ทำไมฝนตกทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้ดีกว่าการใช้น้ำปะปารด
ทุกท่านอาจจะเคยสังเกตว่าหลังฝนตกแล้วต้นไม้ของเราดูสดชื่น พากันแทงยอดอ่อนกันใหญ่ ซึงจะแตกต่างเมื่อเรารดน้ำด้วยน้ำปะปา เพราะสาเหตุมาจากการที่ในอากาศมีไนโตรเจนมากมาย แต่พืชไม่สามารถนำไปใช้เองได้ ยกเว้นตอนที่ ฝนที่ตกลงมาจะนำพาสารประกอบไนโตรเจนลงมาสู่พื้นดินเบื้องล่าง โดยมีการประเมินไว้ว่าฟ้าแลบครั้งหนึ่งจะทำให้ธาตุไนโตรเจนตกลงมายังพื้นดินประมาณ 2 กิโลกรัม ต่อพื้นที่จำนวน 1 ไร่ ในเวลาหนึ่งปี และเมื่อคิดคำนวณทั้งโลก จะพบว่าจะมีธาตุไนโตรเจนตกลงมายังโลกทั้งสิ้น 770 ล้านตัน สาเหตุก็คือในขณะที่เกิดฟ้าแลบพลังงานบางส่วนที่เกิดจากฟ้าแลบจะทำให้ไนโตรเจน (N)ในอากาศทำปฏิกิริยาทางเคมีกับออกซิเจน (O) เกิดเป็นสารประกอบไนตริกออกไซต์ (NO) สารประกอบไนตริกออกไซต์(NO) จะเกิดปฏิกิริยาเปลี่ยนแปลงตัวเองไปเป็นไนโตรเจนออกไซต์ (NO2) ซึ่งจัดว่าเป็นสารที่มีการละลายได้ดีในน้ำฝน และจะเปลี่ยนเป็นกรดไนตริกหรือกรดดินประสิว(HNO3) ตกลงมายังพื้นดิน เมื่อตกลงมาแล้วจะไปรวมตัวกับธาตุอื่นๆ ในดิน เช่น ธาตุแคลเซียม (Ca) กลับกลายเป็นแคลเซียมไนเตรทซึ่งเป็นปุ๋ยให้กับพืชในที่สุด
โดยแคลเซียมไนเตรทจะมีประโยชน์ต่อพืชดังนี้
ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของผนังเซลล์
สร้างความชุ่มชื้นให้เซลล์พืช
ช่วยป้องกันผลแตก
ช่วยแก้ปัญหารูปร่างของผลไม้บิดเบี้ยวไม่เป็นรูปทรง และผลไม่สม่ำเสมอ
ช่วยเร่งการแตกยอดและการเจริญของรากฝอย
-------------------------------------------------------
ปุ๋ยแคลเซียมไนเตรทสำหรับพืชทุกชนิด
"คิว-เฟอร์ท 15-0-0+26 CaO"
-------------------------------------------------------
ทั้งนี้ การเกิดฝนตกฟ้าคะนองนอกจากจะช่วยให้พื้นดินชุ่มฉ่ำแล้ว ยังช่วยเพิ่มปุ๋ยให้กับพืชด้วย นอกจากนี้ฝนที่ตกลงมาจากฟ้าจะมีค่าความเป็นกรดด่างหรือ pH มีค่าต่ำกว่า 6 เล็กน้อย เนื่องมาจากฝนก่อนที่จะตกลงมาจะรับเอาคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในอากาศมาด้วย ส่งผลให้น้ำฝนมีความเป็นกรดอ่อนๆ ซึ่งความเป็นกรดอ่อนๆ ของน้ำฝนดังกล่าวนี้สามารถทำละลายธาตุต่างๆ ในบรรยากาศระหว่างที่ฝนกำลังตกลงมารวมถึงธาตุอาหารในดินได้