ช่วงหน้าฝน เป็นช่วงที่โรคพืชหลายชนิดแพร่ระบาดได้ดี ทั้งโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา และแบคทีเรีย
วันนี้มิสเตอร์คิวจึงนำ โรคพืชที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มาให้เกษตรกรทุกท่านได้รู้จักกัน
ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับ #เชื้อแบคทีเรีย คืออะไร
แบคทีเรีย เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก เซลล์เดียว ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีรูปร่างกลม เป็นแท่ง หรือเกลียว
แบคทีเรียสาเหตุโรคพืชส่วนใหญ่ มีรูปร่างเป็นท่อนสั้นและ ไม่สร้างสปอร์ แต่จะมีชั้นเมือกหรือแคบซูลห่อหุ้มผนังด้านนอกเซลล์อีกชั้นหนึ่ง จึงช่วยให้มีอายุนาน และทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ดีขึ้น แบคทีเรียสามารถผลิตสารพิษ และเอนไซม์ทำลายพืชให้ได้รับความเสียหายก่อให้เกิดโรคต่างๆ ต่อพืช ได้แก่
▶️ โรคเหี่ยว (Bacterial Wilt)
อาการเหี่ยวจะเกิดขึ้นที่ยอดใบ และ เริ่มลามลงมาจนเหี่ยวทั้งต้น โดยที่ใบยังคงเขียวอยู่ จากนั้นระบบรากจะถูกทำลายกลายเป็นสีน้ำตาล เมื่อนำต้นที่มีอาการเหี่ยวมาตัดตามขวางจะมีของเหลวสีขาวขุ่น (bacterial ooze) ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียไหลออกมาจากรอยตัด
การแพร่ระบาด เชื้ออาศัยอยู่ดินและติดไปกับส่วนขยายพันธุ์พืชต่างๆ โดยเฉพาะส่วนขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ เช่น ท่อนพันธุ์ หัว แง่ง หรือ หน่อ เป็นต้น เข้าทำลายพืชได้ดีผ่านทางบาดแผลบริเวณระบบราก พบมีความสัมพันธ์กับการระบาดของไส้เดือนฝอยรากปม (root knot nematode) โดยถ้ามีการระบาดของไส้เดือนฝอยรากปมจะทำให้มีการเป็นโรคเหี่ยวรุนแรงมากขึ้น
✅ ไถพลิกกลับดินตากแดดหลายๆ ครั้งเพื่อป้องกันการสะสมของเชื้อในดิน เตรียมดินให้มีการระบายน้ำได้ดี
✅ การอบดินฆ่าเชื้อด้วยการใช้ยูเรียกับปูนขาว อัตรา 80 กก. :800 กก.ต่อไร่ เป็นเวลา 7-10 วันก่อนปลูกพืช
✅ การคควบคุมแมลงศัตรูพืชและไส้เดือนฝอยรากปมในแปลงปลูก
✅ การปลูกพืชหมุนเวียน เว้นการปลูกพืชเดิมซ้ำในพื้นที่ 1-2 ฤดูกาล
-------------------------------------
โรคปุ่มปมที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งทำให้ต้นพืชมีอาการแบ่งเซลล์ผิดปกติเป็นก้อนฟูสีครีมถึงสีน้ำตาลเข้มทรงกลมหรือรี ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-3 ซม. ถ้าเป็นมากทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต เชื้อเข้าทำลายผ่านทางบาดแผลและสามารถอาศัยอยู่ในดินได้
-------------------------------------
▶️ โรคเน่าเละ (Bacterial Soft Rot)
เมื่อต้นพืชโดนเชื้อแบคทีเรียเข้าทำลาย พืชจะแสดงอาการฉ่ำน้ำ ต่อมาจะเน่าเละยุบตัวลุกลามขยายเป็นบริเวณกว้าง มีเมือกเยิ้ม ส่งกลิ่นเหม็น อาการของโรคจะพัฒนาอย่างรวดเร็วในสภาพอากาศร้อนจัดและมีฝนชุก โรคนี้นอกจากสร้างความเสียหายในแปลงปลูกแล้ว ยังทำให้พืชผักเสียหายระหว่างการขนส่ง
✅ ไถพลิกกลับดินตากแดด เพื่อลดการสะสมของเชื้อโรคในดิน
✅ การอบดินฆ่าเชื้อโรคด้วยยูเรียกับปูนขาวในอัตรา 80 กก. : 800 กก. ต่อไร่ เป็นเวลา 7-10 วันก่อนปลูกพืช
✅ ทำการควบคุมแมลงศัตรูพืชผักต่างๆ โดยเฉพาะหนอนหรือแมลงปากกัดในแปลงปลูก
-------------------------------------
▶️ โรคใบไหม้ (Bacteial Blight)
เริ่มแรกใบแสดงอาการจุดเหลี่ยม ฉ่ำน้ำ ขนาดแผลถูกจำกัดด้วยเส้นใบ หากสภาพอากาศมีความชื้นสูงจะพบหยดน้ำสีขาวครีม (ooze) บริเวณแผลบนใบ ต่อมาแผลจะขยายติดกันอย่างรวดเร็ว เป็นแผลไหม้สีน้ำตาลขอบแผลมีสีเหลือง ทำให้เกิดอาการใบไหม้ ใบจะแห้งและร่วง ส่วนยอดที่แตกใหม่จะแสดงอาการเหี่ยว มียางไหล และมีอาการยอดไหม้แห้งตายจากส่วนยอดลงมาลำต้นอย่างรวดเร็ว
✅ ใช้พันธุ์พืชที่ต้านทานโรค เลือกใช้เมล็ดพันธุ์ที่มาจากแหล่งที่ไม่เคยมีโรคระบาด
✅ กำจัดเศษซากพืช และวัชพืชบริเวณแปลงปลูก เพื่อไม่ให้เป็นที่อาศัยอยู่ข้ามฤดูของเชื้อ
✅ คลุกเมล็ดด้วยสารป้องกันกำจัดโรค
-------------------------------------
▶️ โรคแคงเกอร์ (Bacteial Canker)
อาการโรคส่วนมากเกิดกับใบอ่อน โดยระยะเริ่มต้นเกิดแผลจุดฉ่ำน้ำ ต่อมาจุดขยายใหญ่ขึ้นนูนฟูสีเหลืองอ่อน แผลเกิดได้บนใบทั้งสองด้าน ต่อมาแผลนูนจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มและยุบลง กลายเป็นเป็นสะเก็ดแข็งและผิวขรุขระมีสีเหลืองล้อมรอบแผล ขนาดของแผลจะแตกต่างกันไปตามชนิดพืช และสภาพแวดล้อม อาการสามารถเกิดกับส่วนต่างๆ ได้แก่ กิ่ง ลำต้น และผล
การแพร่ระบาด เชื้อสามารถแพร่กระจายไปกับลมฝน หรือการให้น้ำ โดยแหล่งของเชื้อตั้งต้นจะมาจากแผลเก่าบน ใบ กิ่ง หรือลำต้น เชื้อเข้าสู่พืชทางช่องเปิดธรรมชาติของพืช เช่น ปากใบ หรือเข้าทำลายทางบาดแผลซึ่งเกิดจากสาเหตุต่างๆ เช่น แผลเนื่องจากหนามเกี่ยวใบ หรือแผลจากการทำลายของหนอนชอนใบส้ม เป็นต้น
✅ ใช้ส่วนขยายพันธุ์หรือกิ่งพันธุ์ที่ไม่มีโรคมาปลูก โดยเฉพาะในแหล่งปลูกใหม่
✅ ทำการตัดแต่งกิ่งและส่วนที่เป็นโรคที่ใบ กิ่ง และลำต้น ทิ้ง
✅ ทำการให้บังคับการแตกใบอ่อนออกเป็นรุ่นเดียวกัน เพื่อจะทำให้การฉีดสารป้องกันกำจัดโรคมีประสิทธิภาพ
✅ ปลูกพืชเป็นแนวกันลมรอบสวน เพื่อลดการเกิดแผลซึ่งเป็นช่องทางให้เชื้อเข้าทำลาย
✅ การควบคุมแมลงศัตรูโดยเฉพาะหนอนชอนใบ ซึ่งจะทำให้เกิดบาดแผลในช่วงใบอ่อน เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อ
✅ การใช้สารป้องกันกำจัดโรค เช่น copper oxychloride, copper hydroxide พ่นช่วงที่พืชแตกใบอ่อน 2-3 ครั้ง เพื่อป้องกันการเกิดโรค
-------------------------------------