Top
โรคราสีชมพูในทุเรียน

โรคราสีชมพู เป็นอีกโรคหนึ่งที่สร้างความเสียหายให้กับพืชทุเรียน ที่มักจะพบการระบาดในช่วงหน้าฝน หรือช่วงที่มีฝนตกชุกที่สภาพอากาศมีความชื้นสูง มักจะพบการระบาดในพื้นที่ปลูกทุเรียนแถบจันทบุรี ระยอง และพื้นที่ปลูกทุเรียนในภาคใต้ เช่น ชุมพร สุราษฎร์ธานี เป็นต้น

โรคราสีชมพู (Pink Disease)

เชื้อราสาเหตุ : Corticium salmonicolor

การแพร่ระบาดของโรคราสีชมพู 
โรคนี้ระบาดรุนแรงในสภาพอากาศชุ่มชื้น มีปริมาณน้ำฝนสูง มักพบเกิดขึ้นกับต้นทุเรียนที่ขาดการตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง โดยเชื้อราจะเข้าทำลายกิ่งทุเรียนที่อยู่ด้านในทรงพุ่มที่แสงส่องไม่ถึง หรือกิ่งที่ซ้อนทับกันซึ่งจะมีความชื้นสะสมที่กิ่งสูง ทำให้เชื้อราเข้าทำลายพืชได้ง่ายขึ้น แต่เมื่ออากาศแห้ง เชื้อราจะพักตัว และเจริญลุกลามต่อไปในฤดูฝนถัดไป เชื้อราระบาดโดยลมและฝน

ลักษณะอาการ 
ต้นทุเรียนที่เป็นโรคจะมีอาการใบเหลืองและร่วงหล่น มองดูคล้ายกับอาการที่เกิดจากโรครากเน่าโคนเน่า กิ่งทุเรียนที่ถูกทำลายในช่วงแรกจะพบเส้นใยของเชื้อราลักษณะสีขาวเจริญปกคลุมกิ่งหรือลำต้น เส้นใยจากสีขาวจะเปลี่ยนเป็นสีครีมถึงชมพูอ่อนเริ่มแห้งเป็นขุย เมื่อถากกิ่งที่เชื้อราขึ้นปกคลุมจะพบเนื้อไม้แห้งเป็นสีน้ำตาล

พืชอาศัยของโรคราสีชมพู : ยางพารา เงาะ ขนุน มะม่วง ชา โกโก้ กาแฟ

???? การป้องกัน
???? ดูแลรักษาต้นทุเรียนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่อับชื้น แต่งกิ่งที่แน่นทีบออก และทำการกำจัดวัชพืชในแปลงปลูกไม่ให้รกทึบ
???? ในฤดูฝนหมั่นสารวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบอาการเริ่มของโรคที่กิ่งให้ถากหรือเฉือนส่วนที่เชื้อราเจริญออกให้หมด ถ้าเชื้อราเจริญเข้าไปใต้เปลือกและลุกลามมากให้ตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคออกและนำไปทำลายนอกแปลง 
???? ในกิ่งที่พบการระบาดของเชื้อรา ให้ฉีดพ่นด้วย "ซอร์บา" อัตรา 10 ซีซี ผสมร่วมกับ "เวโล" อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วกิ่งและลำต้น ฉีดพ่นทุกๆ 7-10 วัน หรือตามการระบาดของโรค

หมายเหตุ : ไม่ควรพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชกลุ่มเดียวต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ควรใช้สลับกลุ่มสาร เพื่อป้องกันการดื้อยาของเชื้อราสาเหตุโรค

บทความที่เกี่ยวข้อง
การใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและปลอดภัย
อาการขาดธาตุอาหารของพืช
ข้อมูลแถบสีบนฉลากสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช
ข้อแตกต่างระหว่างหนอนผีเสื้อ VS หนอนแมลงวัน ชอนใบในมะเขือเทศ
โรคใบด่างจุดวงแหวนในมะละกอ
ผังแสดงตารางการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชบางชนิด
การระบาดของศัตรูพืชช่วงหน้าร้อน
น้ำตาลทางด่วน VS กรดอะมิโน
การปลูกพืชใช้ดินอะไรดี
โรคยอดฮิตในมะละกอ
แนวทางการทำเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง
เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน
เพลี้ยไก่แจ้ส้ม และการป้องกัน
7 วิธีดูแลรักษาไม้ผลในช่วงแล้ง
โรคพืชที่มีสาเหตุมาจากไวรัสในพริก
การตรวจวิเคราะห์ดิน
มารู้จักกับหนอนชอนใบผีเสื้อมะเขือเทศ
โรคราแป้งในเงาะ
รู้ไหมว่าเชื้อ "บีที" คืออะไร
น้ำฝนต่อการเจริญเติบโตของพืช
การดูแลผักในฤดูฝน
ทุเรียนเต่าเผา ทุเรียนไส้ซึม
แต่ละภาค...ปลูกอะไรดี?
โรคเมลาโนสในส้ม
การฉีดพ่นสารทางใบให้ถูกวิธี
การฝังเข็มรักษาโรครากเน่าโคนเน่าอย่างไรให้ได้ผล
เพลี้ยหอยในส้ม
เพลี้ยจักจั่นฝอยทุเรียน
โรคใบจุดสาหร่ายในทุเรียน
โรคใบจุดตากบในพริก
โครงการแก้มลิง
7 วิธีกำจัดหอยทากอย่างปลอดภัย
หนอนม้วนใบส้ม (Citrus leaf-roller)
5 เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับกระท่อม
การดูแลต้นไม้หลังน้ำลด
ระวัง ไรขาวและโรคกุ้งแห้งระบาดในพริก
โรคกิ่งแห้งทุเรียน จากเชื้อฟิวซาเรียม
หนอนหน้าแมวศัตรูต้วร้ายปาล์มน้ำมัน
โรคเน่าคอดินในผักกินใบ
แมลงศัตรูพืชที่ระบาดในหน้าหนาว
โรคพืชที่ต้องระวังในฤดูหนาว
3 ตัวห้ำ แมลงดีในแปลงเกษตร
ธาตุรอง และ จุลธาตุ ธาตุอาหารสำคัญที่พืชขาดไม่ได้
แมลงศัตรูพืชที่สำคัญในทุเรียน
โรคพืชในทุเรียน
ปลูกมังคุดต้องระวัง (โรคและแมลง) อะไรบ้าง
การใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ
8 เทคนิคการจัดการปุ๋ย
มาทำความรู้จัก ปุ๋ยไนโตรเจนกันเถอะ
โรคและแมลงศัตรูพืชยอดฮิตในพริก
วิธีการดูทุเรียนสุก
โรคและแมลงศัตรูพืชที่พบบ่อยในผักตระกูลกะหล่ำ
การขาดธาตุแมงกานีสในทุเรียน
แมลงและโรคพืชที่ต้องระวังในส้ม
6 เรื่อง...ที่ต้องรู้ก่อนซื้อสารกำจัดศัตรูพืช
อาการ...ขาดธาตุโบรอน ในปาล์มน้ำมัน
อาการขาดธาตุสังกะสี
อาการขาดธาตุแมกนีเซียมในปาล์มน้ำมัน
โรคใบติดทุเรียน ภัยร้าย ทำลายพืช !!
วิธีการฟื้นฟู และดูแลต้นไม้หลังน้ำลด
สีของดินบอกอะไรบ้าง?
4 หลักการใส่ปุ๋ยเคมีให้คุ้มค่า
มารู้จัก แมลงศัตรูพืช กันเถอะ
ประโยชน์ของธาตุแคลเซียมที่มีต่อพืช
การดูแล "ผักสลัด" ในหน้าร้อน ทั้งในและนอกโรงเรือน
5 แมลงศัตรูพืชที่สำคัญในส้ม
บำรุงดินด้วยวิธีธรรมชาติ เคล็ดดลับดูแลต้นไม้แบบประหยัด
ปัญหาพืชหน้าฝน โรครากเน่า โคนเน่า
โรคร้ายทำลายข้าว
อาหารทางใบฉีดพ่นยังไงให้ได้ผล
สารกำจัดศัตรูพืช ยาร้อน ยาเย็น ดูอย่างไร?