โรคพืชที่สำคัญในทุเรียน ที่เกษตรกรทุกคนต้องรู้ และต้องระวังไม่ให้เกิดการระบาดในสวนทุเรียน มีดังนี้
1. โรครากเน่าโคนเน่า (Root and Foot Rot)
สาเหตุ : เชื้อราไฟทอฟธอร่า (Phytophthora palmovora (Butler) Butler)
ลักษณะอาการ
เกิดอาการเน่าที่โคนต้นหรือกิ่ง จะสังเกตเห็นผิวเปลือกของลำต้นหรือกิ่งคล้ายมีคราบน้ำเกาะติด เห็นได้ชัดในสภาพที่ต้นทุเรียนแห้ง ในช่วงเช้าที่มีอากาศชุ่มชื้นจะมองเห็นหยดน้ำยางสีน้ำตาลแดงไหล ออกมาจากรอยแผลแตกของลำต้นหรือกิ่ง และน้ำยางนี้จะค่อยๆ แห้งไปในช่วงกลางวันที่มีแดดจัด ทำให้เห็นเป็นคราบน้ำจับบนเปลือกของลำต้น เมื่อถากเปลือกของลำต้นบริเวณที่มีคราบน้ำยาง จะเห็นเนื้อเยื่อ เปลือกถูกทำลายมีสีน้ำตาลแดง หรือน้ำตาลเข้ม ส่วนอาการเน่าที่เกิดกับรากเล็กหรือรากฝอยนั้น เนื้อเยื่อ รากจะเปื่อยยุ่ย เมื่อดึงเบาๆ จะขาดออกจากกันได้ง่าย
ส่วนอาการที่ใบ ใบจะไม่เป็นมันสดใสเหมือนใบทุเรียนปกติ ต่อมาใบล่างๆ จะเริ่มเป็นจุดประเหลืองแล้วค่อยๆ หลุด ร่วงไป ต้นทรุดโทรมและตาย
การแพร่ระบาด
เชื้อราไฟทอปธอร่าจะพักตัวในดิน เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม คือ น้ำและความชื้นเพียงพอก็สามารถงอกเป็นเส้นใยสร้างอวัยวะขยายพันธุ์ ซึ่งจะเคลื่อนที่ไปตามน้ำเข้าทำลายรากพืช นอกจากนี้เชื้อรายังแพร่ระบาดได้โดยลม และน้ำท่วมหรือติดไปกับดินปลูก กิ่งพันธุ์ได้
การป้องกันกำจัด
เก็บชิ้นส่วนของเปลือกหรือผลที่เน่าร่วงหล่นออกนอกแปลง แล้วทำการเผาทำลายถากส่วนที่เป็น โรคออกให้หมดจนถึงเนื้อไม้แล้วทารอยแผลด้วยปูนแดง หรือสารป้องกันกำจัดโรคพืชประเภทสารประกอบ ทองแดง เช่น คอปเปอร์ออกซี่คลอไรด์
ถากเนื้อเยื่อบริเวณที่เป็นโรคออกบาง ๆ แล้วทาด้วยสารเคมีประเภทดูดซึม เช่น เมตาแลกซิล ฟอสเอสเอทธิล อลูมินั่ม เป็นต้น
ฉีดพ่นด้วย "คิวโตฟอส" ซึ่งเป็นสารฟอสฟอรัสแอซิด (phosphorous acid) โดยผสมกับน้ำสะอาดในอัตรา 1: 1 เช่น คิวโตฟอส 20 ลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร
ลดปริมาณเชื้อราในดินโดยการใส่จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ใส่ในดิน เช่น เชื้อราไตรโคเดอมา (Trichoderma sp.)
-----------------------------
2. โรคใบติด หรือใบไหม้
สาเหตุ : เชื้อราไรซอกโทเนีย (Rhizoctonia sp.)
ลักษณะอาการ
พบแผลคล้ายน้ำร้อนลวกบนใบ บริเวณกลางใบหรือขอบใบ ต่อมาแผลขยายตัวลุกลามและ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ขนาดและรูปร่างแผลไม่แน่นอนเชื้อราจะแพร่ไปยังใบอื่นที่ติดกันโดยการสร้างเส้นใย ของเชื้อรายึดใบให้ติดกัน ทำให้เกิดอาการใบแห้งเป็นหย่อม ๆ และใบจะค่อย ๆ ร่วงหล่นลงยังโคนต้นเหลือ แต่กิ่ง ซึ่งต่อมาจะค่อย ๆ แห้ง ทำให้ต้นทุเรียนเสียรูปทรง และมีการเจริญเติบโตที่ไม่สมบูรณ์
การแพร่ระบาด
เชื้อราสามารถพักตัวอยู่ในดินได้เป็นเวลานาน โดยอาศัยเศษซากพืช และแพร่ระบาดเข้าทำลายพืช ระยะใบอ่อน โดยเฉพาะในช่วงในตกชุก
การป้องกันกำจัด
ตัดแต่งกิ่งทุเรียนให้เหมาะสม โดยให้มีความชื้นในทรงพุ่มไม่เหมาะต่อการเข้าทำลายของเชื้อโรค
ในช่วงทุเรียนแตกใบอ่อนควรหมั่นสำรวจอาการของโรค หากพบโรคควรตัดกิ่งที่เป็นโรคออก และรวบรวมเศษใบเป็นโรคที่ร่วงหล่นอยู่บริเวณโคนต้น แล้วนำไปเผาทำลายเพื่อลดปริมาณเชื้อโรคในแปลงปลูกให้น้อยลง
ฉีดพ่นด้วยสารกำจัดโรคพืช เช่น "ซอร์บา" สารอะซอกซีสโตรบิน (Azoxystrobin 25% W/V SC) อัตรา 5-10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร สลับใช้กับ คาร์เบนดาซิม คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ หรือ แมนโคแซบ เพื่อป้องกันเชื้อโรคดื้อยา
ในแปลงปลูกที่ความชื้นสูง และมีการระบาดของโรคเป็นประจำ ควรใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนต่ำ เพื่อ ลดความอุดมสมบูรณ์ของการแตกใบ
-----------------------------
3. โรคแอนแทรคโนส
สาเหตุ : เชื้อราคอลเลโตตริคัม (Colletotrichum gloeosporiodes)
ลักษณะอาการ
ลักษณะอาการคล้ายโรคใบติด โดยใบจะไหม้เป็นสีน้ำตาล มักเกิดตามบริเวณขอบใบหรือกลางใบ บริเวณเนื้อใบที่ไหม้จะเป็นสีน้ำตาลอ่อน ขอบของแผลจะเป็นสีน้ำตาลเข้มล้อมรอบแผล เนื้อใบที่ถูกทำลาย จะมองดูโปร่งใส การเกิดโรคมักจะกระจายไปทั่วทั้งต้น ไม่เหมือนโรคใบติดที่มักพบกระจายเป็นหย่อมๆ โรคนี้พบได้ทั้งในช่วงฤดูฝนและฤดูแล้ง แต่มองเห็นอาการได้ชัดเจนในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งเป็นระยะที่ทุเรียนกำลัง ออกดอกติดผล
การแพร่ระบาด
มักพบในทุเรียนพันธุ์ชะนี ในพันธุ์หมอนทองพบอาการระบาดบ้างแต่ไม่รุนแรง โดยเชื้อจะแพร่ ระบาดไปตามลมเข้าทำลายพืชเมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม
การป้องกันกำจัด
ดูแลต้นทุเรียนให้มีความแข็งแรงโดยการให้น้ำ และธาตุอาหารที่เหมาะสมและเพียงพอ โดยเฉพาะในช่วงติดผลของทุเรียน
ฉีดพ่นด้วยสารกำจัดโรคพืช เช่น "ซอร์บา" สารอะซอกซีสโตรบิน (Azoxystrobin 25% W/V SC) อัตรา 5-10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร สลับใช้กับ "โกลด์ทิป 76" สารซีแรม (Ziram 76% WG) อัตรา 20-40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คาร์เบนดาซิม คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ หรือ สารเบนโนมิล เพื่อป้องกันเชื้อโรคดื้อยา
-----------------------------
4. ราสีชมพู (Pink Disease)
สาเหตุ : เชื้อราคอร์ทีเซียม (Corticium salmonicolor)
ลักษณะอาการ
จะเห็นอาการใบเหลืองร่วงเป็นหย่อมๆ คล้ายอาการกิ่งแห้ง หรือโคนเน่า ที่เกิดจากเชื้อราไฟทอฟธอรา แต่หากสังเกตตามกิ่งด้านในของทรงพุ่มจะเห็นเส้นใยของเชื้อราสีขาวปกคลุม โคนกิ่งที่แสดงอาการ เมื่อเชื้อเจริญลุกลามและมีอายุมากขึ้น เส้นใยขาวจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีชมพู ซึ่งเป็น ช่วงเวลาที่เชื้อราสร้างส่วนขยายพันธุ์เพื่อการระบาดไปยังต้นอื่น ๆ ต่อไป เมื่อถากส่วนของกิ่งที่มีเชื้อรา ปกคลุมอยู่จะเห็นเนื้อเปลือกแห้งเป็นสีน้ำตาล
การแพร่ระบาด แพร่ระบาดมากในสภาพความชื้นสูง
การป้องกันกำจัด
ควรทำการตัดแต่งกิ่งต้นทุเรียนให้มีทรงพุ่มโปร่งพอสมควร เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้
ตัดกิ่งส่วนที่เป็นโรคออก แล้วนำไปเผาทำลาย แล้วทาด้วยสารเคมี เช่น คอปเปอร์ออกซี่คลอไรด์ รอบ ๆ บริเวณรอยตัดของกิ่ง
เมื่อพบเชื้อราเริ่มเข้าทำลายตามกิ่งที่มีขนาดใหญ่ ควรใช้มีดขูดเปลือกกิ่งออกบาง ๆ แล้วทาด้วย "คิวโตฟอส" อัตรา 30 ซีซี ผสมกับ "เวโล" อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ทารอบๆ กิ่ง
-----------------------------
5. โรคราแป้ง (Powdery Mildew)
สาเหตุ : เชื้อราออยเดียม (Oidium sp.)
ลักษณะอาการ
งเชื้อราสีขาวมีลักษณะคล้ายฝุ่นแป้งปกคลุมผิวเปลือกทุเรียน เชื้อสามารถเข้าทำลายผล ทุเรียนได้ตั้งแต่เริ่มติดผลอ่อนจนกระทั่งผลแก่จำหน่ายได้ ซึ่งการเข้าทำลายของเชื้อในระยะติดผลใหม่ๆ ก็อาจจะทำให้ผลอ่อนนั้นร่วงหล่นได้ หรือถ้าเป็นกับผลที่กำลังเจริญเติบโตก็จะทำให้สีผิวของทุเรียนผิดปกติ ไม่เป็นที่ต้องการของตลาดและผู้บริโภค นอกจากนี้ยังทำให้ราคาผลผลิตตกต่ำลง
การแพร่ระบาด เชื้อราแพร่ระบาดทางลมในระยะที่อากาศเย็นและแห้งแล้ง
การป้องกันกำจัด
ในแหล่งปลูกที่สภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการระบาดของโรค เกษตรกรควรตรวจตราผล ทุเรียนในแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ
ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรค "เทอเรโน" ซัลเฟอร์ กำมะถันผงชนิดละลายน้ำ (Sulfur 80% WG) อัตรา 30-40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
-----------------------------
6. โรคราดำ (Sooty Mold)
ลักษณะอาการ
ผลทุเรียนมีราสีดำเจริญเป็นจุด ๆ หรือปกคลุมกระจายทั่วผล จุดมักรวมตัวกันทำให้เห็นเป็นปื้นดำ ทำให้ผิวผลทุเรียนไม่สะอาด และมีราคาตกต่ำลง
การแพร่ระบาด
มักพบแมลงจำพวกเพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง มีการขับถ่ายสารเหนียวๆ ลงบนผล ซึ่งเป็นอาหารของราดำ และมักพบราดำในสภาพความชื้นสูง โดยพบกับต้นทุเรียนที่มีพุ่มแน่นทึบ
การป้องกันกำจัด
ควบคุมการแพร่ระบาดของเพลี้ยด้วยสารสกัดสมุนไพรหรือสารกำจัดแมลง "โปรโตคอพ" ไทอะมีทอกแซม(thiamethoxam 25% WG) อัตรา 5-10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
พ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อรา "อะตาร์เอฟ" คลอโรทาโลนิล(clorothalonil 50% W/V SC) + อะซอกซีสโตรบิน (azoxystrobin 6% W/V) อัตรา 10-20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์
-----------------------------
7. โรคผลเน่า (Fruit Rot)
สาเหตุ : เชื้อราไฟทอฟธอร่า (Phytophthora palmovora (Butler) Butler)
ลักษณะอาการ
บริเวณปลายผล หรือก้นผลมักพบจุดช้ำสีน้ำตาลปนเทา ต่อมาขยายเป็นวงกลมหรือค่อนข้างรี ไปตามรูปร่างผล แผลดังกล่าวอาจพบได้ตั้งแต่ผลยังคงอยู่บนต้น แต่ส่วนใหญ่มักพบเกิดกับผลในช่วง ประมาณ 1 เดือน ก่อนเก็บเกี่ยวจนกระทั่งเก็บเกี่ยว และในระหว่างบ่มผลให้สุก
การแพร่ระบาด
เชื้อราสามารถเข้าทำลายผลทุเรียนได้ตั้งแต่ระยะผลอ่อนจนกระทั่งแก่ โดยเฉพาะเมื่อผลใกล้แก่ จะเป็นช่วงต้นฤดูฝนซึ่งมักจะเกิดลมพายุฝนพัดพาเอาเชื้อที่ติดอยู่กับดินขึ้นไปเกาะติดบนผลทุเรียนที่ติดอยู่ บนต้น และเข้าทำลายทำให้เกิดแผลเน่าได
การป้องกันกำจัด
ทำการป้องกันกำจัดโรครากเน่าโคนเน่าที่เกิดกับต้นทุเรียนในแปลงปลูกเสียตั้งแต่ในช่วงฤดูฝน เศษชิ้นส่วนพืชที่เป็นโรคจะต้องเก็บออกนอกแปลงแล้วนำไปเผาทำลายเพื่อลดปริมาณเชื้อโรคในแปลงปลูก
หมั่นตรวจตราผลทุเรียนในแปลงอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในช่วงผลใกล้แก่ หากพบอาการผล เป็นจุดเน่า ควรทำการฉีดพ่นสารเคมี เช่น เมตาแลกซิล 25 %WP หรือ เมตาแลกซิลผสมแมนโคแซป หรือ ฟอสเอทธิล อะลูมินั่ม 80%WP ให้ทั่วทั้งต้นประมาณ 1-2 ครั้ง
ในแปลงปลูกที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคผลเน่าสูง อันเนื่องมาจากมีต้นที่เป็นโรครากเน่าโคนเน่า ในแปลงมาก และมีฝนตกชุกในช่วงใกล้เก็บเกี่ยวผล เชื้อโรคอาจจะติดมากับผลได้โดยยังไม่แสดงอาการ จำเป็นต้องจุ่มสารเคมี เช่น ฟอสเอทธิล อะลูมินั่ม ก่อนผึ่งให้แห้งแล้วดำเนินการบรรจุหีบห่อหรือส่งไปยัง จุดหมายปลายทาง
การเก็บเกี่ยวทุเรียนต้องระมัดระวังไม่ให้ผลทุเรียนสัมผัสกับดิน โดยใช้ตะกร้าพลาสติก หรือเข่ง หรือปูพื้นดินที่จะวางผลทุเรียนด้วยกระสอบที่สะอาด เพื่อลดโอกาสที่ผลจะสัมผัสกับดิน และการขนย้ายจะต้องระมัดระวังบาดแผลบนผลที่อาจเกิดจากหนามทิ่มแทงกัน
-----------------------------
ข้อมูลอ้างอิง : กรมวิชาการเกษตร
https://www.doa.go.th/share/attachment.php?aid=2976