Top
ปลูกมังคุดต้องระวัง (โรคและแมลง) อะไรบ้าง

อาการผิดปกติที่เกิดในมังคุด สามารถเกิดได้จากการเข้าทำลายของแมลง และเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคพืชต่างๆ ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อปริมาณผลผลิตและคุณภาพของมังคุด โรค แมลง และอาการผิดปกติที่สำคัญที่วันนี้มิสเตอร์คิว ขอมานำเสนอได้แก่ 

1. เพลี้ยไฟ (Thrips)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Scirtothrips dorsalis Hood
เป็นแมลงขนาดเล็ก เคลื่อนไหวตัวได้รวดเร็ว จะระบาดในช่วงที่อากาศแห้งแล้งติดต่อกันนานๆ


ลักษณะการเข้าทำลาย
โดยทั้งตัวอ่อนและตัวแก่ของเพลี้ยไฟ จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดอ่อน ดอกอ่อน และผลอ่อนของมังคุด หากเป็นยอดอ่อนจะทำให้ยอดแห้ง แต่หากเป็นดอกอ่อนและผลอ่อนจะทำให้ดอกร่วง และผลมีรอยสีน้ำตาลกร้านมียางไหลและจะทำให้ผลร่วงได้ ศัตรูชนิดนี้นับเป็นศัตรูสำคัญที่มีผลกระทบในการส่งออกมังคุดเป็นอย่างมาก

พืชอาหาร
เพลี้ยไฟพริกระบาดทำลายไม้ผลได้หลายชนิดเช่น ทุเรียน มังคุด มะม่วงเงาะ ส้มโอส้มเขียว หวาน ลิ้นจี่และลำไย


ศัตรูธรรมชาติ
ศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยไฟ เช่น แมงมุมชนิดต่างๆ ตัวอ่อนแมลงช้าง และเพลี้ยไฟตัวห้ำ


การป้องกันกำจัด
✅ เมื่อมังคุดเริ่มติดดอกให้หมั่นตรวจดูดอกมังคุด

✅ หากพบว่ามีเพลี้ยไฟอยู่ตามโคนก้านดอกหรือตามกลีบดอกให้ฉีดพ่นสารเคมีประเภทดูดซึม เช่น "วีเกอรา เอสแอล" (อิมิดาคลอพริด : imidacloprid 10% SL) อัตรา 20 ซีซี หรือ "โปรโตคอพ" ไทอะมีทอกแซม(thiamethoxam) 25% WG อัตรา 2-4 กรัม หรือ คาร์โบซัลแฟน (carbosulfan) 20% EC อัตรา 40 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
✅ ไม่ควรใช้สารฆ่าแมลงชนิดใดชนิด หนึ่งซ้ำติดต่อกันหลายครั้ง เพราะทำให้เพลี้ยไฟสร้างความต้านทานต่อสารฆ่าแมลง
✅ หลังพ่นสารเคมีแล้ว 5-7 วัน ให้ตรวจดูอีก หากยังพบอยู่ให้พ่นซ้ำ
✅ การป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ ให้ได้ผลดี ควรทำพร้อมกันกับสวนข้างเคียงเพื่อป้องกันการเคลื่อนย้ายของแมลง

-----------------------------

2. หนอนกินใบอ่อน 
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Stictoptera sp.
เป็นหนอนของผีเสื้อชนิดหนึ่งขนาดของตัวหนอน  ยาวประมาณ 2 ถึง 2.5 เซนติเมตร สีของตัวหนอนเหมือนกับสีของใบอ่อนมังคุด (สีเขียวแกมเหลือง) ถ้าหากไม่สังเกตอย่างละเอียดรอบคอบจะมองไม่เห็น จะระบาดในระยะที่เป็นช่วงแตกใบอ่อนของมังคุด

 

ลักษณะการเข้าทำลาย
หนอนกินใบอ่อนมังคุดจะกัดกินใบมังคุดในเวลากลางคืน ส่วนกลางวันจะหลบลงดินหรืออาศัยตามเศษซากใบไม้หรือ ระหว่างใบในทรงพุ่มมังคุดที่มีความมืดทึบ ตัวหนอนจะกัดกินแต่ใบอ่อนเท่านั้น ลักษณะการทําลายทําให้ใบเว้าๆ แหว่งๆ เหลือ แต่ก้านใบทําให้เสียพิ้นที่ใบในการสังเคราะห์แสง มังคุดขาดความสมบูรณ์เจริญเติบโตช้า

หากมีการระบาดรุนแรง ใบอ่อนจะ ถูกกินจนหมด และถ้าหนอนชนิดนี้ ระบาดในช่วงที่มังคุดแตกใบอ่อนชุดสุดท้าย ก่อนถึงช่วงที่สภาพแวดล้อมเหมาะสมกับการออกดอก จะมีผลกระทบต่อการเกิดตาดอกและติดผล โดยต้นท ี่ใบอ่อนถูกทําลายมากๆ จะมี การแตกใบอ่อนชุดใหม่ชดเชย ส่งผลให้ตายอดของมังคุดจะมีอายุไม่ถึง 9 สัปดาห์เมื่อถึงช่วงที่สภาพแวดล้อมเหมาะสมตายอด จะไม่พัฒนาเป็นดอก จึงทําให้การออกดอก ติดผล และคุณภาพของผลผลิตลดลง

 

การป้องกันกำจัด
✅ หมั่นตรวจดูร่องรอยการทําลายและประชากรตัวหนอนที่ใบอ่อน หากพบว่ามีการทําลายมากกว่า 20% ของยอดมังคุดทั้งหมด แสดงว่าอยู่ในระดับที่ต้องดําเนินการควบคุม

✅ หากมีการระบาดไม่มากนักให้หาเศษหญ้าแห้งกองรอบโคนต้นมังคุด พอตอนสายๆ ให้รื้อกองหญ้าเพื่อทําลายหนอน เนื่องจากหนอนจะทิ้งตัวมาหลบซ่อนอยู่ในกองหญ้า หรือใช้สารสกัดจากสะเดาฉีดพ่น
✅ หากมีการระบาดรุนแรงให้ฉีดพ่นด้วยสารเคมีเช่น "บัคคลิน" (แลมบ์ดาไซฮาโลทริน : lambdacyhalothrin 2.5 % EC) อัตรา 20 ซีซี ผสมร่วมกับยาเชื้อ "บาเซียโน เอชซี" (เชื้อบาซิลลัส ทูริงเยนซีส ไอซาวาย 50,000 IU/mg) อัตรา 30-50 กรัม ต่อน้ํา 20 ลิตร ทุก ๆ5-7 วัน โดยฉีดพ่นเฉพาะจุดที่พบการทําลายของหนอน และควรฉีดพ่นช่วงเย็น เนื่องจากหนอนชนิดนี้จะขึ้นมากัดกินใบอ่อนในตอนกลางคืน

-----------------------------

3. หนอนชอนใบ (leafminer)
ชื่อวิทยาศาสตร์​:
Acrocercops sp. และ Phyllocnistis sp

ชอบชอนไชทำลายใบอ่อนมังคุด พบการระบาดรุนแรงมากขณะ มังคุดแตกใบอ่อน โดยเฉพาะในระยะต้นกล้าของมังคุด ตัวหนอนที่ฟักจากไข่ชอนไชเป็นทางยาวหรือสร้าง เป็นอุโมงค์กัดกินและขับถ่ายอยู่ภายใน

 

ลักษณะการเข้าทำลาย
ใบมังคุดที่ถูกทำลายจะแสดงลักษณะแคระแกรน บิดเบี้ยว เนื่องจากเซลล์และเนื้อเยื่อบางส่วน ของใบถูกทำลายตั้งแต่ใบอ่อนยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ถ้ามีการระบาดรุนแรงอาจพบหนอนชอนใบมากกว่า 1 ตัวต่อใบ ทำให้มังคุดมีใบไม่สมบูรณ์โดยเฉพาะในระยะต้นกล้า ชะงักการเจริญเติบโต

สำหรับต้นมังคุดที่โตแล้วการถูกทำลายรุนแรง ทำให้มังคุดแตกใบอ่อนบ่อยครั้งเพื่อชดเชยใบที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งใบอ่อนเป็นตัวดึงดูดแมลงศัตรูชนิดอื่นๆ เข้ามาทำลายมังคุดเพิ่มขึ้น

 

การป้องกันกำจัด

✅ ใช้สารชีวภัณฑ์เชื้อแบคทีเรียบาซิลลัสทูริงเจนซิส (Bacillus thuringiensissubsp.)อัตรา 30-50 กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร พ่นทุก 4 –7 วัน เมื่อพบในระยะเริ่มต้น หรือ ระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต
✅ ใช้สารเคมีป้องกันกำจัด
- อาเตโร (อีมาเม็กติน เบนโซเอท - emamectin benzoate) 5% SG อัตรา 20-30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร (สารในกลุ่ม 6)
- วีเกอรา เอสแอล (อิมิดาโคลพริด - imidacloprid) 10% W/V SL อัตรา 10-20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร (สารในกลุ่ม 4)
✅ พ่นสารกำจัดแมลงทุก 5 –7 วัน ติดต่อกัน 2 –3 ครั้ง โดยใช้กลุ่มสาร สลับกันอย่างน้อย2 กลุ่ม ใน 1 รอบวงจรชีวิต (30 วัน) และเว้นระยะ ไม่ใช้สารกลุ่มเดิมในรอบวงจรชีวิตถัดไป เพื่อลดการสร้างความ ต้านทานต่อสารกำจัดแมลง

 -----------------------------

4. โรคใบจุด 
เชื้อราสาเหตุ : Pestalotiopsis flagisettula (Guba) Stay
ราสาเหตุสร้างสปอร์แพร่กระจายไปตามลม ระบาดมากในฤดูฝน ถ้าพบโรคใบจุดที่ใบมากและ ช่วงที่ติดผลมีความชื้นสูง ฝนตกชุกโรคจะเข้าทำลายผลมังคุดด้วย

 

ลักษณะการเข้าทำลาย
เกิดจากการทำลายของเชื้อราเข้าทำลายใบเกิดเป็น รอยแผลไหม้สีน้ำตาลมีขอบแผลสีเหลือง  รูปร่างของแผลไม่แน่นอน  ทำให้ใบเสียเนื้อที่ในการสังเคราะห์แสง  ความสมบูรณ์ของต้นลดลง และถ้าระบาดรุนแรงใบจะแห้งทั้งใบและร่วงหล่น ทำให้ผลมังคุดไม่มีใบปกคลุม ผิวของผลมังคุดจะกร้านแดดไม่สวย การเข้าทำลายของแมลงกัดกินใบ หรือหนอนชอนใบจะส่งเสริมอาการของโรคให้รุนแรงขึ้น นอกจากนี้รา ยังสามารถเข้าทำลายลำต้นด้วย โดยเฉพาะในระยะต้นกล้า

 

การป้องกันกำจัด
✅ การทำความสะอาดแปลงปลูก กำจัดวัชพืชที่เป็นแหล่งสะสมโรค

✅ พ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น "โกลด์ทิป 76" (สารซีแรม 76%WG) อัตรา 20 กรัม หรือ  "ซอร์บา" (สารอะซอกซีสโตรบิน : Azoxystrobin 25% W/V SC) อัตรา 5-10 ซีซี ผสมร่วมกับฟิกเซอร์ 408 อัตรา 2-3 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เป็นต้น ในช่วงที่มังคุดแตกใบอ่อน 1 - 2 ครั้ง
✅ ป้องกันกำจัดแมลงพวกหนอนชอนใบ เพื่อลดการเกิดแผลบนใบ

-----------------------------

5. เนื้อแก้วและยางไหล
สาเหตุ : เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของผลเมื่อได้รับน้ำมากเกินไปในช่วงผลใกล้แก่ ถ้ามี ฝนตกมากต้นมังคุดก็จะดูดน้ำเข้าไปมากด้วยเช่นกัน ผลคือลูกมังคุดมีน้ำมากเกินไป ซึ่งน้ำเหล่านี้จะเข้าไป แทนที่อากาศส่วนหนึ่ง ทำให้ช่องว่างลดลงเกิดเป็นเนื้อใสที่เต็มไปด้วยน้ำและที่สำคัญคือเมื่อผลมังคุด มีน้ำมากก็จะขยายตัวมากเกินไปจึงมีผลทำให้ท่อน้ำยางแตกและเกิดอาการยางไหลในผลมังคุด



ลักษณะอาการ
เนื้อมังคุดที่เป็นเนื้อแก้ว จะใสและมีลักษณะคล้ายฉ่ำน้ำอยู่ภายใน อาการเนื้อแก้วมักเกิดกับกลีบเนื้อหรือพูที่มีเมล็ดและลุกลามไปยังพูข้างเคียง มังคุดเนื้อแก้วจะมีความกรอบ และรสชาติค่อนข้างจืด อาการเนื้อแก้วถ้าเป็นรุนแรงอาจสังเกตได้จากภายนอก คือ ผิวของเปลือกจะมีรอยร้าว ตามแนวนอน ถ้ารอยร้าวนั้นยาวอาการเนื้อแก้วในผลจะมีมาก แต่หากอาการเนื้อแก้วมีเพียงเล็กน้อยจะ ไม่สามารถสังเกตเห็นอาการผิดปกติใดๆ บนผิวของผล

อาการยางไหลจะสังเกตเห็นน้ำยางสีเหลืองบางส่วนไหลออกมาเป็นจุดๆ บนเปลือก

 

การป้องกัน
✅ จัดการต้นมังคุดให้ออกดอกเร็วกว่าฤดูกาลเพื่อให้สามารถเก็บเกี่ยวได้ก่อนที่ฝนจะตกชุก โดยกระตุ้นให้มีการแตกใบอ่อนเร็วขึ้นและเสริมสร้างการเจริญเติบโตทางใบโดยการจัดการธาตุอาหาร พืชที่เหมาะสม สร้างสภาพแวดล้อมให้ต้นมังคุดได้พักตัวเร็วขึ้น เพื่อการชักน้ำให้ออกดอกได้เร็วกว่าปกติ

✅ อาการเนื้อแก้วของมังคุดอาจจะป้องกันได้โดยการให้น้ำมังคุดอย่างสม่ำเสมอในช่วงติดผล การบำรุง รักษาต้นให้มีความสมบูรณ์ปราศจากความเสียหายจากอาการใบไหม้ใบจุดหรือใบร่วง ซึ่งจะ ช่วยให้มังคุดมีทรงพุ่มที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์การได้รับน้ำมากเกินไปอาจมีผลกระทบน้อยลงหรือไม่มีเลย ก็ได้กับอาการเนื้อแก้วหรืออาการยางไหลบนผล
✅ มีการให้น้ำเหนือทรงพุ่มเป็นระยะๆ ในขณะที่ผลมังคุดเจริญเติบโตเต็มที่

-----------------------------

ข้อมูลอ้างอิง
- สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์กรมหาชน) : https://www.arda.or.th/kasetinfo/south/mangosteen/controller/01-03.php
- กรมวิชาการเกษตร : เอกสารวิชาการ "โรคมังคุด" https://www.doa.go.th/share/attachment.php?aid=2733
- กรมวิชาการเกษตร : เอกสารวิชาการ "แมลงและไรศัตรูมังคุด" https://www.doa.go.th/share/attachment.php?aid=2734

บทความที่เกี่ยวข้อง
การใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและปลอดภัย
อาการขาดธาตุอาหารของพืช
ข้อมูลแถบสีบนฉลากสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช
ข้อแตกต่างระหว่างหนอนผีเสื้อ VS หนอนแมลงวัน ชอนใบในมะเขือเทศ
โรคใบด่างจุดวงแหวนในมะละกอ
ผังแสดงตารางการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชบางชนิด
การระบาดของศัตรูพืชช่วงหน้าร้อน
น้ำตาลทางด่วน VS กรดอะมิโน
การปลูกพืชใช้ดินอะไรดี
โรคยอดฮิตในมะละกอ
แนวทางการทำเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง
เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน
เพลี้ยไก่แจ้ส้ม และการป้องกัน
7 วิธีดูแลรักษาไม้ผลในช่วงแล้ง
โรคพืชที่มีสาเหตุมาจากไวรัสในพริก
การตรวจวิเคราะห์ดิน
มารู้จักกับหนอนชอนใบผีเสื้อมะเขือเทศ
โรคราแป้งในเงาะ
รู้ไหมว่าเชื้อ "บีที" คืออะไร
น้ำฝนต่อการเจริญเติบโตของพืช
การดูแลผักในฤดูฝน
ทุเรียนเต่าเผา ทุเรียนไส้ซึม
แต่ละภาค...ปลูกอะไรดี?
โรคเมลาโนสในส้ม
การฉีดพ่นสารทางใบให้ถูกวิธี
การฝังเข็มรักษาโรครากเน่าโคนเน่าอย่างไรให้ได้ผล
เพลี้ยหอยในส้ม
เพลี้ยจักจั่นฝอยทุเรียน
โรคใบจุดสาหร่ายในทุเรียน
โรคใบจุดตากบในพริก
โครงการแก้มลิง
7 วิธีกำจัดหอยทากอย่างปลอดภัย
หนอนม้วนใบส้ม (Citrus leaf-roller)
5 เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับกระท่อม
การดูแลต้นไม้หลังน้ำลด
ระวัง ไรขาวและโรคกุ้งแห้งระบาดในพริก
โรคกิ่งแห้งทุเรียน จากเชื้อฟิวซาเรียม
โรคราสีชมพูในทุเรียน
หนอนหน้าแมวศัตรูต้วร้ายปาล์มน้ำมัน
โรคเน่าคอดินในผักกินใบ
แมลงศัตรูพืชที่ระบาดในหน้าหนาว
โรคพืชที่ต้องระวังในฤดูหนาว
3 ตัวห้ำ แมลงดีในแปลงเกษตร
ธาตุรอง และ จุลธาตุ ธาตุอาหารสำคัญที่พืชขาดไม่ได้
แมลงศัตรูพืชที่สำคัญในทุเรียน
โรคพืชในทุเรียน
การใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ
8 เทคนิคการจัดการปุ๋ย
มาทำความรู้จัก ปุ๋ยไนโตรเจนกันเถอะ
โรคและแมลงศัตรูพืชยอดฮิตในพริก
วิธีการดูทุเรียนสุก
โรคและแมลงศัตรูพืชที่พบบ่อยในผักตระกูลกะหล่ำ
การขาดธาตุแมงกานีสในทุเรียน
แมลงและโรคพืชที่ต้องระวังในส้ม
6 เรื่อง...ที่ต้องรู้ก่อนซื้อสารกำจัดศัตรูพืช
อาการ...ขาดธาตุโบรอน ในปาล์มน้ำมัน
อาการขาดธาตุสังกะสี
อาการขาดธาตุแมกนีเซียมในปาล์มน้ำมัน
โรคใบติดทุเรียน ภัยร้าย ทำลายพืช !!
วิธีการฟื้นฟู และดูแลต้นไม้หลังน้ำลด
สีของดินบอกอะไรบ้าง?
4 หลักการใส่ปุ๋ยเคมีให้คุ้มค่า
มารู้จัก แมลงศัตรูพืช กันเถอะ
ประโยชน์ของธาตุแคลเซียมที่มีต่อพืช
การดูแล "ผักสลัด" ในหน้าร้อน ทั้งในและนอกโรงเรือน
5 แมลงศัตรูพืชที่สำคัญในส้ม
บำรุงดินด้วยวิธีธรรมชาติ เคล็ดดลับดูแลต้นไม้แบบประหยัด
ปัญหาพืชหน้าฝน โรครากเน่า โคนเน่า
โรคร้ายทำลายข้าว
อาหารทางใบฉีดพ่นยังไงให้ได้ผล
สารกำจัดศัตรูพืช ยาร้อน ยาเย็น ดูอย่างไร?
โรคพืชที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
โรคพืชในส้มที่ควรระวัง