เมื่อเริ่มเข้าหน้าร้อน สภาพอากาศแห้ง ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ อุณหภูมิในช่วงกลางวันสูงมากกว่า 35 องศาเซลเซียสขึ้นไป เป็นสภาพอากาศที่เอื้อต่อการระบาดของแมลงศัตรูพืชหลายชนิด
วันนี้มิสเตอร์คิว ขอพูดถึง แมลงปากดูดที่ชอบเข้าทำลายพืชโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงที่ส่วนเจริญใหม่ เช่น ยอดอ่อน ใบอ่อน หรืออยู่ใต้ใบพืช สาเหตุที่ทำให้พืชผลเสียหาย
ตัวอย่างแมลงศัตรูพืช ได้แก่ เพลี้ยไฟ ไรแดง เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง และพวกชอบกัดกินใบ ได้แก่หนอนกระทู้ หนอนกออ้อย เป็นต้น
1. เพลี้ยไฟ (Thrips)
เพลี้ยไฟ คือ เป็นแมลงศัตรูพืชจำพวกปากดูดที่สร้างความเสียหายกับพืชหลายชนิด เพลี้ยไฟชนิดที่มักจะระบาดรุนแรงและต้านทานต่อสารเคมี(ดื้อยา)มากคือ #เพลี้ยไฟพริก ซึ่งเป็นชนิดที่มีพืชอาศัยอยู่มากมาย เช่น มะม่วง พืชตระกูลส้ม ทุเรียน มะละกอ มังคุด เงาะ องุ่น สตรอเบอรี่ พืชตระกูลพริก ถั่วลิสง ลักษณะการเข้าทำลาย
"เพลี้ยไฟ" ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของเพลี้ยไฟใช้ปากที่เป็นแท่ง (stylet)เจาะและดูดน้ำเลี้ยงบริเวณใบอ่อน ยอดอ่อน ตุ่มตาใบ ตุ่มตาดอก ช่อดอกส้ม โดยเฉพาะในระยะยอดอ่อนและผลอ่อน ทำให้ใบมีลักษณะผิดปกติ ใบแคบเรียวและหยาบกร้าน ถ้าการทำลายในระยะผลอ่อนตั้งแต่กลีบดอกร่วงจนผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5ซม. ผลอ่อนที่ถูกทำลายจะปรากฏเป็นวงสีเทาเงินบริเวณขั้วผลและก้นผล หรือเป็นทางสีเทาเงิน ตามความยาวของผล ผลอ่อนที่ถูกทำลายจะแคระแกร็น เมื่อผลโตจะเกิดแผลเป็นคล้ายขี้กลากสีน้ำตาลอยู่ทั่วไป ทำให้ผลผลิตไม่สวย ส่งผลให้ราคาตกต่ำ
เพลี้ยไฟมีวงจรชีวิตสั้นและมีพืชอาศัยมากมาย จึง มีการระบาดตลอดปีช่วงเวลาการระบาดมักระบาดรุนแรงเมื่ออากาศร้อนแห้งแล้ง และฝนทิ้งช่วงเป็นระยะเวลานาน โดยเฉพาะในระยะการแตกใบอ่อนและออกดอก วิธีป้องกันกำจัด
✅ เพื่อป้องกันเพลี้ยไฟดื้อยา เนื่องจากเพลี้ยไฟใช้เวลาประมาณ 15 วัน ก็ออกลูกหลานได้ ดังนั้นให้ใช้สารกลุ่มที่มีกลไกการออกฤทธิ์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งติดต่อกันไม่เกิน 15 วัน จากนั้นรอบ 15 วันถัดไปให้เปลี่ยนกลุ่มสารที่มีกลไกการออกฤทธิ์กลุ่มอื่น
✅ ฉีดพ่น วีเกอรา 35 (อิมิดาคลอพริด35% SL) อัตรา 5-10 ซีซี หรือ โปรโตคอพ (ไทอะมีทอกแซม 25% WG) อัตรา 2-4 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
-----------------------------
2. ไรแดงแอฟริกัน (African red mite)
ไรแดง ระบาดในระยะที่ฝนเริ่มทิ้งช่วง อากาศแห้งแล้งและมีลมพัดแรง จะพบไรแดงสูงที่สุดในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม จากนั้นไรแดงจะค่อยๆ ลดลง ปริมาณอาจสูงขึ้นอีกในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ซึ่งแล้งจัด และปัจจุบันพบว่าไรแดงสามารถระบาดได้ตลอดทั้งปี เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวนขึ้น ลักษณะการเข้าทำลาย
ไรแดงดูดกินน้ำเลี้ยงอยู่บริเวณผิวใบพืช ทำให้เกิดเป็นจุดปะ สีขาวกระจายอยู่ทั่วบนใบ ต่อมาจุด ปะสีขาวจะแผ่ขยายออกไปเป็นบริเวณกว้าง จนใบมีอาการขาวซีดและมีคราบสีขาวเกาะติดเป็นผงขาวๆ คล้ายฝุ่นจับ ถ้าหากมีไรแดงทำลายเป็นปริมาณมากและต่อเนื่องจะทำให้ใบร่วงและมีผลกระทบต่อการออกดอกและติดผล ต้นพืชจะเกิดความเสียหายจากไรแดงเมื่อใบแก่ถูกทำลายมากกว่าร้อยละ 25 ของใบที่สำรวจ วิธีป้องกันกำจัด
✅ ใช้ระบบน้ำเหวี่ยงหรือเครื่องฉีดพ่นน้ำ 1 - 2 ชั่วโมงต่อวัน ให้ใบพืชเปียกโชกทั่วทรงพุ่มเพื่อลดปริมาณไรแดงในช่วงฤดูแล้งให้อยู่ในระดับต่ำ (วิธีนี้จะช่วยเพิ่มความชื้นให้กับศัตรูธรรมชาติให้ สามารถดำรงชีวิตอยู่และเพิ่มปริมาณสูงขึ้นในช่วงแล้ง ซึ่งจะควบคุมประชากรของไรแดงได้อย่างมีประสิทธิภาพ)
✅ สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพ ไลเซน (เฟนไพรอกซิเมต 5% SC) อัตรา 10-20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทั้งต้นโดยเฉพาะบริเวณยอดเมื่อพบไรแดงระบาด พ่นซ้ำตามความจำเป็น และงดพ่นก่อนเก็บเกี่ยว 14 วัน
***ไม่ควรใช้สารเคมีชนิดเดียวติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรมีการสลับชนิดเพื่อป้องกันไรแดงเกิดความต้านทาน
-----------------------------
3. เพลี้ยแป้ง (Mealybug)
เพลี้ยแป้งเป็นแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ พบการระบาดทำความเสียหายต่อพืชในแหล่งปลูกทั่วไป
. ลักษณะการเข้าทำลาย
เพลี้ยแป้งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากบริเวณกิ่ง ช่อดอก ผลอ่อน ผลแก่ โดยมีมดแดง และมดดำช่วยคาบพาไปตามส่วนต่าง ๆ ของ พืชส่วนที่ถูกทำลายจะแคระแกร็น และชะงักการเจริญเติบโต นอกจากนี้เพลี้ยแป้งจะขับน้ำหวาน (honeydew) ออกมา เป็นเหตุให้ราดำเข้าทำลายซ้ำ ถ้าเพลี้ยแป้งเข้าทำลายทุเรียนผลเล็กจะทำให้ผลแคระแกร็น ไม่เจริญเติบโตต่อไป แต่ถ้าเป็นทุเรียนผลใหญ่จะไม่มีความเสียหายต่อเนื้อทุเรียน แต่ทำให้คุณภาพของผล ทุเรียนเสียไป ราคาผลผลิตต่ำ วิธีป้องกันกำจัด
✅ เมื่อพบเพลี้ยแป้งปริมาณน้อยบนผลทุเรียนใช้แปลงปัด หรือใช้น้ำพ่นให้เพลี้ยแป้งหลุด เนื่องจากเพลี้ยแป้งแพร่ระบาดโดยมีมดพาไป การป้องกันโดยใช้ผ้าชุบสารฆ่าแมลง เช่น เมลาไทออน (malathion 83% EC) อัตรา20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คาร์บาริล (carbaryl 85% WP) อัตรา10 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร พันไว้ตามกิ่งสามารถป้องกันไม่ให้มดคาบเพลี้ยแป้งไปยังส่วนต่าง ๆ ของทุเรียน และต้องชุบสารฆ่าแมลงซ้ำทุก 10 วัน หรือการพ่นสารฆ่าแมลงไปที่โคนต้น จะช่วยป้องกันมด และลดการเข้าทำลายของเพลี้ยแป้งได้มาก
✅ สารฆ่าแมลงที่ได้ผลในการควบคุมเพลี้ยแป้ง คือ โปรโตคอพ (ไทอะมีทอกแซม 25% WG) อัตรา 2-4 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นสารเฉพาะต้นที่พบเพลี้ยแป้งทำลาย
-----------------------------
4. เพลี้ยอ่อน (Aphid)
เพลี้ยอ่อน เป็นแมลงพวกปากดูดทำลายพืชด้วยการดูดน้ำเลี้ยงจากใบ,ยอด และลำต้น ทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง หากระบาดเป็นจำนวนมากต้นพืชจะแคระแกร็น จัดเป็นศัตรูพืชที่สำคัญเพราะถึงแม้ว่าจะพบในปริมาณต่ำแต่สามารถถ่ายเชื้อ ไวรัสแก่ต้นพืช ทำให้เกิดความเสียหายรุนแรงได้ เป็นตัวพาหะถ่ายเชื้อไวรัสไปสู่ต้นพืช ลักษณะการเข้าทำลาย
เพลี้ยอ่อนสามารถเข้าทำลายได้ทั้งในระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัย โดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชทั้งส่วนยอด ใบอ่อน และใบแก่ อาการของต้นส้มที่ถูกเพลี้ยอ่อนเข้าทำลาย คือ ส่วนยอด และใบจะหงิกงอ เมื่อจำนวนเพลี้ยอ่อนเพิ่มมากขึ้นพืชจะเหี่ยว ใบที่ถูกทำลายจะค่อยๆ มีสีเหลือง วิธีป้องกันกำจัด
✅ ฉีดพ่น วีเกอรา35 (อิมิดาคลอพริด35% SL) อัตรา 5-10 ซีซี หรือ #โปรโตคอพ (ไทอะมีทอกแซม 25% WG) อัตรา 2-4 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
***ไม่ควรใช้สารเคมีชนิดเดียวติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรมีการสลับชนิดเพื่อป้องกันเพลี้ยเกิดความต้านทาน
-----------------------------
5. หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด (Fall armyworm : Spodoptera frugiperda (J.E. Smith))
หนอนชนิดนี้ส่วนหัวมีแถบสีขาวเป็นรูปตัว Y หัวกลับ หลัง และ ด้านข้างมีแถบสีขาวตามยาวที่ลำตัว ปล้องท้องก่อนปล้องสุดท้ายมีจุดสีดำ 4 จุด เรียงตัวรูปสีเหลี่ยมจตุรัส
ตัวเต็มวัย ปีกคู่หน้ามีแถบสีขาวที่ขอบปีก ลักษณะการเข้าทำลาย
หนอนจะกัดกินผิวใบ เริ่มเห็นรอยทำลายสีขาวที่ผิวใบ ลักษณะเป็นจุด หรือ แถบสีขาว หนอนสามารถกระจายไปยังต้นข้างเคียงโดยปลิวไปกับลม หนอนวัย 3-6 วัน เป็นระยะที่ทำความเสียหายมาก กัดกินยอดข้าวโพด ทำให้ใบขาดเป็นรู เว้าแหว่ง ยอดกุด ผลผลิตเสียหาย วิธีป้องกันกำจัด
- ครูโด (สารคลอร์ฟีนาเฟอร์ 10% SC) อัตรา 10-20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
สลับใช้กับ
- อาเตโร (อีมาเม็กติน เบนโซเอท 5% SG) อัตรา 20-30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
*** พ่นสารกำจัดแมลงทุก 5 –7 วัน ติดต่อกัน 2 –3 ครั้ง โดยใช้กลุ่มสาร สลับกันอย่างน้อย2 กลุ่ม ใน 1 รอบวงจรชีวิต(30 วัน) และเว้นระยะ ไม่ใช้สารกลุ่มเดิมในรอบวงจรชีวิตถัดไป เพื่อลดการสร้างความ ต้านทานต่อสารกำจัดแมลง
-----------------------------
6. หนอนกออ้อย (Sugarcane Borer)
หรือหนอนเจาะลำต้นอ้อย หมายถึง แมลงในระยะตัวอ่อนที่อาศัยกัดกินอยู่ภายในหน่ออ้อยหรือลำต้นอ้อย ทำให้ไส้กลวงหรือเกิดเป็นแผลภายใน หากมองจากด้านนอกจะเห็นว่ายอดเหี่ยวและแห้งตาย ส่งผลให้ผลผลิตอ้อยลดลง ซึ่งหนอนกออ้อย มี 3 ชนิด หนอนกอลายจุดเล็ก หนอนกอสีขาว หนอนกอสีชมพู
. วิธีป้องกันกำจัด
- ครูโด (สารคลอร์ฟีนาเฟอร์ 10% SC) อัตรา 10-20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร
สลับใช้กับ
- อาเตโร (อีมาเม็กติน เบนโซเอท 5% SG) อัตรา 20-30 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
ผสมร่วมกับ บาเซียโน เอชซี (เชื้อบีที) อัตรา20-40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
------------------------------------------