เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว สภาพอากาศร้อนและแห้งในช่วงกลางวัน และอากาศชื้นในช่วงกลางคืนหรือมีหมอกในช่วงเช้ามืด จะทำให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อราสาเหตุโรคพืชบางชนิดได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งวันนี้เรามีตัวอย่างโรคพืชที่มักพบบ่อยในช่วงหน้าหนาวมาฝากกัน
1. โรคเน่าคอดิน (damping-off)
เกิดจากเชื้อรา Pythium spp. ที่เกิดกับต้นอ่อนของผัก ตระกูลกะหล่ำและผักกาด เช่น คะน้า กะหล่ำปลี ผักฮ่องเต้ กวางตุ้ง ผักกาดเขียวปลี ผักกาดขาวปลี กะหล่ำดอก ผักกาดหางหงษ์ และผักกาดหัว
ลักษณะอาการของโรค เชื้อราจะเข้าทำลายพืชในระยะต้นกล้า ทำให้ลำต้นเน่าและตายลงอย่างรวดเร็ว เส้นใยของราที่เป็นสาเหตุจะแพร่กระจายอยู่ในดิน และเข้าสู่ต้นกล้าโดยแทงเข้าไปในเซลล์ผิว บริเวณโคนต้นที่ติดกับผิวดินมีลักษณะฉ่ำน้ำสีน้ำตาลเข้ม เมื่ออาการรุนแรงเนื้อเยื่อจะเกิดเป็นแผลเน่าลาม ทําให้ต้นกล้าเหี่ยวทั้งต้น หักล้มและตายก่อนจะแตกใบจริง บางครั้งเชื้อราอาจเข้าทําลายเมล็ดก่อนงอกพ้นดิน ทําให้เมล็ดไม่งอกหรืองอกออกมาแต่ไม่มีใบเลี้ยง
หากเริ่มพบการระบาดของโรคในแปลงปลูก ให้ฉีดพ่นด้วย "คิวโตฟอส" (ฟอสฟอนิก แอซิด) อัตรา 30 ซีซี ผสม "เวโล" อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร และเพื่อให้สารที่ฉีดพ่นมีประสิทธิภาพมากขึ้น ควรฉีดร่วมกับ ฟิกเซอร์ 408 ในอัตรา 2 ซีซี.ผสมน้ำ 20 ลิตร
2. โรคราน้ำค้าง (Downy mildew)
เกิดจากเชื้อรา Peronospora destructor (Berk.) Casp หรือ Plasmopara viticola (ราน้ำค้างในองุ่น) ลักษณะอาการ จะเริ่มจากการมีแผลสีเหลืองบนผิวใบ ต่อมาแผลจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือดำ และผิวบริเวณจะแห้ง หากมีความชื้นในอากาศสูงจะมีเส้นใยของเชื้อราเกิดขึ้นที่ใต้ใบบริเวณแผล และถ้าเชื้อราขยายตัวเป็นวงกว้าง จะทำให้ใบแห้ง อาจจะทำให้ใบที่เป็นหลุดร่วงได้
สามารถป้องกันและรักษาได้ด้วยการฉีดพ่น "ซอร์บา" (สารอะซอกซีสโตรบิน 25% W/V SC) ในอัตรา 5-10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร สลับใช้กับ "คิวโตฟอส" (ฟอสฟอนิก แอซิด) ในอัตรา 30-40 ซีซี.ผสมน้ำ 20 ลิตร และเพื่อให้สารที่ฉีดพ่นมีประสิทธิภาพมากขึ้น ควรฉีดร่วมกับ ฟิกเซอร์ 408 ในอัตรา 2 ซีซี.ผสมน้ำ 20 ลิตร โดยฉีดพ่นเมื่อเริ่มพบการระบาดของโรค
3. โรคราแป้ง (Powdery mildew)
เกิดจากเชื้อรา Oidium sp. สามารถพบได้ในพืชอาศัยได้หลายชนิด เช่น เงาะ องุ่น สตรอเบอร์รี่ พืชตระกูลแตง อาการพบได้ที่ใบด้านล่างก่อนแล้วจึงลามขึ้นสู่ใบด้านบนในระยะแรก จะเห็นเส้นใยสีขาวของเชื้อรามีลักษณะคล้ายผงแป้งโรยอยู่บนใบมองเห็นได้ชัดด้วยตาเปล่า เชื้อราจะเจริญได้รวดเร็วและแพร่กระจายเต็มไปหมดทั้งใบ รวมทั้งใบบน ๆ ก็สามารถเป็นโรคได้ ใบที่เป็นโรคจะสังเกตเห็นได้ว่าที่ผิวใบจะมีเส้นใยของเชื้อราสีขาวคล้ายแป้ง แต่เซลล์ของใบจะเป็นสีน้ำตาล และต่อมาจะเป็นสีน้ำตาลเข้ม จนในที่สุดใบจะแห้งตายไป อาการของโรคสามารถพบได้ทั้งด้านบนและด้านล่างของใบ
สามารถป้องกันและรักษาได้ด้วยการฉีดพ่น "โกล-โทเป้" (สารฟอลเพต 50% WP) ในอัตรา 30 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร หรือสลับใช้กับ “เทอเรโน” (กำมะถัน 80% WG) อัตรา 20-30 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร และเพื่อให้สารที่ฉีดพ่นมีประสิทธิภาพมากขึ้น ควรฉีดร่วมกับ ฟิกเซอร์ 408 ในอัตรา 2 ซีซี.ผสมน้ำ 20 ลิตร โดยฉีดพ่นเมื่อเริ่มพบการระบาดของโรค
4. โรคแอนแทรคโนส (Anthracnose)
เกิดจากเชื้อ " Colletotrichum glorosporiodes" สามารถเข้าทำลายต้นพืช ได้แก่ ไม้ผล มะม่วง ลำไย ทุเรียน ผักกินใบ พริก กุหลาบ ฯลฯ และสามารถเข้าทำลายได้ทุกระยะการเจริญเติบโต จะเกิดได้ทั้งที่ใบ ผล และดอก โดยลักษณะแผล จะเป็นจุดฉ่ำน้ำเป็นวงกลม และจะขยายวงกว้างขอบแผลจะเป็นสีนำตาลเข้ม