ในช่วงนี้ เกษตรกรได้มีการเก็บเกี่ยวผลผลิตทุเรียนและต้นทุเรียนเริ่มแตกใบอ่อนซึ่งเป็นระยะที่เหมาะต่อการระบาดของเพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน จึงขอให้เกษตรกรหมั่นสํารวจแปลงไม้ผลและเฝ้าระวังการระบาดของ เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน
เพลี้ยไก่แจ้ (Durian psyllid)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Allocaridara malayensis Crawford
ลักษณะทั่วไป
ตัวเต็มวัยของ แมลงชนิดนี้วางไข่เข้าไปในเนื้อเยื่อพืช ทําให้เห็นเป็นวงสีเหลืองหรือน้ําตาลตามใบเป็นกลุ่มๆ กลุ่มหนึ่งมีประมาณ 8-14 ฟอง หลังจากนั้นไข่จะฟักออกเป็นตัวอ่อนขนาดยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร และมีปุยสีขาวติดอยู่ตามลําตัว โดยเฉพาะด้านท้ายของลําตัวมีปุยสีขาวคล้ายๆ กับหางไก่ แมลงชนิดนี้จึงได้ชื่อว่า "เพลี้ยไก่แจ้" หรือ "เพลี้ยไก่ฟ้า" เมื่อ แมลงนี้ลอกคราบเป็นตัวเต็มวัยมีสีน้ําตาลปนเขียว ขนาดยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร มีอายุได้นานถึง 6 เดือน มักไม่ ค่อยบินนอกจากได้รับความกระทบกระเทือน ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะอาศัยอยู่ด้านหลังใบตลอดเวลา
การเข้าทำลายพืช
เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียนสามารถทําลายทุเรียนได้ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย โดยจะดูดกินน้ําเลี้ยงจากใบอ่อนของทุเรียนที่ยังไม่ โตเต็มที่ ทําให้ใบอ่อนเป็นจุดสีเหลือง ไม่เจริญเติบโตและเล็กผิดปกติ เมื่อระบาดมากๆ ใบจะหงิกงอ แห้งและหลุดร่วง หมด นอกจากนั้นยังทําให้ยอดอ่อนแห้งและตายได้ ตัวอ่อนของเพลี้ยไก่แจ้จะขับสารสีขาวออกมาเป็นสาเหตุทําให้เกิด เชื้อราตามบริเวณที่สารสีขาวขับออกมา ระยะของวัยเพลี้ยไก่แจ้ที่ทําลายทุเรียนมากที่สุด คือ ในระยะตัวอ่อน และ แมลงชนิดนี้ทําความเสียหายให้กับทุเรียนพันธุ์ชะนีมากที่สุด ต้นทุเรียนจะเกิดความเสียหายเมื่อมีเพลี้ยไก่แจ้มากกว่า 5 ตัวต่อใบ
การแพร่กระจายและฤดูการระบาด
ระยะที่พบ ระหว่างเดือนมิถุนายน-พฤศจิกายน
ระยะที่ควรระวัง กลางเดือนมิถุนายน - กลางเดือนกรกฎาคม และกลางเดือนสิงหาคม - กลางเดือนกันยายน
การป้องกันและกําจัด
1. ติดตามสถานการณ์เพลี้ยไก่แจ้และศัตรูธรรมชาติ สํารวจร้อยละ 10 ของต้นทั้งหมด 7 วัน/ครั้ง ในช่วง มิถุนายน - พฤศจิกายน ตรวจนับ 5 ยอด/ต้น พบเพลี้ยไก่แจ้ที่ยังมีชีวิตมากกว่า 5 ตัว/ยอด ถือว่ายอดถูกทําลาย
2. อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติไว้ควบคุมเพลี้ยไก่แจ้ตามธรรมชาติ เช่น แตนเบียนเอนเซอร์ติด Encyrtidae แมลงช้างปีกใส Chrysopa sp. แมลงช้างปีกใสแปดจุด Ankylopteryx octopunctata แมลงช้างปีกสีน้ําตาล Hemerobiussp. ด้วงเต่า Menochilus sexmaculatus ด้วงเต่าสีส้ม Micraspis discolor ด้วงเต่าโรโดเลีย Rodolia sp. ด้วงเต่า Scymnus sp. ด้วงเต่าปีกลายหยัก Menochilus ต่อหลวง ต่อรัง แมงมุม
3. กระตุ้นการแตกใบอ่อนให้พร้อมกันทุกต้นเพื่อลดช่วงเวลาการเข้าทําลายของเพลี้ยไก่แจ้ให้สั้นลง โดยใช้ฟลอริเจน (สาหร่ายทะเลสกัดเข้มข้น) ในอัตรา 30 ซีซี ร่วมกับ คิว-เฟอร์ท 15-0-0+26CaO (แคลเซียมไนเตรท) อัตรา 50 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร ซึ่งจะช่วยให้ต้นพืชแตกใบอ่อนได้ดี ใบใหญ่ จํานวน 2 ครั้ง คือ ระยะแตกใบอ่อน ครั้งที่ 1 ระหว่างเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม และระยะแตกใบอ่อน ครั้งที่ 2 ระหว่างเดือนสิงหาคม - กันยายน
4. ใช้น้ำฉีดพ่นใบอ่อนที่คลี่แล้วเพื่อลดปริมาณเพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน
5. ใช้กับดักกาวเหนียวสีเหลืองล่อตัวเต็มวัยมาทําลาย
6. ใช้เชื้อราบาซิลลัส ทูริงเจนซีส ฉีดพ่น
7. หากมีการระบาดรุนแรงแนะนําให้ใช้สารเคมีแลมบ์ดา ไซฮาโลทริน 2.5% EC อัตรา 10 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร
ควรใช้เมื่อสํารวจพบ เพลี้ยไก่แจ้ในช่วงแตกยอดอ่อนมากกว่า 5 ตัว/ยอด การฉีดพ่นสารเคมีควรเน้นพ่นให้เปียกด้านหลังใบโดยพ่นจํานวน 2 ครั้ง ห่างกัน 14 วัน