Top
การฝังเข็มรักษาโรครากเน่าโคนเน่าอย่างไรให้ได้ผล

เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนจะทราบดีว่า ทุเรียนเป็นพืชที่ต้องการการดูแลอย่างมากเพราะมีความเปราะบางต่อโรค แมลง สภาวะแวดล้อม และสภาพอากาศ โดยเฉพาะช่วงฝนตกชุก มีความชื้นสูง เหมาะต่อการเจริญเติบโตของเชื้อรา โดยเฉพาะเชื้อราไฟทอปธอร่าที่เป็นสาเหตุของโรครากเน่าโคนเน่า ต้นทุเรียนที่มีการเข้าทำลายของเชื้อนี้อย่างรุนแรงจะทำให้ต้นทุเรียนยืนต้นตายในที่สุด ดังนั้นการฝังเข็ม จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เกษตรกรนิยมใช้กันในการรักษา โดยสารที่นิยมใช้ในการป้องกันรักษาโรครากเน่าโคนเน่า จะใช้เป็น สารฟอสฟอนิก แอซิด 40%w/v

สารฟอสฟอนิก แอซิด 40%w/v ใช้ฝังเข็มที่ต้นทุเรียนเพื่อป้องกันและรักษาโรคเน่าที่เกิดจากเชื้อรา Phytophtora palmivora ซึ่งเชื้อนี้ทำให้เกิดอาการเป็นแผลฉ่ำน้ำออกมาจากต้นทุเรียน หรือแสดงอาการเน่าที่ใบ ดอกและผลทุเรียนได้เช่นกัน


วิธีการใช้ สารฟอสฟอนิก แอซิด 40%w/v ที่ถูกต้องสำหรับฝังเข็ม

  1. ผสมสารฟอสฟอนิก แอซิด 40%w/v กับน้ำกลั่นหรือน้ำดื่ม ในอัตราส่วน 1:1 (อัตราใช้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เป็นเนื้อยา 1 ส่วน น้ำกลั่น 2 ส่วน หากต้นทุเรียนอายุ 4-5 ปี หรือ เนื้อยา 2 ส่วน น้ำกลั่น 1 ส่วน หากต้นทุเรียนอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป
  2. ดูดน้ำยาที่ผสมแล้วใส่หลอดเข็มฉีดยาสำหรับฝังเข็ม 20 ซีซี/เข็ม เตรียมไว้
  3. ใช้สว่านไฟฟ้าใส่ดอกสว่านเบอร์ 7/32 เจาะที่ต้นทุเรียน เอียงทำมุม 45 องศาจากแนวตั้ง ลึกประมาณ 1-1.5 นิ้ว เลือกตำแหน่งเจาะสูงจากพื้นดินอย่างน้อย 30 เซนติเมตร(1 ฟุต)
  4. นำปลอกเข็ม ตอกเข้ารูที่เจาะไว้ ให้แน่นพอควร เหลือปลายปลอกให้โผล่จากต้นเล็กน้อย
  5. นำเข็มฉีดยาที่มีน้ำยาเตรียมไว้ มาดึงก้านเข็มขึ้นเพื่อเพิ่มลมในเข็ม จนถึงระดับประมาณ 40ซีซี
  6. ปักเข็มลงบนปลอก ใช้ฝ่ามือดันเพื่ออัดน้ำยาเข้าต้น นำตะปูมาขัดที่เข็มไว้ ควรฝังเข็มอย่างน้อย 2 เข็ม ในทิศทางตรงข้ามกันเพื่อป้องกันโรคเน่า
  7. หลังจากฝังเข็มได้ 1-2 วัน หากน้ำยาหมดจากเข็ม ให้ถอดเข็มและปลอกออก อุดรูแผลด้วยปูนแดง (เข็มที่ยังมีน้ำยาเหลืออยู่ ให้อัดลมเข้าไปใหม่ และฝังเข็มอีกครั้ง)

ข้อจำกัดการใช้

  1. หลีกเลี่ยงการฝังเข็มในวันที่มีอากาศร้อนจัด
  2. หลีกเลี่ยงการฝังเข็มในช่วงมีผลอ่อน
  3. หลีกเลี่ยงการฝังเข็มในต้นทุเรียน อายุน้อยกว่า 5 ปี หรือ ขนาดเส้นรอบวงต้นในบริเวณที่ฝังน้อยกว่า 60 ซม.
  4. หลังจากฝังเข็มต้นทุเรียนแล้วควรให้น้ำภายในวันถัดไป
  5. หากฝังหลายเข็ม ควรเว้นระยะห่างแต่ละเข็มไม่น้อยกว่า 30 ซม. ทั้งแนวตั้งและแนวนอน
  6. เนื้อยาสารฟอสฟอนิก แอซิด 40%w/v ไม่ควรเกิน 10ซีซี/เข็ม เพื่อป้องกันอาการใบร่วงเนื่องจากปริมาณยามากเกินไป
บทความที่เกี่ยวข้อง
การใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและปลอดภัย
อาการขาดธาตุอาหารของพืช
ข้อมูลแถบสีบนฉลากสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช
ข้อแตกต่างระหว่างหนอนผีเสื้อ VS หนอนแมลงวัน ชอนใบในมะเขือเทศ
โรคใบด่างจุดวงแหวนในมะละกอ
ผังแสดงตารางการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชบางชนิด
การระบาดของศัตรูพืชช่วงหน้าร้อน
น้ำตาลทางด่วน VS กรดอะมิโน
การปลูกพืชใช้ดินอะไรดี
โรคยอดฮิตในมะละกอ
แนวทางการทำเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง
เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน
เพลี้ยไก่แจ้ส้ม และการป้องกัน
7 วิธีดูแลรักษาไม้ผลในช่วงแล้ง
โรคพืชที่มีสาเหตุมาจากไวรัสในพริก
การตรวจวิเคราะห์ดิน
มารู้จักกับหนอนชอนใบผีเสื้อมะเขือเทศ
โรคราแป้งในเงาะ
รู้ไหมว่าเชื้อ "บีที" คืออะไร
น้ำฝนต่อการเจริญเติบโตของพืช
การดูแลผักในฤดูฝน
ทุเรียนเต่าเผา ทุเรียนไส้ซึม
แต่ละภาค...ปลูกอะไรดี?
โรคเมลาโนสในส้ม
การฉีดพ่นสารทางใบให้ถูกวิธี
เพลี้ยหอยในส้ม
เพลี้ยจักจั่นฝอยทุเรียน
โรคใบจุดสาหร่ายในทุเรียน
โรคใบจุดตากบในพริก
โครงการแก้มลิง
7 วิธีกำจัดหอยทากอย่างปลอดภัย
หนอนม้วนใบส้ม (Citrus leaf-roller)
5 เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับกระท่อม
การดูแลต้นไม้หลังน้ำลด
ระวัง ไรขาวและโรคกุ้งแห้งระบาดในพริก
โรคกิ่งแห้งทุเรียน จากเชื้อฟิวซาเรียม
โรคราสีชมพูในทุเรียน
หนอนหน้าแมวศัตรูต้วร้ายปาล์มน้ำมัน
โรคเน่าคอดินในผักกินใบ
แมลงศัตรูพืชที่ระบาดในหน้าหนาว
โรคพืชที่ต้องระวังในฤดูหนาว
3 ตัวห้ำ แมลงดีในแปลงเกษตร
ธาตุรอง และ จุลธาตุ ธาตุอาหารสำคัญที่พืชขาดไม่ได้
แมลงศัตรูพืชที่สำคัญในทุเรียน
โรคพืชในทุเรียน
ปลูกมังคุดต้องระวัง (โรคและแมลง) อะไรบ้าง
การใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ
8 เทคนิคการจัดการปุ๋ย
มาทำความรู้จัก ปุ๋ยไนโตรเจนกันเถอะ
โรคและแมลงศัตรูพืชยอดฮิตในพริก
วิธีการดูทุเรียนสุก
โรคและแมลงศัตรูพืชที่พบบ่อยในผักตระกูลกะหล่ำ
การขาดธาตุแมงกานีสในทุเรียน
แมลงและโรคพืชที่ต้องระวังในส้ม
6 เรื่อง...ที่ต้องรู้ก่อนซื้อสารกำจัดศัตรูพืช
อาการ...ขาดธาตุโบรอน ในปาล์มน้ำมัน
อาการขาดธาตุสังกะสี
อาการขาดธาตุแมกนีเซียมในปาล์มน้ำมัน
โรคใบติดทุเรียน ภัยร้าย ทำลายพืช !!
วิธีการฟื้นฟู และดูแลต้นไม้หลังน้ำลด
สีของดินบอกอะไรบ้าง?
4 หลักการใส่ปุ๋ยเคมีให้คุ้มค่า
มารู้จัก แมลงศัตรูพืช กันเถอะ
ประโยชน์ของธาตุแคลเซียมที่มีต่อพืช
การดูแล "ผักสลัด" ในหน้าร้อน ทั้งในและนอกโรงเรือน
5 แมลงศัตรูพืชที่สำคัญในส้ม
บำรุงดินด้วยวิธีธรรมชาติ เคล็ดดลับดูแลต้นไม้แบบประหยัด
ปัญหาพืชหน้าฝน โรครากเน่า โคนเน่า
โรคร้ายทำลายข้าว
อาหารทางใบฉีดพ่นยังไงให้ได้ผล
สารกำจัดศัตรูพืช ยาร้อน ยาเย็น ดูอย่างไร?
โรคพืชที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
โรคพืชในส้มที่ควรระวัง