“ดิน” เป็นปัจจัยสำคัญ ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช เพราะฉะนั้นเกษตรกรควรรู้จักดินของตนเอง เพื่อให้ทราบปริมาณธาตุอาหารที่มีอยู่ในดิน ปัญหาของดิน และวิธีการแก้ไขได้อย่างถูกต้อง ที่สำคัญเราจะได้สามารถใช้ปุ๋ยได้เหมาะสมกับความต้องการของพืช
เพื่อให้ได้ตัวแทนที่ดีที่สุดของที่ดินแปลงนั้น โดยมีขั้นตอน ดังนี้
• ควรเก็บหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว หรือก่อนเตรียมดินปลูกพืชครั้งต่อไป
• พื้นที่ที่จะเก็บตัวอย่างดินไม่ควรเปียกแฉะหรือมีน้ำท่วมขังจะทำให้เข้าไปทำงานลำบาก แต่ถ้าแห้งเกินไปดินจะแข็ง ดินควรมีความชื้นเล็กน้อยจะทำให้ขุดและเก็บได้ง่ายขึ้น
• ไม่เก็บตัวอย่างดินบริเวณที่เคยเป็นบ้าน หรือโรงเรือนเก่า จอมปลวก เก็บให้ห่างไกลจากบ้านเรือน อาคารที่อยู่อาศัย คอกสัตว์ และบริเวณจุดที่มีปุ๋ยตกค้างอยู่
• อุปกรณ์ที่เก็บตัวอย่างดินต้องสะอาด ไม่เปื้อนดิน ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ยาปราบศัตรูพืช หรือสารเคมีอื่น ๆ โดยมีเครื่องมือสำหรับขุดหรือเจาะเก็บดิน เช่น พลั่ว จอบ และเสียม ส่วนภาชนะที่ใส่ดิน เช่น ถังพลาสติก กล่องกระดาษแข็ง กระบุง ผ้ายางหรือผ้าพลาสติก และถุงพลาสติกสำหรับใส่ตัวอย่างดินส่งไปวิเคราะห์
• ต้องบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับตัวอย่างดินของแต่ละตัวอย่างตามแบบฟอร์ม "บันทึกรายละเอียดตัวอย่างดิน" ให้มากที่สุดเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการให้คำแนะนำการจัดการดินให้ถูกต้องที่สุด
ตัวอย่างดินที่เก็บมาเรียบร้อยแล้ว จะส่งไปวิเคราะห์ที่ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ดิน
• สำนักงานพัฒนาที่ดินเขตใกล้บ้านท่าน หรือส่งไปที่กรมวิชาการเกษตรรับบริการตรวจวิเคราะห์ดิน น้ำ พืช ปุ๋ย และวัสดุปรับปรุงดินให้กับเกษตรกรโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่ทั้งนี จะต้องให้เกษตรตำบลหรือเกษตรอำเภอมีหนังสือรับรองว่าเป็นเกษตรกรจริง
• หรือส่งไปที่สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 เสียค่าธรรมเนียมการวิเคราะห์ดิน
• ตัวอย่างดินเมื่อวิเคราะห์เสร็จแล้ว จะส่งผลกลับไปให้พร้อมกับคำแนะนำวิธีการแก้ไขปรับปรุงดิน และการใช้ปุ๋ยกับพืชที่ต้องการปลูก
• วิธีส่งตัวอย่างดิน สามารถทำได้หลายช่องทาง อาทิ ส่งทางพัสดุไปรษณีย์ นำไปส่งด้วยตนเอง ฝากหมอดินอาสาประจำหมู่บ้านมาส่ง หรือฝากให้เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดินมาส่งให้ก็ได้
อย่าลืมวิเคราะห์ดินก่อนปลูกทุกครั้ง เพื่อประโยชน์ของเกษตรกรทุกท่าน เพื่อจะได้ทราบคุณภาพดิน และหากดินในพื้นที่นั้นมีปัญหาจะได้หาทางแก้ไขได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม เพื่อการเจริญเติบโตของพืชที่จะปลูกต่อไป