Top
3 ตัวห้ำ แมลงดีในแปลงเกษตร

เชื่อว่าทุกคนที่ปลูกผักทานเอง หรือ เกษตรกรที่ปลูกผักปลอดภัย ต้องมองหาวิธีควบคุมศัตรูพืชโดยใช้ศัตรูธรรมชาติช่วยในการดูแลพืชผักอย่างแน่นอน และ "ตัวห้ำ" ก็เป็นแมลงที่มักจะเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ ในการควบคุมศัตรูพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งตัวห้ำนี้มีอยู่หลายชนิดด้วยกัน โดยตัวห้ำแต่ละชนิดก็กำจัดศัตรูพืชที่ต่างกันไป

ก่อนอื่นเราต้องมาทำความรู้จักตัวห้ำกันก่อน
ตัวห้ำ คือ ศัตรูธรรมชาติที่ล่าเหยื่อและกินสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหาร เพื่อให้มีชีวิตอยู่รอด โดยตัวห้ำเป็นได้ทั้งสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง เช่น นก กิ้งก่า กบ และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลง ซึ่งแมลงจัดว่าเป็นกลุ่มตัวห้ำที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมแมลงศัตรูพืชมากที่สุด โดยแมลงที่เป็นตัวห้ำ จะมีการเติบโตและขยายพันธ์ุเร็วเช่นเดียวกับแมลงศัตรูพืช ซึ่งตัวห้ำบางชนิดเป็นตัวห้ำทั้งในระยะตัวอ่อน และตัวเต็มวัย หรือบางชนิดเป็นตัห้ำเฉพาะระยะตัวอ่อน และบางชนิดก็เป็นตัวห้ำในระยะตัวเต็มวัย เราสามารถแบ่งตัวห้ำโดยอาศัยลักษณะประเภทของปากได้

ตัวห้ำประเภท "ปากกัด" 
โดยแมลงห้ำประเภทนี้จะกัดกิน และบดกิน ทุกส่วนของแมลงศัตรูพืช เช่น

1. ด้วงเต่าลาย : แมลงห้ำที่พบได้ทั้งในสวนผลไม้ พืชผัก ไร่นา โดยด้วงเต่าลายมีประโยชน์ในการควบคุมแมลงศัตรูพืชทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ เพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง แมลงหวี่ขาว โดยด้วงเต่าลายที่เป็นตัวห้ำมีหลายชนิด เช่น ด้วงเต่าลายหยัก ด้วงเต้าลายขวาง ด้วงเต่าสีส้ม ซึ่งหลายคนมักเข้าใจผิดว่าด้วงเต่าลายเป็นศัตรูพืช เพราะมีลักษณะใกล้เคียงกับด้วงเต่าศัตรูพืชบางชนิด

การนำไปใช้ : ปล่อยด้วงเต่าลายตัวอ่อนหรือตัวเต็มวัย อัตรา 100 ตัวต่อไร่ ในพืชไร่ พืชผัก ไม้ดอก และปล่อย 100 ตัวต่อต้นในไม้ผล แต่หากพบแมลงศัตรูพืชปริมาณมาก ให้ปล่อยด้วงเต่าลาย 1,000 ตัวต่อไร่ โดยปล่อยเป็นจุดๆ ให้กระจายทั่วแปลง รวมถึงเลี่ยงการปล่อยช่วงแดดจัดและปล่อยซ้ำจนด้วงเต่าลายตั้งรกรากได้ ควรงดพ่นสารป้องกันกำจัดแมลง

2. แมลงหางหนีบ :  แมลงห้ำที่ช่วยทำลายหนอนเจาะลำต้นข้าวโพด หนอนเจาะผักข้าวโพด หนอนกออ้อย เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้งและไข่แมลง โดยแมลงหางหนีบจะมักซ่อนตัวอยู่ตามซอกดินที่มีเศษใบไม้ สามารถหาเหยื่อตามซอกต่างๆ ได้ดี เช่น ไข่แมลงที่อยู่ภายในลำต้น ดอก ผล หรือเหยื่อที่อยู่ตามซอกกาบใบ

ตัวห้ำประเภท "ปากแทงดูด" 
โดยแมลงห้ำประเภทนี้จะดูดน้ำเลี้ยงจากลำตัวของเหยื่อแมลงศัตรูพืช เช่น มวนเพชรฆาต มวนพิฆาต แมลงช้างปีกใส แต่วันนี้เราจะมาพูดถึง

3. มวนพิฆาต :  แมลงห้ำที่ช่วยในการควบคุมหนอนชนิดต่างๆ โดยเฉพาะหนอนผีเสื้อ เช่น หนอนใยผัก หนอนกระทู้ผัก หนอนกระทู้หอม หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนคืบกะหล่ำ หนอนคืบละหุ่ง หนอนแก้วส้ม หนอนร่าน เป็นต้น ซึ่งมวนพิฆาต เป็นตัวห้ำตั้งแต่ตัวอ่อน จนถึงตัวเต็มวัย มวนพิฆาตจะทำลายหนอนทุกขนาด ตลอดชีวิตมวนพิฆาต 1 ตัว ทำลายหนอนศัตรูพืชได้ 214-258 ตัวเฉลี่ย 6 ตัวต่อวัน 

การนำไปใช้ : สำหรับการนำมวนพิฆาตและแมลงหางหนีบไปใช้จะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน โดยปล่อยมวนพิฆาตและแมลงหางหนีบทั้งตัวอ่อนหรือตัวเต็มวัย อัตรา 100 ตัวต่อไร่ ในพืชไร่ พืชผัก ไม้ดอก และปล่อย 100 ตัวต่อต้นในไม้ผล หากพบหนอนศัตรูพืชปริมาณมาก ให้ปล่อย 2,000 ตัวต่อไร่ โดยปล่อยเป็นจุดๆ ให้กระจายทั่วแปลง เลี่ยงการปล่อยช่วงแดดจัด และงดพ่นสารกำจัดแมลง

ข้อมูลอ้างอิง :  https://esc.doae.go.th/wp-content/uploads/2018/12/ศัตรูธรรมชาติที่สำคัญ.pdf

บทความที่เกี่ยวข้อง
การใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและปลอดภัย
อาการขาดธาตุอาหารของพืช
ข้อมูลแถบสีบนฉลากสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช
ข้อแตกต่างระหว่างหนอนผีเสื้อ VS หนอนแมลงวัน ชอนใบในมะเขือเทศ
โรคใบด่างจุดวงแหวนในมะละกอ
ผังแสดงตารางการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชบางชนิด
การระบาดของศัตรูพืชช่วงหน้าร้อน
น้ำตาลทางด่วน VS กรดอะมิโน
การปลูกพืชใช้ดินอะไรดี
โรคยอดฮิตในมะละกอ
แนวทางการทำเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง
เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน
เพลี้ยไก่แจ้ส้ม และการป้องกัน
7 วิธีดูแลรักษาไม้ผลในช่วงแล้ง
โรคพืชที่มีสาเหตุมาจากไวรัสในพริก
การตรวจวิเคราะห์ดิน
มารู้จักกับหนอนชอนใบผีเสื้อมะเขือเทศ
โรคราแป้งในเงาะ
รู้ไหมว่าเชื้อ "บีที" คืออะไร
น้ำฝนต่อการเจริญเติบโตของพืช
การดูแลผักในฤดูฝน
ทุเรียนเต่าเผา ทุเรียนไส้ซึม
แต่ละภาค...ปลูกอะไรดี?
โรคเมลาโนสในส้ม
การฉีดพ่นสารทางใบให้ถูกวิธี
การฝังเข็มรักษาโรครากเน่าโคนเน่าอย่างไรให้ได้ผล
เพลี้ยหอยในส้ม
เพลี้ยจักจั่นฝอยทุเรียน
โรคใบจุดสาหร่ายในทุเรียน
โรคใบจุดตากบในพริก
โครงการแก้มลิง
7 วิธีกำจัดหอยทากอย่างปลอดภัย
หนอนม้วนใบส้ม (Citrus leaf-roller)
5 เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับกระท่อม
การดูแลต้นไม้หลังน้ำลด
ระวัง ไรขาวและโรคกุ้งแห้งระบาดในพริก
โรคกิ่งแห้งทุเรียน จากเชื้อฟิวซาเรียม
โรคราสีชมพูในทุเรียน
หนอนหน้าแมวศัตรูต้วร้ายปาล์มน้ำมัน
โรคเน่าคอดินในผักกินใบ
แมลงศัตรูพืชที่ระบาดในหน้าหนาว
โรคพืชที่ต้องระวังในฤดูหนาว
ธาตุรอง และ จุลธาตุ ธาตุอาหารสำคัญที่พืชขาดไม่ได้
แมลงศัตรูพืชที่สำคัญในทุเรียน
โรคพืชในทุเรียน
ปลูกมังคุดต้องระวัง (โรคและแมลง) อะไรบ้าง
การใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ
8 เทคนิคการจัดการปุ๋ย
มาทำความรู้จัก ปุ๋ยไนโตรเจนกันเถอะ
โรคและแมลงศัตรูพืชยอดฮิตในพริก
วิธีการดูทุเรียนสุก
โรคและแมลงศัตรูพืชที่พบบ่อยในผักตระกูลกะหล่ำ
การขาดธาตุแมงกานีสในทุเรียน
แมลงและโรคพืชที่ต้องระวังในส้ม
6 เรื่อง...ที่ต้องรู้ก่อนซื้อสารกำจัดศัตรูพืช
อาการ...ขาดธาตุโบรอน ในปาล์มน้ำมัน
อาการขาดธาตุสังกะสี
อาการขาดธาตุแมกนีเซียมในปาล์มน้ำมัน
โรคใบติดทุเรียน ภัยร้าย ทำลายพืช !!
วิธีการฟื้นฟู และดูแลต้นไม้หลังน้ำลด
สีของดินบอกอะไรบ้าง?
4 หลักการใส่ปุ๋ยเคมีให้คุ้มค่า
มารู้จัก แมลงศัตรูพืช กันเถอะ
ประโยชน์ของธาตุแคลเซียมที่มีต่อพืช
การดูแล "ผักสลัด" ในหน้าร้อน ทั้งในและนอกโรงเรือน
5 แมลงศัตรูพืชที่สำคัญในส้ม
บำรุงดินด้วยวิธีธรรมชาติ เคล็ดดลับดูแลต้นไม้แบบประหยัด
ปัญหาพืชหน้าฝน โรครากเน่า โคนเน่า
โรคร้ายทำลายข้าว
อาหารทางใบฉีดพ่นยังไงให้ได้ผล
สารกำจัดศัตรูพืช ยาร้อน ยาเย็น ดูอย่างไร?
โรคพืชที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
โรคพืชในส้มที่ควรระวัง