ ธาตุอาหารสำคัญที่พืชขาดไม่ได้
แมลงศัตรูพืชที่สำคัญในทุเรียน
โรคพืชในทุเรียน
ปลูกมังคุดต้องระวัง (โรคและแมลง) อะไรบ้าง
การใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ
8 เทคนิคการจัดการปุ๋ย
มาทำความรู้จัก ปุ๋ยไนโตรเจนกันเถอะ
โรคและแมลงศัตรูพืชยอดฮิตในพริก
วิธีการดูทุเรียนสุก
โรคและแมลงศัตรูพืชที่พบบ่อยในผักตระกูลกะหล่ำ
การขาดธาตุแมงกานีสในทุเรียน
แมลงและโรคพืชที่ต้องระวังในส้ม
6 เรื่อง...ที่ต้องรู้ก่อนซื้อสารกำจัดศัตรูพืช
อาการ...ขาดธาตุโบรอน ในปาล์มน้ำมัน
อาการขาดธาตุสังกะสี
อาการขาดธาตุแมกนีเซียมในปาล์มน้ำมัน
โรคใบติดทุเรียน ภัยร้าย ทำลายพืช !!
วิธีการฟื้นฟู และดูแลต้นไม้หลังน้ำลด
สีของดินบอกอะไรบ้าง?
4 หลักการใส่ปุ๋ยเคมีให้คุ้มค่า
มารู้จัก แมลงศัตรูพืช กันเถอะ
ประโยชน์ของธาตุแคลเซียมที่มีต่อพืช
การดูแล "ผักสลัด" ในหน้าร้อน ทั้งในและนอกโรงเรือน
5 แมลงศัตรูพืชที่สำคัญในส้ม
บำรุงดินด้วยวิธีธรรมชาติ เคล็ดดลับดูแลต้นไม้แบบประหยัด
ปัญหาพืชหน้าฝน โรครากเน่า โคนเน่า
โรคร้ายทำลายข้าว
อาหารทางใบฉีดพ่นยังไงให้ได้ผล
สารกำจัดศัตรูพืช ยาร้อน ยาเย็น ดูอย่างไร?
โรคพืชที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
โรคพืชในส้มที่ควรระวัง