มิสเตอร์คิว ขอนำเสนอ 5 แมลงศัครูพืชที่สำคัญที่เกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลส้มต้องเฝ้าระวังการเข้าทำลายพืชผลให้ได้รับความเสียหาย มีดังนี้
1. หนอนชอนใบส้ม (Citrus Leafminer)
หนอนชอนใบส้ม คือแมลงศัตรูพืชมีลักษณะการทำลายพืชเป็นรอยคดเคี้ยวบนใบ นิยมเรียกว่าหนอนชอนใบ แมลงชนิดนี้ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก
ลักษณะการเข้าทำลาย
ระยะหนอนเป็นระยะที่เป็นศัตรูที่สำคัญของพืชตระกูลส้ม (Rutaceae) เช่น ส้มเขียวหวาน ส้มโอ มะกรูด มะนาวนอกจากนี้มีรายงานว่าทำลายใบมังคุด มะลิลา และพืชตระกูลกาฝาก (Loranthus) หนอนจะกัดกินภายใต้ผิวของใบอ่อนและยอดอ่อนโดยหนอนชอนไชอยู่ในระหว่างผิวใบของส้ม หนอนทำลายด้านใต้ใบมากกว่าบนใบ แต่กรณีระบาดรุนแรงอาจทำลายด้านบนใบด้วย บริเวณที่ถูกทำลายเห็นเป็นฝ้าขาวปรากฏเป็นทางคดเคี้ยววกไปวนมา การระบาดของหนอนชอนใบส้มที่รุนแรงจะส่งผลกระทบต่อต้นส้มที่ปลูกใหม่ และกระทบต่อผลผลิตส้ม เนื่องจากหนอนชอนใบส้มทำลายพื้นที่ใบ ส่งผลให้การสังเคาะห์แสงลดลง นอกจากนี้ยังเกิดบาดแผลเป็นช่องทางให้เชื้อแบคทีเรีย, Xanthomonas axonopodis pv. citri ที่เป็นเชื้อสาเหตุของโรคแคงเกอร์อีกด้วย
การป้องกันกำจัด
การใช้สารชีวภัณฑ์ "บาเซียโน เอชซี" เป็นเชื้อบีที (Bacillus thuringiensis) อัตรา 20-40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ซึ่งมีรายงานทั้งในและต่างประเทศว่ามีประสิทธิภาพป้องกันกำจัดหนอนชอนใบส้มได้ แต่ต้องมีการพ่นสารเป็นประจำ การใช้สารกำจัดแมลง ฉีดพ่น วีเกอรา 35 (อิมิดาคลอพริด35% SL) อัตรา 5-10 ซีซี หรือ โปรโตคอพ (ไทอะมีทอกแซม 25% WG) อัตรา 2-4 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร และควรสลับใช้กับบัคคลิน (อะบาเมกติน 1.8% EC) อัตรา 20-40 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อป้องกันหนอนดื้อยา
-----------------------------
2. เพลี้ยไฟ (Thrips)
เพลี้ยไฟ ในส้ม คือ เป็นแมลงศัตรูส้มจำพวกปากดูดที่สำความเสียหายกับพืชตระกูลส้มทั้งส้มเขียวหวาน ส้มโอ มะนาว เป็นต้น เพลี้ยไฟชนิดที่มักจะระบาดรุนแรงและต้านทานต่อสารเคมี(ดื้อยา)มากคือ เพลี้ยไฟพริก ซึ่งเป็นชนิดที่มีพืชอาศัยอยู่มากมาย เช่น มะม่วง พืชตระกูลส้ม ทุเรียน มะละกอ มังคุด เงาะ องุ่น สตรอเบอรี่ พืชตระกูลพริก ถั่วลิสง
ลักษณะการเข้าทำลาย
"เพลี้ยไฟ" ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของเพลี้ยไฟใช้ปากที่เป็นแท่ง (stylet)เจาะและดูดน้ำเลี้ยงบริเวณใบอ่อน ยอดอ่อน ตุ่มตาใบ ตุ่มตาดอก ช่อดอกส้ม โดยเฉพาะในระยะยอดอ่อนและผลอ่อน ทำให้ใบมีลักษณะผิดปกติ ใบแคบเรียวและหยาบกร้าน ถ้าการทำลายในระยะผลอ่อนตั้งแต่กลีบดอกร่วงจนผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5ซม. ผลอ่อนที่ถูกทำลายจะปรากฏเป็นวงสีเทาเงินบริเวณขั้วผลและก้นผล หรือเป็นทางสีเทาเงิน ตามความยาวของผล ผลอ่อนที่ถูกทำลายจะแคระแกร็น เมื่อผลโตจะเกิดแผลเป็นคล้ายขี้กลากสีน้ำตาลอยู่ทั่วไป ทำให้ผลผลิตไม่สวย ส่งผลให้ราคาตกต่ำ
เพลี้ยไฟมีวงจรชีวิตสั้นและมีพืชอาศัยมากมาย จึง มีการระบาดตลอดปีช่วงเวลาการระบาดมักระบาดรุนแรงเมื่ออากาศร้อนแห้งแล้ง และฝนทิ้งช่วงเป็นระยะเวลานาน โดยเฉพาะในระยะการแตกใบอ่อนและออกดอกของส้ม
วิธีป้องกันกำจัด
เพื่อป้องกันเพลี้ยไฟดื้อยา เนื่องจากเพลี้ยไฟใช้เวลาประมาณ 15 วัน ก็ออกลูกหลานได้ ดังนั้นให้ใช้สารกลุ่มที่มีกลไกการออกฤทธิ์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งติดต่อกันไม่เกิน 15 วัน จากนั้นรอบ 15 วันถัดไปให้เปลี่ยนกลุ่มสารที่มีกลไกการออกฤทธิ์กลุ่มอื่น
ฉีดพ่น วีเกอรา 35 (อิมิดาคลอพริด35% SL) อัตรา 5-10 ซีซี หรือ โปรโตคอพ (ไทอะมีทอกแซม 25% WG) อัตรา 2-4 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
-----------------------------
3. เพลี้ยไก่แจ้ส้ม (Asian citrus psyllid)
ลักษณะตัวเต็มวัยเป็นแมลงขนาดเล็ก สีน้ำตาลอ่อน ความยาวจากหัวถึงปลายปีกประมาณ 3 – 4 มิลลิเมตร ขณะที่เกาะอยู่กับที่ ลำตัวของเพลี้ยจะทำมุม 45 องศา กับกิ่งหรือใบส้ม ตัวเมียจะวางไข่เป็นฟองเดี่ยวที่บริเวณตาหรือใบของยอดอ่อน ที่ยังไม่คลี่ หรือตามซอกระหว่างก้านใบอ่อน ไข่มีสีเหลืองเข้ม รูปร่างคล้ายขนมทองหยอด ปลายข้างหนึ่งมีก้านเล็ก ๆ ฝังติดกับเนื้อเยื่อพืช ตัวอ่อนมีสีเหลืองค่อนข้างกลมแบน มีตาสีแดง 1 คู่ เห็นชัดเจน
ลักษณะการเข้าทำลาย
ลักษณะการทำลายหลังจากผสมพันธุ์ เพศเมียจะวางไข่บริเวณตาหรือใบของยอดอ่อนที่ยังไม่คลี่ หรือตามซอกระหว่างก้านใบอ่อน ตัวอ่อนที่ฟักออกมาจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากตาและยอดอ่อนของต้นส้ม ขณะที่ตัวอ่อนดูดกินน้ำเลี้ยงจะกลั่นสารสีขาวมีลักษณะคล้ายเส้นด้ายและอาจทำให้เกิดราดำตามมา
ใบที่ถูกทำลายจะหงิกงอเป็นคลื่นหากการทำลายถึงขั้นรุนแรงใบจะร่วง ติดผลน้อยหรือไม่ติดผลเลย เพลี้ยชนิดนี้นอกจากจะทำความเสียหายให้กับต้นส้มโดยตรงแล้ว เพลี้ยไก่แจ้ส้มยังเป็นพาหะถ่ายทอดโรคใบเหลืองต้นโทรมหรือ "โรคกรีนนิ่ง" ซึ่งเป็นโรคที่สาคัญของพืชตระกูลส้มรวมถึงพืชมะนาว เพลี้ยไก่แจ้ส้มทำให้โรคชนิดนี้แพร่กระจายไปเกือบทุกพื้นที่ปลูก เป็นสาเหตุให้ต้นส้มทรุดโทรมและตายในที่สุด
วิธีป้องกันกําจัด
ค่อยตรวจดูการระบาดของเพลี้ยไก่แจ้ส้มอย่างสม่ำเสมอ
ทำการสุ่ม 5 ยอดต่อต้น จำนวน 10 - 20 ต้นต่อสวน หากพบกลุ่มตัวอ่อนหรือตัวเต็มวัย 2 - 3 ตัวต่อยอด
แนะนำให้ฉีดพ่นด้วย บัคคลิน (สารแลมบ์ดา ไซฮาโลทริน 2.5% EC) อัตรา 10 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร หรือสลับใช้วีเกอรา 35 (อิมิดาคลอพริด35% SL) อัตรา 5-10 ซีซี เพื่อป้องกันการดื้อยาของแมลง
-----------------------------
4. เพลี้ยอ่อน (Aphid)
เพลี้ยอ่อน เป็นแมลงพวกปากดูดทำลายพืชด้วยการดูดน้ำเลี้ยงจากใบ,ยอด และลำต้น ทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง หากระบาดเป็นจำนวนมากต้นพืชจะแคระแกร็น จัดเป็นศัตรูพืชที่สำคัญเพราะถึงแม้ว่าจะพบในปริมาณต่ำแต่สามารถถ่ายเชื้อ ไวรัสแก่ต้นพืช ทำให้เกิดความเสียหายรุนแรงได้ เป็นตัวพาหะถ่ายเชื้อไวรัสไปสู่ต้นส้ม
ลักษณะการทำลาย
เพลี้ยอ่อนสามารถเข้าทำลายได้ทั้งในระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัย โดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชทั้งส่วนยอด ใบอ่อน และใบแก่ อาการของต้นส้มที่ถูกเพลี้ยอ่อนเข้าทำลาย คือ ส่วนยอด และใบจะหงิกงอ เมื่อจำนวนเพลี้ยอ่อนเพิ่มมากขึ้นพืชจะเหี่ยว ใบที่ถูกทำลายจะค่อยๆ มีสีเหลือง
ฉีดพ่น วีเกอรา 35 (อิมิดาคลอพริด35% SL) อัตรา 5-10 ซีซี หรือ โปรโตคอพ (ไทอะมีทอกแซม 25% WG) อัตรา 2-4 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
-----------------------------
5. เพลี้ยหอยสีแดงแคลิฟอร์เนีย (California Red Scale)
เพลี้ยหอยสีแดงแคลิฟอร์เนีย เป็นแมลงจำพวกปากดูด ตัวเต็มวัยเพศเมียมีสีน้ำตาลแดง รูปร่างกลมคล้ายโล่ มีการสร้างไขปกคลุม คล้ายเกราะป้องกันการซึมของ น้ำ เพื่อป้องกันภัย ตัวอ่อนเพศผู้มีรูปร่างคล้ายหยดน้ำ เมื่อโตเต็มวัยตัวผู้จะมีปีก 1 คู่
ลักษณะการทำลาย
ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของเพลี้ยหอยสีแดงแคลิฟอร์เนีย จะดูดกินน้ำเลี้ยงตามใบ กิ่ง และผล โดยเฉพาะที่ผลอ่อน ทำให้เปลือกมีสีซีด ผลแคระแกร็น ผิวเปลือกเป็นหลุม ถ้ามีการระบาดมากจะทำให้ใบ หรือผลหลุดร่วง ผลผลิตเสียหาย
✅ ถ้าพบการระบาด แนะนำใช้ โปรโตคอพ (สารไทอะมีทอกแซม (กลุ่ม 4A) 25% WG) อัตรา 10 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร เข้าทำลายแบบดูดซึม ที่ออกฤทธิ์แบบถูกตัวตายและกินตาย
✅ ผสมร่วมกับ บัคคลิน (สารแลมบ์ดา ไซฮาโลทริน (กลุ่ม 3A)) อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เข้าทำลายแบบสัมผัส ออกฤทธิ์แบบถูกตัวตาย
✅ เพิ่มประสิทธิภาพด้วย ฟิกเซอร์ 408 อัตรา 2-4 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ช่วยให้ยาแพร่กระจายและแทรกซึมเข้าไปที่ตัวเพลี้ยหอยได้มากขึ้น
-----------------------------