Top
แนวทางการทำเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง
“เศรษฐกิจพอเพียง” หนึ่งในพระราชดำรัสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงมีพระประสงค์ให้ชาวไทยนำไปปรับใช้ในชีวิต เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
 
โดยเศรษฐกิจพอเพียง คือ ปรัชญาที่แนะนำเกี่ยวกับเรื่องการใช้ชีวิต ความเป็นอยู่ของคนในสังคมทุกระดับชั้น ไม่ว่าจะเป็นระดับครอบครัว ชุมชน รวมไปถึงระดับรัฐบาลที่ดูแล พัฒนาบริหารประเทศ โดยปรัชญาของในหลวง ร.9 มีความหมายว่า การดำเนินชีวิตบนทางสายกลาง นั่นคือ มีความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล และการมีภูมิคุ้มกันในตัวเองที่ดีซึ่งถือเป็นความจำเป็นอย่างมาก
 
ซึ่งในการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการทำการเกษตรนั้นไม่ใช้เรื่องยาก แต่ต้องลงมือทำด้วยการทำสวนแบบพอเพียงที่ประยุกต์มาจาก "เกษตรทฤษฎีใหม่" ซึ่งในหลวง รัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานพระราชดำรัสไว้เพื่อให้เกษตรกรอยู่แบบพึ่งพาตนเองได้ในทุกสถานการณ์ ด้วยวิธีการจัดการทรัพยากรให้คุ้มค่าอย่างยั่งยืน
 
 
การแบ่งพื้นที่ในสวนให้เหมาะสมและคุ้มค่า
 
เกษตรกรต้องสำรวจพื้นที่ในสวนด้วยการตรวจสภาพดิน ทิศทางแสงแดด และลม จากนั้นก็เริ่มแบ่งพื้นที่ในสวนตามเกษตรทฤษฎีใหม่จากสูตร 30:30:30:10 ซึ่งใช้หลักแนวทางการทำการเกษตรผสมผสาน ให้ง่ายและเหมาะสมกับพื้นที่ของเราเอง โดยปรับเป็นโซนแปลงผักสวนครัว โซนสมุนไพร โรงเรือนเห็ด ฟาร์มสัตว์เล็ก ๆ (เล้าไก่หรือฟาร์มไส้เดือนไซส์มินิ) และบ่อน้ำหลัก แต่ถ้าหากพื้นที่คับแคบเกินไปก็ไม่จำเป็นจะต้องแบ่งตามนี้ทุกประการ เลือกเฉพาะโซนที่เหมาะสมกับบ้านเราเท่านั้นก็ได้
 
ข้อดีของการทำการเกษตรผสมผสาน
ช่วยให้เกิดความมั่นคงด้านรายได้ต่อเกษตรกรและครอบครัว
ช่วยลดการพึ่งพาด้านเงินทุน ปัจจัยการผลิต และอาหารจากภายนอก
ช่วยให้เกิดการประหยัด ค่าใช้จ่ายในไร่นาลดลง มีรายได้สุทธิเพิ่มมากขึ้น
ช่วยเพิ่มรายได้จากพื้นที่เกษตรขนาดย่อยที่จำกัด
✅ ช่วยเพิ่มพูนความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ลดการทำลายสิ่งแวดล้อม

สิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตัวเองได้มากขึ้น

 วิธีการแบ่งสัดส่วนกิจกรรมเกษตรระบบผสมผสาน
เกษตรผสมผสานเป็นแนวทางหรือหลักในการบริหารจัดการที่ดินและน้ำเพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำรินี้เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกร การจัดการพื้นที่แบ่งได้เป็น 4 ส่วน คือ 30:30:30:10    ดังนี้  
                            
♥♥ ขุดสระเก็บกักน้ำ 
     พื้นที่ประมาณ 30% ให้ขุดสระเก็บกักน้ำ เพื่อให้มีน้ำใช้ สม่ำเสมอตลอดปี โดยเก็บกักน้ำฝนในฤดูฝน และใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง หรือระยะฝนทิ้งช่วง ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์ และพืชน้ำต่างๆ เช่น ผักบุ้ง ผักกระเฉด โสน ฯลฯ

♥♥ ปลูกข้าว 
     พื้นที่ประมาณ 30 % ให้ปลูกข้าวในฤดูฝน เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันสำหรับครัวเรือนให้เพียงพอตลอดปี โดยไม่ต้องซื้อหาในราคาแพง เป็นการลดค่าใช้จ่าย และสามารพึ่งตนเองได้
        
♥♥ ปลูกผลไม้ ไม้ยืนต้น พืชไร่ พืชผัก 
     พื้นที่ประมาณ 30 % ให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชไร่ พืชผัก พืชสมุนไพร ฯลฯ อย่างผสมผสานกัน และหลากหลายในพื้นที่เดียวกัน เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน หากเหลือจากการบริโภคก็นำไปขายได้
       
♥♥ เป็นที่อยู่อาศัย และอื่นๆ
     พื้นที่ประมาณ 10 % ใช้เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ ถนนหนทาง คันดิน โรงเรือนและสิ่งก่อสร้างอื่นๆ รวมทั้งคอกเลี้ยงสัตว์ เรือนเพาะชำ ฉางเก็บผลิตผลการเกษตร ฯลฯ นี่เป็นทฤษฎีปฏิบัติจริง พื้นที่เป็นนาทั้งหมดหรือไร่สวนด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก 
เว็ปไซต์ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
บทความที่เกี่ยวข้อง
การใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและปลอดภัย
อาการขาดธาตุอาหารของพืช
ข้อมูลแถบสีบนฉลากสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช
ข้อแตกต่างระหว่างหนอนผีเสื้อ VS หนอนแมลงวัน ชอนใบในมะเขือเทศ
โรคใบด่างจุดวงแหวนในมะละกอ
ผังแสดงตารางการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชบางชนิด
การระบาดของศัตรูพืชช่วงหน้าร้อน
น้ำตาลทางด่วน VS กรดอะมิโน
การปลูกพืชใช้ดินอะไรดี
โรคยอดฮิตในมะละกอ
เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน
เพลี้ยไก่แจ้ส้ม และการป้องกัน
7 วิธีดูแลรักษาไม้ผลในช่วงแล้ง
โรคพืชที่มีสาเหตุมาจากไวรัสในพริก
การตรวจวิเคราะห์ดิน
มารู้จักกับหนอนชอนใบผีเสื้อมะเขือเทศ
โรคราแป้งในเงาะ
รู้ไหมว่าเชื้อ "บีที" คืออะไร
น้ำฝนต่อการเจริญเติบโตของพืช
การดูแลผักในฤดูฝน
ทุเรียนเต่าเผา ทุเรียนไส้ซึม
แต่ละภาค...ปลูกอะไรดี?
โรคเมลาโนสในส้ม
การฉีดพ่นสารทางใบให้ถูกวิธี
การฝังเข็มรักษาโรครากเน่าโคนเน่าอย่างไรให้ได้ผล
เพลี้ยหอยในส้ม
เพลี้ยจักจั่นฝอยทุเรียน
โรคใบจุดสาหร่ายในทุเรียน
โรคใบจุดตากบในพริก
โครงการแก้มลิง
7 วิธีกำจัดหอยทากอย่างปลอดภัย
หนอนม้วนใบส้ม (Citrus leaf-roller)
5 เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับกระท่อม
การดูแลต้นไม้หลังน้ำลด
ระวัง ไรขาวและโรคกุ้งแห้งระบาดในพริก
โรคกิ่งแห้งทุเรียน จากเชื้อฟิวซาเรียม
โรคราสีชมพูในทุเรียน
หนอนหน้าแมวศัตรูต้วร้ายปาล์มน้ำมัน
โรคเน่าคอดินในผักกินใบ
แมลงศัตรูพืชที่ระบาดในหน้าหนาว
โรคพืชที่ต้องระวังในฤดูหนาว
3 ตัวห้ำ แมลงดีในแปลงเกษตร
ธาตุรอง และ จุลธาตุ ธาตุอาหารสำคัญที่พืชขาดไม่ได้
แมลงศัตรูพืชที่สำคัญในทุเรียน
โรคพืชในทุเรียน
ปลูกมังคุดต้องระวัง (โรคและแมลง) อะไรบ้าง
การใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ
8 เทคนิคการจัดการปุ๋ย
มาทำความรู้จัก ปุ๋ยไนโตรเจนกันเถอะ
โรคและแมลงศัตรูพืชยอดฮิตในพริก
วิธีการดูทุเรียนสุก
โรคและแมลงศัตรูพืชที่พบบ่อยในผักตระกูลกะหล่ำ
การขาดธาตุแมงกานีสในทุเรียน
แมลงและโรคพืชที่ต้องระวังในส้ม
6 เรื่อง...ที่ต้องรู้ก่อนซื้อสารกำจัดศัตรูพืช
อาการ...ขาดธาตุโบรอน ในปาล์มน้ำมัน
อาการขาดธาตุสังกะสี
อาการขาดธาตุแมกนีเซียมในปาล์มน้ำมัน
โรคใบติดทุเรียน ภัยร้าย ทำลายพืช !!
วิธีการฟื้นฟู และดูแลต้นไม้หลังน้ำลด
สีของดินบอกอะไรบ้าง?
4 หลักการใส่ปุ๋ยเคมีให้คุ้มค่า
มารู้จัก แมลงศัตรูพืช กันเถอะ
ประโยชน์ของธาตุแคลเซียมที่มีต่อพืช
การดูแล "ผักสลัด" ในหน้าร้อน ทั้งในและนอกโรงเรือน
5 แมลงศัตรูพืชที่สำคัญในส้ม
บำรุงดินด้วยวิธีธรรมชาติ เคล็ดดลับดูแลต้นไม้แบบประหยัด
ปัญหาพืชหน้าฝน โรครากเน่า โคนเน่า
โรคร้ายทำลายข้าว
อาหารทางใบฉีดพ่นยังไงให้ได้ผล