เนื่องจากช่วงที่มีสภาพอากาศที่ร้อนและแห้งแล้งในหลายพื้นที่ เกษตกรควรมีการเฝ้าระวังการระบาดของเพลี้ยไก่แจ้ส้ม โดยเฉพาะต้นส้มที่อยู่ในระยะแตกตาใบและยอดอ่อนจะต้องระวังเพลี้ยไก่แจ้ส้มเข้าทำลาย ซึงจะทำให้เกิดความเสียหายต่อต้นส้มและผลผลิตได้
เรามาทำความรู้จักเพลี้ยไก่แจ้ส้มกัน
--------------------------------------------------------
›› เพลี้ยไก่แจ้ส้ม (Asian citrus psyllid)
›› ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diaphorina citri Kuawayama
--------------------------------------------------------
›› ลักษณะทั่วไป
ลักษณะตัวเต็มวัยเป็นแมลงขนาดเล็ก สีน้ำตาลอ่อน ความยาวจากหัวถึงปลายปีกประมาณ 3 – 4 มิลลิเมตร ขณะที่เกาะอยู่กับที่ ลำตัวของเพลี้ยจะทำมุม 45 องศา กับกิ่งหรือใบส้ม
ตัวเมียจะวางไข่เป็นฟองเดี่ยวที่บริเวณตาหรือใบของยอดอ่อน ที่ยังไม่คลี่ หรือตามซอกระหว่างก้านใบอ่อน ไข่มีสีเหลืองเข้ม รูปร่างคล้ายขนมทองหยอด ปลายข้างหนึ่งมีก้านเล็ก ๆ ฝังติดกับเนื้อเยื่อพืช ตัวอ่อนมีสีเหลืองค่อนข้างกลมแบน มีตาสีแดง 1 คู่ เห็นชัดเจน
--------------------------------------------------------
›› การเข้าทำลายพืช
ลักษณะการทำลายหลังจากผสมพันธุ์ เพศเมียจะวางไข่บริเวณตาหรือใบของยอดอ่อนที่ยังไม่คลี่ หรือตามซอกระหว่างก้านใบอ่อน ตัวอ่อนที่ฟักออกมาจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากตาและยอดอ่อนของต้นส้ม ขณะที่ตัวอ่อนดูดกินน้ำเลี้ยงจะกลั่นสารสีขาวมีลักษณะคล้ายเส้นด้ายและอาจทำให้เกิดราดำตามมา
ใบที่ถูกทำลายจะหงิกงอเป็นคลื่นหากการทำลายถึงขั้นรุนแรงใบจะร่วง ติดผลน้อยหรือไม่ติดผลเลย เพลี้ยชนิดนี้นอกจากจะทำความเสียหายให้กับต้นส้มโดยตรงแล้ว ยังเป็นพาหะถ่ายทอดโรคใบเหลืองต้นโทรมหรือโรคกรีนนิ่ง ซึ่งเป็นโรคที่สาคัญของพืชตระกูลส้มรวมถึงพืชมะนาว เพลี้ยไก่แจ้ส้มทำให้โรคชนิดนี้แพร่กระจายไปเกือบทุกพื้นที่ปลูก เป็นสาเหตุให้ต้นส้มทรุดโทรมและตายในที่สุด
--------------------------------------------------------
›› การป้องกันและกําจัด
1. ค่อยตรวจดูการระบาดของเพลี้ยไก่แจ้ส้มอย่างสม่ำเสมอ
2. ทำการสุ่ม 5 ยอดต่อต้น จำนวน 10 - 20 ต้นต่อสวน หากพบกลุ่มตัวอ่อนหรือตัวเต็มวัย 2 - 3 ตัวต่อยอด
แนะนำให้ฉีดพ่นด้วย "บัคคลิน" สารแลมบ์ดา ไซฮาโลทริน 2.5% EC อัตรา 10 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร หรือสลับใช้ "วีเกอรา เอสแอล" อิมิดาโคลพริด 10% W/V SL เพื่อป้องกันการดื้อยาของแมลง