โรคยอดฮิตในมะละกอ
สภาพอากาศที่มีฝนตกชุกสลับกับอากาศร้อนอบอ้าว เอื้อต่อการเจริญเติบโตของศัตรูพืช โดยเฉพาะเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคพืชในมะละกอ โดยจะมีโรคหลักๆ อยู่ 3 โรคด้วยกัน
.....................................
"โรครากเน่า โคนเน่า" เป็นหนึ่งโรคที่ผู้ปลูกมะละกอ ต้องปวดหัว เมื่อเกิดโรคขึ้นมาในแปลงปลูกมะละกอ
สาเหตุและลักษณะของการแพร่ระบาดของโรค
เชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรค: เกิดจากเชื้อพิเทียม (Pythium aphanidermarum (Edson) Fitz)และไฟท๊อปธอร่า (Phytophthora palmivora Butl.) มักระบาดอย่างรุนแรงในฤดูฝน คือ เดือนมิถุนายนถึงประมาณสิงหาคม โรคนี้เมื่อระบาดแล้วอาจจะเป็นหมดทั้งสวนได้
ลักษณะอาการหลัก: ใบมะละกอเหี่ยวแห้งตายและร่วง ลำต้นกล้าแห้งตายอย่างรวดเร็วเมื่อถอนดูจะไม่มีระบบรากเหลืออยู่ ในมะละกอต้นโตจะแสดงอาการรากเน่า ทำให้ก้านใบลู่ลง ใบเหี่ยวแห้งอย่างรวดเร็วทำให้เหลือแต่ยอดซึ่งมีก้านใบสั้นๆ
ผลมะละกอจะเหี่ยวหรือสุกเหลืองก่อนแก่ และมีเส้นใยของเชื้อราเจริญคลุมผล ต่อมาโคนจะเยิ้มแฉะ เนื้อเยื่อชุ่มน้ำสีน้ำตาลเปื่อยยุ่ย เมื่อสภาพอากาศชื้นจะมีเส้นใยสีขาวของเชื้อราเจริญฟูที่ผิวทำให้ลำต้นหักพับที่บริเวณโคนได้ง่าย
การแพร่ระบาดของเชื้อราทางดินในสภาพอากาศที่มีน้ำขัง และมีสภาพอากาศร้อนชื้น เชื้อราพิเทียมและเชื้อไฟท๊อปธอร่า ในดินจะทำให้ต้นกล้าตายในช่วงระยะก่อนและหลังงอก เชื้อราจะเข้าทำลายรากและลุกลามสู่โคนต้น
การควบคุมและป้องกันโรค
จากการศึกษาของนักวิชาการ ของกรมวิชาการเกษตร แนะนำวิธีให้เกษตรกรลดความรุนแรงหรือหลีกเลี่ยงโรคให้ลดน้อยลง สิ่งที่ต้องปฏิบัติคือ
การใช้สารเคมีในการป้องกัน
.....................................
"โรคแอนแทรคโนส" เป็นอีกโรคที่ผู้ปลูกมะละกอไม่ควรมองข้าม เพราะเมื่อเกิดโรคในแปลงปลูกขึ้นมาแล้วจะทำความเสียหายให้กับผลผลิตเป็นอย่างมาก
สาเหตุและลักษณะของการแพร่ระบาดของโรค
เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides ซึ่งจะเข้าทำลายทั้งใบอ่อนและผล เชื้อราจะแพร่กระจายจากแหล่งเพาะเชื้อตามผล กิ่งก้านที่เป็นโรค โดยลมฝน โดยสปอร์ของเชื้อจะงอก และแทงเข้าสู่ผิวผลได้โดยไม่ต้องมีบาดแผลเกิดขึ้น และจะเจริญฟักตัวอยู่ที่เนื้อเยื่อบริเวณใต้ผิวมผลมะละกอ จนเริ่มสุกจึงจะเกิดอาการของโรค
เชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรค: Colletotrichum gloeosporioides
ลักษณะอาการหลัก:
ใบ จะเป็นจุดขอบแผลสีน้ำตาล เนื้อเยื่อส่วนกลางจะมีสีซีดจางและมักจะขาดเป็นรูทะลุในเวลาต่อมา มักพบจุดดำเล็กๆ กระจายทั่วบริเวฯแผล ซึ่งคื่อส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อรา
ผล จะเห็นได้ชัดเจนเมื่อเกิดกับผลสุก จะเกิดลักษณะแผลกลมฉ่ำน้ำ และยุบลงไปในผล ตรงกลางจุดจะมีสปอร์ของเชื้อสีส้มหรือชมพูขึ้นเป็นวงชั้นๆ บริเวณแผลและแผลจะลุกลามขยายตัวไป ทำให้ผลมะละกอเน่าเสียในเวลารวดเร็ว โดยเฉพาะในสภาพอากาศอบอ้าว และมีความชื้นสูง เชื้อสาเหตุของโรคจะเข้าทำลายตั้งแต่ระยะผลอ่อน และฟักตัวยังไม่แสดงอาการของโรค แต่จะปรากฎอาการเมื่อผลมะละกอสุก
การควบคุมและป้องกันโรค
แนะนำวิธีให้เกษตรกรลดความรุนแรงหรือหลีกเลี่ยงโรคให้ลดน้อยลง สิ่งที่ต้องปฏิบัติคือ
การใช้สารเคมีในการป้องกัน
.....................................
"โรคใบด่างจุดวงแหวน" เป็นโรคที่ผู้ปลูกมะละกอ มักเป็นกังวลอยู่ตลอดเวลา เพราะถ้าเกิดการแพร่ระบาดในพื้นที่ จะสร้างความเสียหายให้แก่เกษตรกรเป็นอย่างมาก
สาเหตุและลักษณะของการแพร่ระบาดของโรค
เกิดจากการที่แมลงปากดูด เช่น เพลี้ยอ่อน หรือแมลงหวี่ขาว ดูดน้ำเลี้ยงจากต้นที่เป็นโรค เชื้อไวรัสจะติดอยู่กับส่วนปากแมลง และเมื่อเพลี้ยอ่อนย้ายไปดูดน้ำเลี้ยงต้นมะละกอที่ไม่เป็นโรค ก็จะถูกถ่ายเชื้อไวรัส การถ่ายทอดโรคนี้ใช้เวลาสั้นมาก หลังมะละกอได้รับเชื้อไวรัสแล้วประมาณ 15-30 วินาที ก็จะติดโรคให้เห็น
แมลงพาหะ: แมลงปากดูด เช่น เพลี้ยอ่อน ได้แก่ เพลี้ยอ่อนฝ้าย (Aphis gossypii Glov.) เพลี้ยอ่อนถั่ว (A. craccivora Koch.) และแมลงหวี่ขาว
เชื้อไวัสที่เป็นสาเหตุของโรค: Papaya ringspot virus-type P
ลักษณะอาการหลัก: ใบด่างเหลือง หรือใบด่างสีเขียวเข้มสลับสีเขียวอ่อน ใบมีขนาดเล็กลง บิดเบี้ยว เนื้อใบหดหายจนเหลือแต่เส้นใบทำให้มีลักษณะเป็นเส้นบนก้านใบ และลำต้นมีลักษณะเป็นจุดช่ำน้ำหรือเป็นทางยาวสีเขียวเข้ม ต้นแคระแกร็นใบแก่ร่วงหมดจนเหลือแต่ใบยอด ผิวของผลมะละกอเกิดแผลจุดกลมเป็นวงซ้อนๆ กันกระจายทั่วทั้งผล มะละกอที่รับเชื้อตั้งแต่ระยะยังเป็นต้นอ่อนมักไม่ติดผล
พืช
การควบคุมและป้องกันโรค
จากการศึกษาของนักวิชาการ ของกรมวิชาการเกษตร แนะนำวิธีให้เกษตรกรลดความรุนแรงหรือหลีกเลี่ยงโรคให้ลดน้อยลง สิ่งที่ต้องปฏิบัติคือ
การใช้สารเคมีในการป้องกัน