บีที (BT) คืออะไร
บีที คือ สารชีวินทรีย์ควบคุมแมลงศัตรูพืช โดย บีที เป็นเชื้อแบคทีเรียที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ จัดเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการกำจัดด้วงหมัดผัก และหนอนต่างๆ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bacillus thuringiensis หรือเรียกสั้นๆ ว่า บีที (BT)
เชื้อบีทีได้มีการนำมาใช้ในการกำจัดด้วงหมัดผัก และหนอนที่เป็นศัตรูพืชในประเทศไทยมานานหลายปี และในปัจจุบันยิ่งได้รับความนิยมในวงการเกษตรโดยเฉพาะการทำการเกษตรอินทรีย์ที่หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี ซึ่งจุดเด่นของเชื้อบีที เป็นจุลินทรีย์ที่มีความเฉพาะเจาะจงสูงในการทำลายแมลงเป้าหมาย เช่น ด้วงหมัดผัก หนอนใยผัก หนอนคืบ หนอนกะหล่ำ หนอนกระทู้หอม หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนใบแปะ ดังนั้นเชื้อบีทีจึงมีความปลอดภัยสูงต่อมนุษย์ สัตว์เลือดอุ่น ปลา และนก รวมทั้งแมลงที่มีประโยชน์ เช่น ผึ้ง แมลงห้ำ แมลงเบียน
บีทีแตกต่างจากสารเคมีกำจัดแมลงอย่างไร?
บีทีแตกต่างจากสารเคมีกำจัดแมลง ตรงที่สารเคมีกำจัดแมลงมีทั้งประเภทชนิดสัมผัสตาย และประเภทชนิดดูดซึม แต่บีที หนอนต้องกินเข้าไปเท่านั้นถึงจะตาย เพราะเชื้อบีทีเป็นแบคทีเรียที่สามามรถสร้างสปอร์และผลึกโปรตีนที่มีสารพิษภายในเซลล์ของตัวมันเอง โดยสารพิษนี้ถูกเรียกว่า เดลต้า เอ็นโดท็อกซิน (delta endotoxin) มีรูปร่างเป็นผลึกคล้ายขนมเปียกปูนหรือรูปสีเหลี่ยม ขบวนการสร้างสารพิษนี้เกิดขึ้นพร้อมๆ กับการสร้างสปอร์ หลังจากเซลล์สร้างสปอร์และสารพิษเรียบร้อยแล้ว เซลล์จะแตกสปอร์และสารพิษหลุดออกจากเซลล์ ซึ่งเมื่อแมลง/หนอนกินบีทีเข้าไป ตัวสารพิษจะเข้าไปทำปฏิกริยากับน้ำย่อยในกระเพาะของแมลง ทำให้เกิดฤทธิ์ในการทำลายเซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหาร ส่งผลให้ระบบการย่อยอาหารและระบบทางเดินอาหารของแมลงถูกทำลาย ระดับความเป็นกรด-ด่างภายในตัวของแมลงเปลี่ยนไปส่งผลให้หนอนเป็นอัมพาตหรือเคลื่อนไหวช้าลง ไม่สามารถกินอาหารได้ และหนอนจะตายภายใน 2-3 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของแมลง/หนอนและปริมาณเชื้อที่กินเข้าไป
ลักษณะอาการของแมลงที่ได้รับเชื้อบีที
• หยุดกินอาหาร
• เคลื่อนไหวช้า
• โลหิตเป็นพิษ ชักกระตุก และเป็นอัมพาตทั่วทั้งตัว
• ตาย และหลังจากตาย ซากของหนอนจะยังคงรูปตามเดิมแต่เปลี่ยนสีจากสีเดิมเป็นสีน้ำตาลเข้มและดำ
ชนิดของบีทีที่ใช้กันในปัจจุบันในการควบคุมด้วงหมัดผัก และหนอนต่างๆ มี 3 ชนิด คือ
1. Bacillus thuringiensis subsp. kurstaki
2. Bacillus thuringiensis subsp. aizawai
3. Bacillus thuringiensis subsp. tenebrionis
> บีที 2 ชนิดแรกใช้สำหรับควบคุมแมลงในอันดับ Lepidoptera เช่น หนอนใยผัก หนอนกระทู้หอม หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนกินใบสนสามใบ หนอนแปะใบ หนอนคืบกะหล่ำ หนอนกระทู้ผัก หนอนร่านกินใบปาล์ม หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด หนอนแก้วส้ม หนอนหัวดำมะพร้าว
> ส่วนชนิดที่ 3 ใช้สำหรับควบคุมแมลงในอันดับ Coleoptera เช่น ด้วงหมัดผัก เป็นต้น
ข้อดีของการใช้เชื้อบีที
1. ปลอดภัยต่อผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม ไม่เป็นอันตรายต่อแมลงที่มีประโยชน์ เช่น ผึ้ง แมลงห้ำ แมลงเบียน
2. ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ไม่มีฤทธิ์ตกค้างเมื่อนำมาใช้ในพืชผัก หลังจากเก็บผลผลิตแล้วสามารถนำมาล้างทำความสะอาดแล้วนำไปรับประทานได้ทันที
3. แมลงสร้างความต้านทานต่อเชื้อบีทีได้ช้ากว่าสารเคมีกำจัดแมลง
4. สามารถนำไปใช้ร่วมกับวิธีป้องกันกำจัดวิธีการอื่นๆ ได้ หรือสามารถนำไปทดแทนการใช้สารเคมีกำจัดแมลงในแหล่งที่มีปัญหาแมลงศัตรูพืชดื้อสารเคมีได้เป็นอย่างดี
ข้อจำกัดของเชื้อบีที
1. แมลงต้องกินเชื้อเข้าไปเท่านั้น เชื้อจึงจะออกฤทธิ์ได้
2. มีความเฉพาะเจาะจงต่อแมลงแต่ละชนิด
3. ความร้อนและแสงแดดมีส่วนช่วยลดประสิทธิภาพของเชื้อ ต้องเก็บรักษาผลิตภัณฑ์บีทีไม่ให้ถูกแสงแดดและต้องเลือกช่วงเวลาพ่นให้เหมาะสม
วิธีการใช้เชื้อบีที ที่เหมาะสม
1. อ่านฉลากข้างภาชนะบรรจุบีทีให้เข้าใจก่อนนำไปใช้ เพื่อให้ทราบว่าเชื้อบีทีชนิดนี้สามารถควบคุมแมลงศัตรูพืชชนิดใดได้บ้าง
2. ควรพ่นบีทีในช่วงที่สภาพอากาศไม่ร้อนจัด อาจจะทำการฉีดพ่นช่วงหลังบ่ายสามโมง เพราะเชื้อบีที จะตายโดยรังสีอัลตร้าไวโอเลต (UV) จากแสงแดด
3. แมลงต้องกินเชื้อบีที ถึงจะตาย ดังนั้นควรฉีดพ่นบีทีครอบคลุมบริเวณส่วนล่างของใบผักด้วย จึงจะสามารถกำจัดหนอนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
4. ควรผสมเชื้อบีทีกับน้ำจำนวนน้อยๆ ให้เข้ากันก่อนจึงค่อยเทใส่ถังน้ำที่เตรียมไว้ และไม่ควรปล่อยให้สารละลายที่ฉีดพ่นอยู่ในถังนานเกิน 12 ชั่วโมง เพราะประสิทธิภาพของเชื้อจะลดลง
5. ควรผสมสารจับใบในการพ่นเชื้อบีทีทุกครั้งตามอัตราแนะนำการใช้ในฉลาก
6. การป้องกันกำจัดจะได้ผลดีควรทำในระยะแรกที่พบหนอนตัวเล็ก ซึ่งเป็นหนอนวัยแรกๆ (วัย 1-3 วัน)
7. ไม่ควรผสมเชื้อบีทีกับสารป้องกันกำจัดโรคพืช เนื่องจากสารป้องกันกำจัดโรคพืชบางชนิดอาจทำให้เชื้อบีทีเสี่อมประสิทธิภาพได้
8. เนื่องจากเชื้อบีที ใช้เวลา 2-3 วันในการออกฤทธิ์ที่ทำให้แมลงตาย ดังนั้น การใช้อัตราสูงกว่าคำแนะนำไม่ได้ช่วยให้แมลงตายเร็วขึ้น จึงควรใช้เชือบีทีตามอัตราที่แนะนำ
9. เมื่อพบการระบาดรุนแรง ควรพ่นเชื้อบีทีตามอัตราที่แนะนำ โดยพ่นติดต่อกัน 3 ครั้ง ระยะห่าง 3-4 วัน จะช่วยควบคุมการระบาดของแมลงได้ดีกว่าการฉีดพ่นครั้งเดียว
--------------------
บาเซียโน เอชซี
ชื่อสามัญ : บาซิลลัส ทูริงเยนซีส (Bacillus thuringiensis)
สารสำคัญ : Bacillus thuringiensis subsp.aizawai 50,000 IU/mg WP
กลุ่มสาร : Bacillus thuringiensis and the insecticidal proteins they produce (11A)
ลักษณะสาร : ผงสีน้ำตาลเข้ม
คุณสมบัติ
• บาเซียโน เอชซี - บาซิลลัส ทูริงเยนซิส (Bacillus thuringiensis subsp. aizawai 50,000 IU/
• ไม่เป็นพิษกับสิ่งมีชีวิ
• คุณสมบัติที่สำคัญ คือ เชื้อบี.ที. สามารถสร้างผลึกโปรตีนที่เรียกว่า เดลต้าเอนโดท๊อกซิน (Delta-endotoxins) เมื่อหนอนกินเชื้อบีทีเข้
คำแนะนำเพิ่มเติม:
ควรใช้ "บาเซียโน เอชซี" อัตรา 20-40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ
ควรฉีดพ่นในช่วงเย็นที่แสงแ
หลังจากผสม "บาเซียโน เอชซี" กับน้ำสะอาด ควรพักไว้ประมาณ 1-2 ชั่วโมงก่อนฉีดพ่น เพื่อให้เชื้อบีที ขยายตัว และเตรียมพร้อมในการเข้ากำจ
ควรใช้ต่อเนื่องติดต่อกัน 3-5 วัน/
หลีกเลี่ยงการผสม"บาเซียโน เอชซี" กับสารเคมีที่มีสารออกฤทธิ์
หลีกเลี่ยงการใช้ “บาเซียโน เอชซี” ใกล้พื้นที่ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม
เหมาะสำหรับ : ใช้ได้กับ ไม้ผล พืชผัก ไม้ดอก ไม้ประดับ
อัตราใช้แนะนำ : 20-40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร