Top
วิธีการฟื้นฟู และดูแลต้นไม้หลังน้ำลด
???? วิธีการฟื้นฟู และดูแลต้นไม้หลังน้ำลด ????
เกษตรกรในหลายพื้นที่ที่ประสบปัญหาน้ำท่วมขัง ทำให้พืชผลทางการเกษตรได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก หากพืชได้รับการดูแลที่เหมาะสม ก็จะทำให้พืชฟื้นตัวขึ้นมาได้

ปัญหาต้นพืชที่ถูกน้ำท่วมขัง ส่วนใหญ่เกิดจากระบบรากขาดออกซิเจน เพราะช่องว่างในดินถูกแทนที่ด้วยน้ำ ทำให้รากพืชไม่สามารทำงานได้ตามปกติ ดังนั้น หลังน้ำลดจึงควรมีการดูแลที่ถูกต้อง เพิ่มธาตุอาหารให้แก่พืชในเวลาที่เหมาะสม และจัดการปรับปรุงโครงสร้างดินให้ดีขึ้น ต้นไม้ของเราก็จะมีโอกาสรอดและฟื้นตัวได้มากขึ้น
 
 
???? แนวทางฟื้นฟูสภาพต้นพืชหลังน้ำท่วม
???? เมื่อมีน้ำท่วมขังให้รีบระบายน้ำออกจากพื้นที่ให้เร็วที่สุด
???? ในระหว่างที่ยังมีน้ำท่วมอยู่ พยายามทำให้น้ำเคลื่อนไหว เพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำ
???? เมื่อน้ำลดลงแล้ว ควรระบายน้ำออกจากบริเวณโคนต้นพืชโดยเร็ว โดยอาจขุดร่องระบายน้ำให้ไหลออก หรือสอดท่อลงในดินแล้วรีบสูบน้ำบริเวณโคนต้นออกให้มากที่สุด
???? เมื่อน้ำลดลงแล้ว แต่ดินยังเปียกหรือชุ่มน้ำอยู่ ไม่ควรเข้าไปเหยียบบริเวณโคนต้นไม้ เพราะจะทำให้รากเสียหาย และโครงสร้างของดินเสีย จะทำให้อากาศแทรกเข้าไปในโครงสร้างของดินยากขึ้น ควรปล่อยทิ้วไว้ให้แห้งประมาณ 2-3 วัน หรือให้หน้าดินแห้งเสียก่อน
???? ถ้าต้นไม้ทรงตัวไม่ดีและทำท่าว่าจะล้ม อย่ากดดินให้แน่น หรืออย่าเติมดินเข้าไปเพิ่ม เพราะระหว่างนี้รากยังไม่สามารถหาอาหารได้ ควรหาไม้มาค้ำยันไว้กันล้มแทนเป็นลำดับแรก
???? สำหรับพืชคลุมดิน ส่วนใหญ่จะตาย ให้ลอกขุดทิ้งไป ส่วนต้นที่พอจะรอดให้ขุดขึ้นมา ตัดส่วนที่เน่าออก และนำไปพักฟื้นในกระถางปลูกชั่วคราว เมื่อพืชแข็งแรงแล้วจึงนำกลับไปปลูกลงแปลงปลูกได้
???? การสำรวจอาการต้นไม้ควรดูที่ใบ หากเหลือง เหี่ยว ไม่สดใส ควรตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง การตัดแต่งกิ่งจะช่วยจำกัดให้รากที่เสียหายได้ฟื้นฟู ไม่ต้องส่งอาหารมาเลี้ยงกิ่งและใบ และทำให้แสงแดดส่องถึงด้านในต้นไม้ได้ดีขึ้น ลดการเกิดโรคและแมลงซ้ำ
???? ในช่วง 5 วันแรกหลังน้ำลด งดการให้น้ำหรือปุ๋ย หรือยาต่างๆ แก่ต้นไม้ เมื่อต้นไม้เริ่มฟื้นตัวจึงค่อยๆ ให้น้ำ  และควรบำรุงพืชด้วยธาตุอาหารที่จำ โดยฉีดพ่นปุ๋ยหรือฮอร์โมนให้ทางใบ เพราะรากพืชยังไม่สามารถดูดกินธาตุอาหารได้ตามปกติ

???? การฟื้นต้น
???? ฉีดพ่น "ฟลอริเจน" ในอัตรา 30 ซีซี ผสม น้ำ 20 ลิตร เพื่อช่วยฟื้นฟูสภาพต้นให้กลับมาสมบูรณ์ให้ไวขึ้น
???? ฉีดพ่น "อารูกา" ในอัตรา 10 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร บริเวณโคนต้น เมื่อดินเริ่มแห้งแล้ว "อารูกา" จะช่วยปรับโครงสร้างดินให้กลับเข้าสู่สภาพปกติได้ดียิ่งขึ้น
 
 
???? ป้องกันกำจัดโรครากเน่า โคนเน่า
???? ในพื้นที่ที่มีปัญหาของโรกรากเน่าและโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อรา หลังจากน้ำลดแล้วหากพืชยังมีชีวิตอยู่ ให้ราดโคนต้นพืชด้วย คิวโตฟอส (ฟอสฟอนิก แอซิด) อัตรา 30 ซีซี ผสมร่วมกับเวโล อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

บทความที่เกี่ยวข้อง
การใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและปลอดภัย
อาการขาดธาตุอาหารของพืช
ข้อมูลแถบสีบนฉลากสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช
ข้อแตกต่างระหว่างหนอนผีเสื้อ VS หนอนแมลงวัน ชอนใบในมะเขือเทศ
โรคใบด่างจุดวงแหวนในมะละกอ
ผังแสดงตารางการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชบางชนิด
การระบาดของศัตรูพืชช่วงหน้าร้อน
น้ำตาลทางด่วน VS กรดอะมิโน
การปลูกพืชใช้ดินอะไรดี
โรคยอดฮิตในมะละกอ
แนวทางการทำเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง
เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน
เพลี้ยไก่แจ้ส้ม และการป้องกัน
7 วิธีดูแลรักษาไม้ผลในช่วงแล้ง
โรคพืชที่มีสาเหตุมาจากไวรัสในพริก
การตรวจวิเคราะห์ดิน
มารู้จักกับหนอนชอนใบผีเสื้อมะเขือเทศ
โรคราแป้งในเงาะ
รู้ไหมว่าเชื้อ "บีที" คืออะไร
น้ำฝนต่อการเจริญเติบโตของพืช
การดูแลผักในฤดูฝน
ทุเรียนเต่าเผา ทุเรียนไส้ซึม
แต่ละภาค...ปลูกอะไรดี?
โรคเมลาโนสในส้ม
การฉีดพ่นสารทางใบให้ถูกวิธี
การฝังเข็มรักษาโรครากเน่าโคนเน่าอย่างไรให้ได้ผล
เพลี้ยหอยในส้ม
เพลี้ยจักจั่นฝอยทุเรียน
โรคใบจุดสาหร่ายในทุเรียน
โรคใบจุดตากบในพริก
โครงการแก้มลิง
7 วิธีกำจัดหอยทากอย่างปลอดภัย
หนอนม้วนใบส้ม (Citrus leaf-roller)
5 เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับกระท่อม
การดูแลต้นไม้หลังน้ำลด
ระวัง ไรขาวและโรคกุ้งแห้งระบาดในพริก
โรคกิ่งแห้งทุเรียน จากเชื้อฟิวซาเรียม
โรคราสีชมพูในทุเรียน
หนอนหน้าแมวศัตรูต้วร้ายปาล์มน้ำมัน
โรคเน่าคอดินในผักกินใบ
แมลงศัตรูพืชที่ระบาดในหน้าหนาว
โรคพืชที่ต้องระวังในฤดูหนาว
3 ตัวห้ำ แมลงดีในแปลงเกษตร
ธาตุรอง และ จุลธาตุ ธาตุอาหารสำคัญที่พืชขาดไม่ได้
แมลงศัตรูพืชที่สำคัญในทุเรียน
โรคพืชในทุเรียน
ปลูกมังคุดต้องระวัง (โรคและแมลง) อะไรบ้าง
การใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ
8 เทคนิคการจัดการปุ๋ย
มาทำความรู้จัก ปุ๋ยไนโตรเจนกันเถอะ
โรคและแมลงศัตรูพืชยอดฮิตในพริก
วิธีการดูทุเรียนสุก
โรคและแมลงศัตรูพืชที่พบบ่อยในผักตระกูลกะหล่ำ
การขาดธาตุแมงกานีสในทุเรียน
แมลงและโรคพืชที่ต้องระวังในส้ม
6 เรื่อง...ที่ต้องรู้ก่อนซื้อสารกำจัดศัตรูพืช
อาการ...ขาดธาตุโบรอน ในปาล์มน้ำมัน
อาการขาดธาตุสังกะสี
อาการขาดธาตุแมกนีเซียมในปาล์มน้ำมัน
โรคใบติดทุเรียน ภัยร้าย ทำลายพืช !!
สีของดินบอกอะไรบ้าง?
4 หลักการใส่ปุ๋ยเคมีให้คุ้มค่า
มารู้จัก แมลงศัตรูพืช กันเถอะ
ประโยชน์ของธาตุแคลเซียมที่มีต่อพืช
การดูแล "ผักสลัด" ในหน้าร้อน ทั้งในและนอกโรงเรือน
5 แมลงศัตรูพืชที่สำคัญในส้ม
บำรุงดินด้วยวิธีธรรมชาติ เคล็ดดลับดูแลต้นไม้แบบประหยัด
ปัญหาพืชหน้าฝน โรครากเน่า โคนเน่า
โรคร้ายทำลายข้าว
อาหารทางใบฉีดพ่นยังไงให้ได้ผล