หนอนผีเสื้อชอนใบมะเขือเทศ (Tomato Leafminer )
เป็นศัตรูพืช ร้ายแรงระดับโลก เนื่องจากสามารถทำลายพืชได้หลายชนิด มีถิ่นกำเนิดอยู่ใน ประเทศเปรู ต่อมาได้มีการระบาดสร้างความเสียหายให้กับแหล่งปลูกมะเขือเทศ แถบอเมริกาใต้และยุโรป ส ำหรับในทวีปเอเชียพบการระบาดครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย และประเทศเนปาล ล่าสุดพบการระบาดทางแถบภาคเหนือของพม่าแล้ว ดังนั้น ประเทศไทยจึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดการระบาดจึงต้องเฝ้าระวังและติดตาม สถานการณ์การระบาดของหนอนผีเสื้อชนิดนี้ที่มักทำลายพืชวงศ์พริกมะเขือ (Solanacearum) เช่น มะเขือเทศ มะเขือ มันฝรั่ง พริก ยาสูบ โทงเทงฝรั่ง รวมทั้งถั่วและกะหล่ำ
-----------------------------
ผีเสื้อหนอนชอนใบมะเขือเทศ
» ชื่อทั่วไป : Tomato leafminer, Tomato pinworm หรือ South American tomato moth
» ชื่อวิทยาศาสตร์: Tuta absoluta
» ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนในวงศ์ Gelechiidae ถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกากลาง
» อายุของหนอนผีเสือชอนใบมะเขือเทศ : อายุเฉลี่ยประมาณ 24-38 วัน ในรอบ 1 ปี สามารถขยายพันธุ์ได้มากกว่า 10-12 รุ่น
วงจรชีวิต
• ระยะไข่ตัวเมียวางไข่ได้ถึง 300 ฟอง ระยะไข่4 -6วัน ลักษณะเป็นรูปทรง กระบอกขนาดเล็ก สีเหลืองครีมยาว 0.5 มิลลิเมตร
• ระยะหนอน มี 4 ระยะ ระยะแรกจะมีสีขาวหรือสีครีมหัวสีด า มีขนาด 1 มิลลิเมตร แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูหรือสีเขียวเมื่อใกล้เข้าดักแด้โดยหนอน ที่โตเต็มที่จะเข้าดักแด้บนผิวใบหรือในดิน ระยะหนอน 8 - 14 วัน
• ระยะดักแด้มีสีน้ำตาลยาว 6 - 7 มิลลิเมตร โดยจะเข้าดักแด้ในดิน ผิวใบไม้แห้ง และลำต้น ระยะดักแด้ 7 - 10 วัน
• ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็กความยาวลำตัว 5-7 มิลลิเมตร สีน้ำตาลอมเทา เพศเมียมีชีวิต 6 - 7 วัน ส่วนเพศผู้มีชีวิต 10 - 15 วัน
-----------------------------
ลักษณะการทำลาย
โดยทั่วไปหนอนจะเข้าทำลายใบเป็นหลัก แต่หนอนวัยท้าย ๆ สามารถ ที่จะเข้าไปทำลายผลได้โดยตัวหนอนกัดกินชอนไชไปภายในแผ่นใบ แต่ยังคง มีเนื้อเยื่อใบอยู่คงรูปทำให้การสังเคราะห์แสงลดลงแผ่นใบที่ถูกทำลายจะแผ่ขยาย เป็นวงกว้างและรวดเร็ว โดยหากเกิดความเสียหายรุนแรงมากอาจทำให้พืช ใบร่วงและตายได้ อาการที่ผลจะพบแผลเป็นหลุมหรือรูและจะสังเกตุเห็น ขุยสีเข้ม เมื่อผ่าผลจะพบตัวหนอนกัดกินทำลายอยู่ภายในผล
ลักษณะการทำลายของใบจากหนอนผีเสื้อชอนใบทำลายจะแตกต่างจากใบ ที่ถูกหนอนแมลงวันชอนใบ (Liriomyza spp.) โดยตัวหนอนผีเสื้อที่กินใบ จะชอนเข้าไปกัดกินเนื้อเยื้อใต้ใบพืช แต่แผลมีลักษณะใหญ่กระจายเป็นวงกว้าง ไม่ค่อยเป็นทางเหมือนหนอนชอนใบแมลงวัน
ตัวหนอนผีเสื้อชอนใบมะเขือเทศ จะกัดกินแถบทุกส่วนของพืช ทั้งใบ กิ่ง ลำต้น และผลมะเขือเทศ
» พืชอาหารหลัก : ตระกูลมะเขือ มันฝรั่ง พริกหวาน ถั่ว และกะหล่ำ พริกหวาน ยาสูบ โทงเทงฝรั่ง
» พืชอาหารรอง : ตระกูลถั่ว และตระกูลกะหล่ำ
» ความแตกต่างของหนอนผีเสื้อขอนใบมะเขือเทศชนิดนี้แตกต่างจากหนอนชอนใบที่มีอยู่เดิม คือ หนอนชอบใบที่มาจากแมลงวัน ตัวหนอนจะไม่มีขาและไม่มีส่วนหัวที่ชัดเจน ตัวเต็มวัยเป็นแมลงวันขนาดเล็กประมาณ 2 มิลลิเมตร สีเหลืองปนดำ
» ดังนั้นหากเกษตรกรพบเห็นมะเขือเทศที่มีลักษณะความเสียหายหรือพบหนอนชอนใบที่มีขาทั้งขาจริงและขาเทียมสอดคล้องกับลักษณะของหนอนผีเสื้อชอนใบดังกล่าวหากพบการเข้าทำลายให้รีบแจ้งและขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ สำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานเกษตรจังหวัด เพื่อหาแนวทางการควบคุม และป้องกันกำจัดก่อนเกิดการระบาดรุนแรง ซึ่งหากระบาดรุนแรงผลผลิต อาจเสียหายได้ถึงร้อยละ 80 – 100
-----------------------------
แนวทางการป้องกันกำจัด
1. วิธีการทางเขตกรรม
- ใช้ต้นกล้ามะเขือเทศและวัสดุปลูกปราศจากหนอนผีเสื้อชอนใบ มะเขือเทศ
- ทำความสะอาดแปลงปลูก เก็บซากพืชที่ถูกหนอนท าลาย
- ปลูกพืชหมุนเวียน ไถพรวนดินและไถพลิกดิน เพื่อก าจัดดักแด้
2. สำรวจติดตามการระบาด
3. ใช้กับดัก เช่น กับดักกาวเหนียว กับดักแสงไฟ กับดักฟีโรโมน 6 – 8 กับดัก ต่อไร่
4. ใช้สารชีวภัณฑ์เชื้อแบคทีเรียบาซิลลัสทูริงเจนซิส (Bacillus thuringiensissubsp.)อัตรา 80 กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร พ่นทุก 4 –7 วัน เมื่อพบในระยะเริ่มต้น หรือ ระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต
5. ใช้สารเคมีป้องกันกำจัด
- อาเตโร (อีมาเม็กติน เบนโซเอท - emamectin benzoate) 5% SG อัตรา 20-30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร (สารในกลุ่ม 6)
- วีเกอรา เอสแอล (อิมิดาโคลพริด - imidacloprid) 10% W/V SL อัตรา 10-20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร (สารในกลุ่ม 4)
หมายเหตุ : พ่นสารกำจัดแมลงทุก 5 –7 วัน ติดต่อกัน 2 –3 ครั้ง โดยใช้กลุ่มสาร สลับกันอย่างน้อย2 กลุ่ม ใน 1 รอบวงจรชีวิต(30 วัน)และเว้นระยะ ไม่ใช้สารกลุ่มเดิมในรอบวงจรชีวิตถัดไป เพื่อลดการสร้างความต้านทานต่อสารกำจัดแมลง
-----------------------------
ที่มา : เอกสารเผยแพร่หนอนผีเสื้อชอนใบมะเขีอเทศ กรมวิชาการเกษรตร