Top
5 เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับกระท่อม
5 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับกระท่อม 
 
กระท่อมเป็นพืชที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในเวลานี้ วันนี้มิสเตอร์คิว จึงขอเสนอความรู้บางแง่มุมของพืชสมุนไพรชนิดนี้ให้เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ได้มาเรียนรู้ไปพร้อมกัน 
 
1. กระท่อมเป็นพืชที่อยู่ในพืชวงศ์กาแฟ
กระท่อมอยู่ในพืชวงศ์เข็มและกาแฟ (Rubiaceae) ซึ่งเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ปานกลาง ใบคล้ายใบกระดังงา มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนชื้นแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะประเทศไทย มาลายู จนถึงเกาะนิวกินี เติบโตได้ดีในที่ชุ่มชื้น ความชื้นสูง ดินอุดมสมบูรณ์ และมีแสงแดดปานกลาง
 
2. สายพันธุ์ของ "กระท่อม" ที่คนนิยม
ต้นกระท่อมเป็นไม้ยืนต้นที่เลี้ยงง่าย ขึ้นง่าย ทนแดด ชอบฝน ดูแลง่าย นิยมปลูกในไทยมีอยู่ 3 พันธุ์ คือ แตงกวา ยักษาใหญ่ และก้านแดง พบมากบริเวณภาคใต้ เช่น สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง สตูล พัทลุง สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และยังพบในบางจังหวัดของภาคกลาง เช่น ปทุมธานี
 
3. พืชกระท่อมมีสรรพคุณทางยา
สมัยโบราณมีการใช้ใบกระท่อมเพื่อรักษาการติดเชื้อในลำไส้ แก้ท้องเสีย ท้องร่วง บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ ลดไข้ บรรเทาอาการไอ ทำให้นอนหลับง่ายขึ้น โดยใช้ใบสดหหรือใบแห้งเคี้ยว สูบ หรือชงเป็นน้ำชา กลุ่มผู้ใช้แรงงานและเกษตรกรบริโภคใบกระท่อมเพื่อกดความรู้สึกเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า ทำให้ทำงานได้ยาวนานขึ้น ชาวบ้านในภาคใต้ใช้ใบกระท่อมในการรักษาอาการป่วยที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว รวมทั้งรักษาโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
 
4. "ไมทราไจนีน" สารสำคัญ
สารสำคัญที่พบในใบกระท่อม คือ ไมทราไจนีน (mitragynine) ซึ่งเป็นสารที่พบเฉพาะในพืชกระท่อมเท่านั้น ออกฤทธิ์บรรเทาอาการปวดและต้านอักเสบ นอกจากนี้ยังพบสารสกัดจากใบกระท่อมที่สำคัญ เช่น 7-hydroxymitragynine ที่มีฤทธิ์ระงับปวดได้คล้ายกับการใช้มอร์ฟีน แม้จะมีความแรงต่ำกว่ามอร์ฟีน แต่มีข้อดีกว่าตรงที่ไม่กดระบบทางเดินหายใจ ไม่ทำให้คลื่นไส้อาเจียน
 
5. กินไม่ถูกวิธีมีอันตรายต่อสุขภาพ
การบริโภคกระท่อมในปริมาณต่ำ ๆ จะออกฤทธิ์กระตุ้น ลดอาการเมื่อยล้า ทำงานได้นานขึ้น แต่ถ้าใช้ในปริมาณสูงจะมีฤทธิ์กล่อมประสาทและเสพติด ยิ่งถ้าเสพไปนาน ๆ ผู้เสพอาจมีอาการท้องผูก นอนไม่หลับ คลื่นไส้อาเจียน ผิวหนังคล้ำลง บางรายที่เสพมากเกินไปอาจมีอาการทางจิต หวาดระแวง เห็นภาพหลอน พูดไม่ค่อยรู้เรื่อง เมื่อหยุดเสพใบกระท่อมก็จะทำให้ร่างกายไม่มีแรง อ่อนเพลีย ทำงานไม่ได้ ปวดเมื่อยตัว

ด้านกฎหมาย
กฎหมายได้กำหนดมาตรการกำกับดูแลการปลูกพืชกระท่อม การขาย การนำเข้าหรือส่งออกใบกระท่อม เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เช่น
 
✅ กำหนดให้การปลูกพืชกระท่อม การขาย การนำเข้าหรือส่งออกใบกระท่อม เพื่อประโยชน์เชิงอุตสาหกรรม ต้องได้รับใบอนุญาต
 
✅ กำหนดคุณสมบัติและระเบียบเกี่ยวกับสถานที่ขาย นำเข้าหรือส่งออกพืชกระท่อม
 
✅ กำหนดมาตรการป้องกันการใช้ใบกระท่อมในทางที่ผิด เช่น ห้ามขายใบกระท่อม น้ำต้มใบกระท่อม หรืออาหารที่มีใบกระท่อมเป็นวัตถุดิบหรือส่วนประกอบแก่บุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปี หญิงมีครรภ์และหญิงให้นมบุตร หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท, ห้ามบริโภคใบกระท่อมหรือน้ำต้มใบกระท่อมที่ปรุงผสมกับยาเสพติดให้โทษ ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท เป็นต้น
 
ดังนั้นพืชกระท่อมมีทั้งคุณและโทษ และมีข้อกำหนดทางกฎหมายในการปลูก การขาย จำหน่ายแปรรูป ทุกคนควรศึกษาให้ดีก่อน

------------------------------------------
ขอบคุณข้อมูลจาก :
https://www.bbc.com/thai/thailand-58301713
บทความที่เกี่ยวข้อง
การใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและปลอดภัย
อาการขาดธาตุอาหารของพืช
ข้อมูลแถบสีบนฉลากสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช
ข้อแตกต่างระหว่างหนอนผีเสื้อ VS หนอนแมลงวัน ชอนใบในมะเขือเทศ
โรคใบด่างจุดวงแหวนในมะละกอ
ผังแสดงตารางการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชบางชนิด
การระบาดของศัตรูพืชช่วงหน้าร้อน
น้ำตาลทางด่วน VS กรดอะมิโน
การปลูกพืชใช้ดินอะไรดี
โรคยอดฮิตในมะละกอ
แนวทางการทำเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง
เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน
เพลี้ยไก่แจ้ส้ม และการป้องกัน
7 วิธีดูแลรักษาไม้ผลในช่วงแล้ง
โรคพืชที่มีสาเหตุมาจากไวรัสในพริก
การตรวจวิเคราะห์ดิน
มารู้จักกับหนอนชอนใบผีเสื้อมะเขือเทศ
โรคราแป้งในเงาะ
รู้ไหมว่าเชื้อ "บีที" คืออะไร
น้ำฝนต่อการเจริญเติบโตของพืช
การดูแลผักในฤดูฝน
ทุเรียนเต่าเผา ทุเรียนไส้ซึม
แต่ละภาค...ปลูกอะไรดี?
โรคเมลาโนสในส้ม
การฉีดพ่นสารทางใบให้ถูกวิธี
การฝังเข็มรักษาโรครากเน่าโคนเน่าอย่างไรให้ได้ผล
เพลี้ยหอยในส้ม
เพลี้ยจักจั่นฝอยทุเรียน
โรคใบจุดสาหร่ายในทุเรียน
โรคใบจุดตากบในพริก
โครงการแก้มลิง
7 วิธีกำจัดหอยทากอย่างปลอดภัย
หนอนม้วนใบส้ม (Citrus leaf-roller)
การดูแลต้นไม้หลังน้ำลด
ระวัง ไรขาวและโรคกุ้งแห้งระบาดในพริก
โรคกิ่งแห้งทุเรียน จากเชื้อฟิวซาเรียม
โรคราสีชมพูในทุเรียน
หนอนหน้าแมวศัตรูต้วร้ายปาล์มน้ำมัน
โรคเน่าคอดินในผักกินใบ
แมลงศัตรูพืชที่ระบาดในหน้าหนาว
โรคพืชที่ต้องระวังในฤดูหนาว
3 ตัวห้ำ แมลงดีในแปลงเกษตร
ธาตุรอง และ จุลธาตุ ธาตุอาหารสำคัญที่พืชขาดไม่ได้
แมลงศัตรูพืชที่สำคัญในทุเรียน
โรคพืชในทุเรียน
ปลูกมังคุดต้องระวัง (โรคและแมลง) อะไรบ้าง
การใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ
8 เทคนิคการจัดการปุ๋ย
มาทำความรู้จัก ปุ๋ยไนโตรเจนกันเถอะ
โรคและแมลงศัตรูพืชยอดฮิตในพริก
วิธีการดูทุเรียนสุก
โรคและแมลงศัตรูพืชที่พบบ่อยในผักตระกูลกะหล่ำ
การขาดธาตุแมงกานีสในทุเรียน
แมลงและโรคพืชที่ต้องระวังในส้ม
6 เรื่อง...ที่ต้องรู้ก่อนซื้อสารกำจัดศัตรูพืช
อาการ...ขาดธาตุโบรอน ในปาล์มน้ำมัน
อาการขาดธาตุสังกะสี
อาการขาดธาตุแมกนีเซียมในปาล์มน้ำมัน
โรคใบติดทุเรียน ภัยร้าย ทำลายพืช !!
วิธีการฟื้นฟู และดูแลต้นไม้หลังน้ำลด
สีของดินบอกอะไรบ้าง?
4 หลักการใส่ปุ๋ยเคมีให้คุ้มค่า
มารู้จัก แมลงศัตรูพืช กันเถอะ
ประโยชน์ของธาตุแคลเซียมที่มีต่อพืช
การดูแล "ผักสลัด" ในหน้าร้อน ทั้งในและนอกโรงเรือน
5 แมลงศัตรูพืชที่สำคัญในส้ม
บำรุงดินด้วยวิธีธรรมชาติ เคล็ดดลับดูแลต้นไม้แบบประหยัด
ปัญหาพืชหน้าฝน โรครากเน่า โคนเน่า
โรคร้ายทำลายข้าว
อาหารทางใบฉีดพ่นยังไงให้ได้ผล
สารกำจัดศัตรูพืช ยาร้อน ยาเย็น ดูอย่างไร?
โรคพืชที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
โรคพืชในส้มที่ควรระวัง