"โรคใบด่างจุดวงแหวน" เป็นโรคที่ผู้ปลูกมะละกอ มักเป็นกังวลอยู่ตลอดเวลา เพราะถ้าเกิดการแพร่ระบาดในพื้นที่ จะสร้างความเสียหายให้แก่เกษตรกรเป็นอย่างมาก
สาเหตุและลักษณะของการแพร่ระบาดของโรค
เกิดจากการที่แมลงปากดูด เช่น เพลี้ยอ่อน หรือแมลงหวี่ขาว ดูดน้ำเลี้ยงจากต้นที่เป็นโรค เชื้อไวรัสจะติดอยู่กับส่วนปากแมลง และเมื่อเพลี้ยอ่อนย้ายไปดูดน้ำเลี้ยงต้นมะละกอที่ไม่เป็นโรค ก็จะถูกถ่ายเชื้อไวรัส การถ่ายทอดโรคนี้ใช้เวลาสั้นมาก หลังมะละกอได้รับเชื้อไวรัสแล้วประมาณ 15-30 วินาที ก็จะติดโรคให้เห็น
แมลงพาหะ: แมลงปากดูด เช่น เพลี้ยอ่อน ได้แก่ เพลี้ยอ่อนฝ้าย (Aphis gossypii Glov.) เพลี้ยอ่อนถั่ว (A. craccivora Koch.) และแมลงหวี่ขาว
เชื้อไวัสที่เป็นสาเหตุของโรค: Papaya ringspot virus-type P
ลักษณะอาการหลัก: ใบด่างเหลือง หรือใบด่างสีเขียวเข้มสลับสีเขียวอ่อน ใบมีขนาดเล็กลง บิดเบี้ยว เนื้อใบหดหายจนเหลือแต่เส้นใบทำให้มีลักษณะเป็นเส้นบนก้านใบ และลำต้นมีลักษณะเป็นจุดช่ำน้ำหรือเป็นทางยาวสีเขียวเข้ม ต้นแคระแกร็นใบแก่ร่วงหมดจนเหลือแต่ใบยอด ผิวของผลมะละกอเกิดแผลจุดกลมเป็นวงซ้อนๆ กันกระจายทั่วทั้งผล มะละกอที่รับเชื้อตั้งแต่ระยะยังเป็นต้นอ่อนมักไม่ติดผล
พืช
การควบคุมและป้องกันโรค
จากการศึกษาของนักวิชาการ ของกรมวิชาการเกษตร แนะนำวิธีให้เกษตรกรลดความรุนแรงหรือหลีกเลี่ยงโรคให้ลดน้อยลง สิ่งที่ต้องปฏิบัติคือ
การใช้สารเคมีในการป้องกัน