เมื่อเริ่มเข้าสู่หน้าหนาว สภาพอากาศเย็นในตอนกลางคืนและมีหมอกในช่วงเช้ามืด จะเป็นสภาพอากาศที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อราสาเหตุโรคพืชหลายชนิด และโรคที่สำคัญที่มักจะเกิดในต้นกล้าของผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด เช่น คะน้า กวางตุ้ง ผักกาดเขียวปลี ผักกาดขาวปลี กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี ผักฮ่องเต้ ผักกาดหางหงษ์ และผักกาดหัว ฯลฯ คือ "โรคเน่าคอดิน" จะเกิดรุนแรงเมื่อความชื้นสูง ดินมีการระบายน้ำไม่ดี
โรคเน่าคอดิน (damping-off)
เชื้อราสาเหตุ : Pythium spp.
ลักษณะอาการ
เชื้อราจะเข้าทำลายพืชในระยะต้นกล้า ทำให้ลำต้นเน่าและตายลงอย่างรวดเร็ว เส้นใยของราที่เป็นสาเหตุจะแพร่กระจายอยู่ในดิน และเข้าสู่ต้นกล้าโดยแทงเข้าไปในเซลล์ผิว บริเวณโคนต้นที่ติดกับผิวดินมีลักษณะฉ่ำน้ำสีน้ำตาลเข้ม เมื่ออาการรุนแรงเนื้อเยื่อจะเกิดเป็นแผลเน่าลาม ทําให้ต้นกล้าเหี่ยวทั้งต้น หักล้มและตายก่อนจะแตกใบจริง บางครั้งเชื้อราอาจเข้าทําลายเมล็ดก่อนงอกพ้นดิน ทําให้เมล็ดไม่งอกหรืองอกออกมาแต่ไม่มีใบเลี้ยง
แนวทางการป้องกัน
การเพาะกล้าในกระบะเพาะกล้า ควรใช้วัสดุปลูกที่สะอาดจากแหล่งที่ไม่มีการระบาดของโรค
แปลงปลูกควรไถพลิกกลับหน้าดินตากแดดเพื่อลดปริมาณเชื้อราสาเหตุโรคในดินก่อนปลูก
ใช้ชีววิธี โดยใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ซึ่งเป็นศัตรูของราที่ทำให้เกิดโรคเน่าคอดิน โดยทำการคลุกกับเมล็ด หรือคลุกในดิน หรือแช่เมล็ดและกิ่งพันธุ์ในอัตรา 200ซีซี/น้ำ20ลิตรเป็นเวลา 2-10ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับความหนา บางของเยื่อพืชแต่ล่ะชนิด จะป้องกันการเกิดโรคได้ผลดี หลังเพาะชำ พ่นในอัตรา 100ซีซี/น้ำ20ลิตร และฉีดพ่นหลังปลูกให้ทั่ว ใบ กิ่งก้าน และโคน ฉีดพ่นทุก 10 วัน เพื่อป้องกันและกำจัดโรคพืช
หรือคลุกเมล็ดด้วยสารเคมีที่ฆ่าเชื้อรา (fungicide) ช่วยป้องกัน hypocotyls และradicle ที่งอกมาให้มีความต้านทานต่อเชื้อรา ที่นิยมใช้คือ captan , dichlone และ thiram ก่อนเพาะกล้า
ไม่ควรให้น้ำในแปลงเพาะกล้า จนชื้นแฉะเกินไป
หากเริ่มพบการระบาดของโรคในแปลงปลูก ให้ฉีดพ่นด้วย "คิวโตฟอส" อัตรา 30 ซีซี ผสมร่วมกับ "เวโล" อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่ว ใบ กิ่งก้าน และโคนทุกๆ 5-7 วัน เพื่อหยุดการระบาดของเชื้อราสาเหตุโรคพืช