โรคและแมลงศัตรูพืชที่สำคัญในผักตระกูลกะหล่ำ ที่สำคัญได้แก่
1. โรคขอบใบทอง หรือ โรคเน่าดำ (Black rot)
เชื้อสาเหตุ : แบคทีเรีย Xanthomonas campestris pv. campestris
ลักษณะอาการของโรค
- พบโรคระบาดทั่วไปตามแหล่งที่มีการปลูกพืชผักตระกูลกะหล่ำโดยเฉพาะในฤดูฝนหรือฤดูที่มีความชื้นสูงอาจระบาดรุนแรงทำความเสียหายได้ถึง 50% โดยเชื้อสามารถเข้าทำลายได้ในทุกระยะการเจริญเติบโต
- ในระยะกล้า หรือต้นอ่อนพืชมักจะตายทันทีโดยจะพบว่า ที่ขอบใบหรือใบเลี้ยง มีอาการไหม้แห้ง เส้นใบเน่าเป็นสีดำ ใบที่แสดงอาการจะบางกว่าปกติ ต่อมาจะแห้งเป็น สีน้ำตาลและหลุดออกจากต้น หากไม่ตายในระยะนี้ ก็จะเกิดอาการแกร็นชะงักหรือหยุดการจริญเติบโต ใบทีอยู่ตอนล่างๆ ของต้นจะหลุดร่วงไป ส่วนที่เหลืออยู่จะมีสีเหลืองและเส้นใบมีสีดำ ในต้นที่โตจะพบอาการบนใบแก่ที่อยู่ส่วนล่างของต้น โดยอาการจะเริ่มเหลืองและแห้งตายบริเวณขอบใบขึ้นก่อนแล้วค่อยลามลึกเข้ามาในเนื้อใบตามแนวเส้นใบทีอยู่ระดับเดียวกัน จนจรดแกนกลางของใบ ทำให้เกิดอาการเหลืองหรือแห้งเป็นสีน้ำตาลรูป ตัววี (V-shaped) ขึ้น ซึ่งเป็นลักษณะอาการพิเศษเฉพาะของโรคนี้
การแพร่ระบาด
- เชื้อแบคทีเรียโรคเน่าดำจะติดไปกับเมล็ดพันธุ์และแพร่กระจายในดินที่มีซากพืชที่เป็นโรคได้นานถึง 2 ปี แบคทีเรียแพร่กระจายโดยน้ำไหล พายุฝน ใบที ร่วงปลิวไป อุปกรณ์การเพาะปลูก และเมล็ด ที่ติดเชื้อ
- แมลงที่เป็นพาหะโรค เช่น ตัวอ่อนของหนอนกะหล่ำ การให้น้ำแบบรดบนหัวก็สามารถกระจายแบคทีเรียได้ นอกจากนี้ ยังอาศัยอยู่ข้ามฤดูในวัชพืชตระกูลกะหล่ำจำนวนมาก
การป้องกันกำจัด
เลือกใช้เมล็ดพันธุ์ที่สะอาดปราศจากเชื้อ หากไม่แน่ใจก็ให้ทำความสะอาดเชื้อที่อาจติดมากับเมล็ดเสียก่อน โดยการจุ่มแช่ในสารเคมี agrimycin 1,000 ppm 30 นาที ปล่อยให้แห้งแล้วจึงค่อยนำไปปลูกหรือใช้วิธีจุ่มแช่ในน้ำอุ่น ประมาณ 49–50 องศาเซลเซียส นาน 30 นาทีก็ได้
เก็บทำลายเศษซากพืชที่แสดงอาการของโรคออกจากแปลงให้หมด โดยนำไปฝังดิน หรือเผาไฟ ไม่ปล่อยให้มีวัชพืช หรือพืชอาศัย หลงเหลือ เพื่อไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของเชื้อ
ไม่ควรนำเศษซากพืชที่เป็นโรคไปทำปุ๋ยพืชสด หรือปุ๋ยหมัก เพราะมักมีเชื้อปนอยู่และอาจจะกลับมาระบาดได้อีก
แบคทีเรียสาเหตุโรคเน่าดำ แพร่กระจายได้ดีในสภาพความชื้นสูงและสามารถกระเด็นไปกับละอองน้ำ ดังนั้นจึงไม่ควรให้น้ำแบบรดทางใบ ควรให้น้ำแบบน้ำหยดแทน
การป้องกันการระบาดโดยการใช้สารเคมีที่อยู่ในกลุ่มคอปเปอร์ ฉีดพ่นทุกๆ 5-7 วัน
---------------------------------
2. โรคเน่าเละ (Soft rot)
เชื้อสาเหตุ : Erwinia carotovora subsp. carotovora
ลักษณะอาการของโรค
- โรคนี้พบได้ในทุกระยะการเจริญเติบโตแต่พบมากในระยะที่กะหล่ำปลีห่อหัว โดยในช่วงแรกพบเป็นจุดหรือบริเวณมีลักษณะฉ่ำน้ำคล้ายรอยช้ำ และแผลจะขยายลุกลาม ทำให้เกิดการเน่าเละเป็นเมือกเยิ้มมีกลิ่นเหม็น เมื่ออาการรุนแรงจะทำให้กะหล่ำปลีเน่าเละทั้งหัวและหักพับลง
- อาการของโรคเน่าเละอาจเกิดร่วมกับอาการขาดธาตุได้ การขาดโพแทสเซียมหรือขาดสมดุลระหว่างโพแทสเซียมและสารอาหารที่จำเป็นอื่นๆ อาจทำให้ใบไหม้ และทำให้เชื้อแบคทีเรียเข้าทำลายซ้ำ
- โรคเน่าเละมักเกิดกับแปลงปลูกที่มีการให้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยยูเรียปริมาณมากเกินไป ซึ่งปุ๋ยคอกจะดึงดูดหนอนแมลงวัน และเกิดการแพร่เชื้อโรคเน่าเละเป็นปัญหาช่วงก่อนการเก็บเกี่ยว โดยทั่วไปโรคจะแสดงอาการเป็นหย่อมๆ
การแพร่ระบาด
- แมลงวันบางชนิดเป็นตัวแพร่กระจำยเชื้อแบคทีเรียโรคเน่าเละ แมลงวันจะวางไข่บนกะหล่ำปลีที่เน่าเปื่อย เมื่อไข่ฟักเป็นตัว ตัวอ่อนจะปนเปื้อนด้วยเชื้อแบคทีเรียโรคเน่าเละ ตัวเต็มวัยที่ติดเชื้อจะวำงไข่ที่มีแบคทีเรียโรคเน่ำเละอยู่บนกะหล่ำปลีที่โตเต็มที ตัวอ่อนที่เกิดขึ้นจะเป็นพาหะ โดยกัดกินกะหล่ำท่ำให้เกิดแผลซึ่งจะทำให้แบคทีเรียเข้าสู่พืชและท่ำให้เนื้อเยื่อพืชติดเชื้อ
- โรคเน่าเละแพร่ระบาดรุนแรงในสภาพอากาศร้อนและชื้นหลังฝนตก และจะแสดงอาการเน่าเปื่อยเมื่อกลับเข้าสู่สภาพที่ความชื้นลดลง
การป้องกันกำจัด
โรคเน่าเละเมื่อเกิดแล้วไม่สามารถแก้ไขได้ เชื้อ Erwinia สำเหตุโรคเน่าเละสามารถอาศัยอยู่ในดิน บนและเศษซากพืชหลายปี จึงไม่สามารถปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อลดความรุนแรงของโรคได้
ระมัดระวังอย่าให้เกิดแผลหรือรอยช้ำทั้งขณะเก็บเกี่ยวและขนส่ง
ฉีดพ่นสารกำจัดแมลงปากกัดหรือแมลงวันในแปลงปลูก
กำจัดเศษวัชพืชออกจากแปลง อย่าไถกลบ
ในแปลงปลูกควรมีการระบายน้ำดี
หลังจากเก็บเกี่ยวแล้วให้เก็บผักไว้ในที่อุณหภูมิต่ำประมาณ 10 องศาเซลเซียส
---------------------------------
3. โรคเน่าคอดิน (Damping off)
เชื้อสาเหตุ : รา Pythium aphanidermatum
ลักษณะอาการของโรค
- มักจะเกิดในแปลงกล้า เนื่องมาจากการหว่านกล้าที่แน่นทึบ อับแสงและต้นเบียดกันมากเกินไป โดยทั่วไปมักเกิดโรคเน่าคอดินใน 2 ระยะ คือ
> อาการเน่าก่อนเมล็ดงอกพ้นดิน โดยเชื้อราจะทำลายเนื้อเยื่อภายในทำให้เมล็ดเน่าและนิ่ม ถ้าเป็นต้นอ่อนใต้ดินที่เพิ่งงอกออกมาจากเมล็ด ส่วนรากจะเป็นจุดฉ่ำน้ำสีน้ำตาล และอาจมีเส้นใยสีขาวปกคลุมทำให้ต้นกล้าเน่าตายอย่างรวดเร็ว
> อาการเน่าหลังเมล็ดงอกพ้นดิน โดยอาการจะปรากฎให้เห้นตรงโคนต้นกล้าที่อยู่ระดับดินหรือใต้ดิน ระยะแรกจะเกิดเป็นจุดแผลฉ่ำน้ำ แล้วขยายเป็นรอยช้ำสีน้ำตาล จากนั้นจะยุบตัวลงทำให้ต้นกล้าหักพับในขณะที่ยอดยังเขียวอยู่
การแพร่ระบาด
- เชื้อราสาเหตุโรคจะแพร่กระจายได้โดยติดไปกับดินปลูก ติดไปกับผิวเมล็ด ปลิวไปกับลม หรือไปกับน้ำ และจะสร้างสปอร์ผนังหนาที่ทนต่อสภาพแวดล้อม โดยจะทำให้อยู่ข้ามฤดูในดินได้นานหลายปี
- โรคเน่าคอดินจะพบมากในพื้นที่ที่มีการระบายน้ำไม่ดี หรือพื้นที่ที่เคยมีโรคนี้ระบาดมาก่อน และมักจะเกิดเมื่อมีความชื้นและอุณหภูมิสูง
การป้องกันกำจัด
ใช้เมล็ดพันธุ์และต้นกล้าที่ปราศจากโรค และคลุกเมล็ดด้วยเมธาแลกซิล
กำจัดเศษซากพืชซึ่งอาจมีสปอร์เชื้อราติดอยู่ เอาออกจากแปลง
เตรียมแปลงกล้าให้มีการระบายน้ำให้ดี
ใช้เชื้อไตรโคเดอร์ม่า Trichoderma harzianum ผสมในปุ๋ยหมักสามารถป้องกันการเกิดโรคเน่าคอดินได้
---------------------------------
4. หนอนกระทู้
หนอนกระทู้ที่พบการทำลายพืชตระกูลกะหล่ำ ได้แก่ หนอนกระทู้หอม และหนอนกระทู้ผัก
ลักษณะการทำลาย
- หนอนเมื่อฟักออกจากไข่ จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มกัดกินใบ ก้าน หรือเข้าทำลายในหัวกะหล่ำ หากปริมาณหนอนมากความเสียหายจะรุนแรง ผลผลิตเสียหายมาก
- มักแพร่ระบาดได้รวดเร็วตลอดทั้งผีโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน
การป้องกันกำจัด
การใช้วิธีกล คือ เก็บกลุ่มไข่หนอน และเอาไปทำลายจะช่วยลดการระบาดลงได้
การใช้โรงเรือนตาข่ายไนล่อน หรือการปลูกผักกางมุ้ง สามารถป้องกันแม่ผีเสื้อเข้าไปวางไข่
ใช้เชื้อแบคทีเรีย บาซิลลัส ทูริงเยนซิส (บาเซียโน เอชซี) อัตรา 20-40 กรัม / น้ำ 20 ลิตร
ใช้สารกำจัดแมลง เช่น สารคลอร์ฟีนาเฟอร์ กลุ่ม13 (ครูโด) อัตรา 10-20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อีมาเมกตินเบนโซเอต กลุ่ม6 (อาเตโร) อัตรา 3-5 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
*หมายเหตุ : การฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดแมลง เมื่อฉีดพ่นครบ 3 ครั้ง แล้วยังพบการระบาดให้เปลี่ยนกลุ่มสารกำจัดแมลงเป็นกลุ่มอื่น เพื่อลดการดื้อยาของหนอนและแมลง
---------------------------------
5. หนอนใยผัก (Diamondback moth)
หนอนใยผัก เป็นแมลงศัตรูพืชที่สำคัญและก่อให้เกิดความเสียหายกับผักตระกูลกะหล่ำทั้วประเทศ โดยจะพบการระบาดของหนอนใยผักเป็นประจำและรวดเร็ว เนื่องจากหนอนใยผักมีวงจรชีวิตสั้น แต่มีการแพร่ขยายพันธุ์รวดเร็ว ซึ่งตัวเต็มวัยเพศเมียสามารถวางไข่ได้หลังออกจากดักแด้ และผสมพันธุ์ภายใน 24 ชั่วโมง และจะวางไข่ได้ตลอดชีวิต
ลักษณะการทำลาย
- เพศเมียตัวเต็มวัยจะวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่ม ทั้งบนใบและใต้ใบ แต่จะพบใต้ใบพืชเป็นส่วนใหญ่
- หยอนใยผักทำลายใบของกะหล่ำปลีได้ทุกระยะการเจริญเติบโต หากหนอนกัดกินยอดในระยะก่อนเข้าปลี อาจทำให้ยอดกะหล่ำปลีแตกเป็นยอดเล็กๆ หลายยอด ทำให้ไม่สามารถห่อหัวได้
- หากพบการระบาดรุนแรงจะพบหนอนกัดกินใบทำให้เป็นรูพรุนคล้ายร่างแห ทำให้พื้นผิวใบลดลง พืชลดการสังเคราะห์แสง ทำให้ผลผลิตไม่ได้คุณภาพ ขนาด น้ำหนัก ตามที่ต้องการ
การป้องกันกำจัด
ใชักับดักกาวเหนียวสีเหลือง หรือกับดักแสงไฟ หรอืกับดักสารเพศ ในการดักผีเสื้อเพื่อลดการวางไข่ ทำลายผัก
การใช้แตนเบียนไข่ ควบคุมการระบาดของหนอนใยผัก
ใช้เชื้อแบคทีเรีย บาซิลลัส ทูริงเยนซิส (บาเซียโน เอชซี) อัตรา 20-40 กรัม / น้ำ 20 ลิตร
ใช้สารกำจัดแมลง เช่น สารคลอร์ฟีนาเฟอร์ กลุ่ม13 (ครูโด) อัตรา 10-20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อีมาเมกตินเบนโซเอต กลุ่ม6 (อาเตโร) อัตรา 3-5 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
*หมายเหตุ : การฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดแมลง เมื่อฉีดพ่นครบ 3 ครั้ง แล้วยังพบการระบาดให้เปลี่ยนกลุ่มสารกำจัดแมลงเป็นกลุ่มอื่น เพื่อลดการดื้อยาของหนอนและแมลง
---------------------------------
ข้อมูลอ้างอิงจาก : กรมวิชาการเกษตร