Top
แมลงศัตรูพืชที่ระบาดในหน้าหนาว

เมื่อประเทศไทย เริ่มเข้าสู่ฤดูหนาวอากาศอุณหภูมิลดต่ำลง สถาพอากาศแห้งและหนาวถึงหนาวจัดในบางพื้นที่ ลักษณะอากาศเช่นนี้จะส่งผลให้แมลงศัตรูพืชระบาดทำความเสียหายแก่พืชผลทางการเกษตรไม่ว่าจะเป็นไม้ผล พืชผัก ดอกไม้ และข้าว ดังนั้น ในช่วงฤดูหนาวนี้ เกษตรกรจึงควรเตรียมป้องกันและเฝ้าระวังศัตรูพืชที่มักระบาดในช่วงฤดูหนาวซึ่งศัตรูพืชที่มักจะมากับความหนาวเย็น ได้แก่

1. หนอนใยผัก (Diamondback moth)
เป็นศัตรูกับผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก วางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ หรือกลุ่มเล็กๆ ตามส่วนยอดของพืชผักทั้งบนใบและใต้ใบ ไข่มีสีเหลืองอ่อน หนอนลำตัวยาวเรียว หัวท้ายแหลมสีขาวนวล

ลักษณะการทำลายจะชอนใบ กัดกินใบและยอดอ่อนเป็นรูพรุน โดยจะชอบแทะกินผิวใบด้านล่าง และปล่อยเหลือผิวใบด้านบนไว้เป็นเยื่อโปร่งแสงเป็นวงกว้าง หากมีการระบาดมากจะกัดกินจนเหลือแต่ก้านใบหรือใบแหว่งเหี่ยวตายได้ง่าย สามารถระบาดได้ตลอดทั้งปี ซึ่งในช่วงฤดูหนาวจะเหมาะสมต่อการขยายพันธุ์เป็นอย่างดี


2. หนอนคืบกะหล่ำ (Cabbage looper, cabbage semi-looper) 
หรือหนอนคืบเขียว หรือหนอนเขียว เป็นศัตรูสำคัญของผักตระกูลกะหล่ำ โดยเฉพาะผักคะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก ผักกาดขาว ผักตระกูลถั่ว เช่น ถั่วลันเตา ตัวหนอนจะมีสีเขียวอ่อน ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อขนาดกลาง วางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ สีขาวนวล หรือเหลืองอ่อนตามใต้ใบ ตัวหนอนจะมีลำตัวแบ่งออกเป็นปล้องชัดเจน และมีขนปกคลุุมกระจายทั่วไป ลำตัวมีแถบสีขาว

ลักษณะการทำลายในระยะแรกตัวหนอนจะกัดกินที่ผิวใบ เมื่อตัวหนอนโตขึ้นจะกัดกินใบทำให้เป็นรอยแหว่งเหลือแต่ก้านใบ

3. ด้วงหมัดผัก (Flea Beetle)
หรือหมัดผัก หมัดกระโดด ตัวกระเจ๊า เป็นศัตรูของผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด ตัวเต็มวัยจะมีปากแบบกัดกิน ลำตัวขนาดเล็ก ชอบวางไข่บริเวณโคนต้นพืช และตามพื้นดิน ไข่รูปร่างคล้ายไข่ไก่สีขาวอมเขียวผิวเรียบเป็นมัน

ลักษณะการทำลาย ตัวอ่อนชอบกัดกินรากหรือหัวใต้ดิน  ตัวเต็มวัยมักชอบกัดกินใบผักจนเป็นรูพรุน ชอบทำลายในผักจำพวกที่มีกลิ่นฉุน 

การป้องกันกำจัด
✅ การใช้โรงเรือนตาข่ายไนล่อน หรือการปลูกผักกางมุ้ง

✅ การใช้เชื้อแบคทีเรีย "บาเซียโน เอชซี" (บาซีลลัส ทูริงเยนซิส ซับไอซาวาย) อัตรา 30 กรัม/ น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในตอนเย็นขณะที่หนอนกำลังออกมากัดกินผัก เสริมประสิทธิภาพการแผ่กระจายและแทรกซึมของเชื้อบีทีสู่ตัวหนอน ผสม "ฟิกเซอร์ 408" อัตรา 3 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุกๆ 3-5 วัน ในระยะที่หนอนระบาด 
หมายเหตุ :  "บาเซียโน เอชซี" เป็นสารที่ปลอดภัย เหมาะที่จะใช้กับพืชผักโดยเฉพาะในะระยะเก็บเกี่ยว เชื้อบีที เหมาะสำหรับใช้กำจัดหนอนผีเสื้อเท่านั้น ไม่ควรใช้ในพื้นที่ที่มีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม

✅ การใช้สารำจัดแมลง แนะนำ "บัคคลิน" (แลมบ์ดา ไซฮาโลทริน 2.5% W/V EC) อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20-30 ลิตร

หมายเหตุ : การฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดแมลง เมื่อฉีดพ่นครบ 3 ครั้ง แล้วยังพบการระบาดให้เปลี่ยนกลุ่มสารกำจัดแมลงเป็นกลุ่มอื่น เพื่อลดการดื้อยาของหนอนและแมลง

บทความที่เกี่ยวข้อง
การใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและปลอดภัย
อาการขาดธาตุอาหารของพืช
ข้อมูลแถบสีบนฉลากสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช
ข้อแตกต่างระหว่างหนอนผีเสื้อ VS หนอนแมลงวัน ชอนใบในมะเขือเทศ
โรคใบด่างจุดวงแหวนในมะละกอ
ผังแสดงตารางการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชบางชนิด
การระบาดของศัตรูพืชช่วงหน้าร้อน
น้ำตาลทางด่วน VS กรดอะมิโน
การปลูกพืชใช้ดินอะไรดี
โรคยอดฮิตในมะละกอ
แนวทางการทำเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง
เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน
เพลี้ยไก่แจ้ส้ม และการป้องกัน
7 วิธีดูแลรักษาไม้ผลในช่วงแล้ง
โรคพืชที่มีสาเหตุมาจากไวรัสในพริก
การตรวจวิเคราะห์ดิน
มารู้จักกับหนอนชอนใบผีเสื้อมะเขือเทศ
โรคราแป้งในเงาะ
รู้ไหมว่าเชื้อ "บีที" คืออะไร
น้ำฝนต่อการเจริญเติบโตของพืช
การดูแลผักในฤดูฝน
ทุเรียนเต่าเผา ทุเรียนไส้ซึม
แต่ละภาค...ปลูกอะไรดี?
โรคเมลาโนสในส้ม
การฉีดพ่นสารทางใบให้ถูกวิธี
การฝังเข็มรักษาโรครากเน่าโคนเน่าอย่างไรให้ได้ผล
เพลี้ยหอยในส้ม
เพลี้ยจักจั่นฝอยทุเรียน
โรคใบจุดสาหร่ายในทุเรียน
โรคใบจุดตากบในพริก
โครงการแก้มลิง
7 วิธีกำจัดหอยทากอย่างปลอดภัย
หนอนม้วนใบส้ม (Citrus leaf-roller)
5 เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับกระท่อม
การดูแลต้นไม้หลังน้ำลด
ระวัง ไรขาวและโรคกุ้งแห้งระบาดในพริก
โรคกิ่งแห้งทุเรียน จากเชื้อฟิวซาเรียม
โรคราสีชมพูในทุเรียน
หนอนหน้าแมวศัตรูต้วร้ายปาล์มน้ำมัน
โรคเน่าคอดินในผักกินใบ
โรคพืชที่ต้องระวังในฤดูหนาว
3 ตัวห้ำ แมลงดีในแปลงเกษตร
ธาตุรอง และ จุลธาตุ ธาตุอาหารสำคัญที่พืชขาดไม่ได้
แมลงศัตรูพืชที่สำคัญในทุเรียน
โรคพืชในทุเรียน
ปลูกมังคุดต้องระวัง (โรคและแมลง) อะไรบ้าง
การใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ
8 เทคนิคการจัดการปุ๋ย
มาทำความรู้จัก ปุ๋ยไนโตรเจนกันเถอะ
โรคและแมลงศัตรูพืชยอดฮิตในพริก
วิธีการดูทุเรียนสุก
โรคและแมลงศัตรูพืชที่พบบ่อยในผักตระกูลกะหล่ำ
การขาดธาตุแมงกานีสในทุเรียน
แมลงและโรคพืชที่ต้องระวังในส้ม
6 เรื่อง...ที่ต้องรู้ก่อนซื้อสารกำจัดศัตรูพืช
อาการ...ขาดธาตุโบรอน ในปาล์มน้ำมัน
อาการขาดธาตุสังกะสี
อาการขาดธาตุแมกนีเซียมในปาล์มน้ำมัน
โรคใบติดทุเรียน ภัยร้าย ทำลายพืช !!
วิธีการฟื้นฟู และดูแลต้นไม้หลังน้ำลด
สีของดินบอกอะไรบ้าง?
4 หลักการใส่ปุ๋ยเคมีให้คุ้มค่า
มารู้จัก แมลงศัตรูพืช กันเถอะ
ประโยชน์ของธาตุแคลเซียมที่มีต่อพืช
การดูแล "ผักสลัด" ในหน้าร้อน ทั้งในและนอกโรงเรือน
5 แมลงศัตรูพืชที่สำคัญในส้ม
บำรุงดินด้วยวิธีธรรมชาติ เคล็ดดลับดูแลต้นไม้แบบประหยัด
ปัญหาพืชหน้าฝน โรครากเน่า โคนเน่า
โรคร้ายทำลายข้าว
อาหารทางใบฉีดพ่นยังไงให้ได้ผล
สารกำจัดศัตรูพืช ยาร้อน ยาเย็น ดูอย่างไร?