Top
น้ำตาลทางด่วน VS กรดอะมิโน

น้ำตาลทางด่วนกับอะมิโนแตกต่างกันอย่างไร? ใช้ต่างกันอย่างไร?

เกษตรกรส่วนใหญ่คงรู้จักน้ำตาลทางด่วนและกรดอะมิโน กันเป็นอย่างดี แต่วันนี้มิสเตอร์คิวจะมาอธิบายความแตกต่างระหว่าง 2 ตัวนี้ และการนำไปใช้ ว่าจะแตกต่างกันอย่างไรบ้าง

น้ำตาลทางด่วน
มีส่วนผสมของกลูโคส โมเลกุลเดี่ยว ช่วยให้พลังงานพืชทันทีโดยไม่ต้องผ่านขบวนการสังเคราะห์แสง เปรียบน้ำตาลทางด่วนเหมือนกับเครื่องดื่มชูกำลัง เวลาที่ร่างกายอ่อนเพลีย ง่วงนอน เมื่อดื่มเครื่องดื่มชูกำลังจะเป็นการให้พลังงานโดยตรงแก่ร่างกายทำให้ร่างกายกระปรี้กระเป่าขึ้น เช่นเดียวกับต้นพืช โดยน้ำตาลทางด่วนจะใช้เมื่อต้นพืชโทรม หรือ สภาพอากาศไม่ปกติ ฟ้าปิด พืชไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ พืชจะมีความเครียดสูง การให้น้ำตาลทางด่วนเข้าไปก็เหมือนเป็นการทำให้พืชกระปรี้กระเป่าขึ้น ฟื้นตัวได้เร็วขึ้น

1. ให้พลังงานพืชทันทีโดยไม่ต้องผ่านขบวนการสังเคราะห์แสง เพิ่มคุณภาพและความหวานให้กับผัก ผลไม้

2.เมื่อฉีดน้ำตาลทางด่วนให้กับพืชแล้ว พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ หลังจากฉีดพ่นตามทรงพุ่มแล้ว ประมาณ 2-3 ชั่วโมง

3.เหมาะสำหรับพืชในช่วงที่ต้องการใช้พลังงานมากกว่าปกติ เช่น ช่วงฟื้นต้น ช่วงที่เร่งความหวานให้กับผลไม้

4.ลดปัญหาการหลุดร่วงของผลเนื่องจากการแบ่งอาหารสะสมของใบอ่อนที่แตกในระยะติดผลอ่อนหรือเนื่องจากอาหารสะสมในต้นไม่เพียงพอ โดยจะไปช่วยเสริมเป็นแหล่งอาหารทำให้พืชสามารถนำไปใช้ได้ทันท่วงทีก่อนที่จะมีปัญหาผลร่วง

การนำไปใช้
#น้ำตาลทางด่วน เหมาะจะใช้ในกรณีวิกฤติ หรือพืชต้นที่โทรม รวมถึงช่วงที่ต้องการสร้างความหวาน เช่น พืชมีอาการถ่ายใบ พืชสลัดดอกจากอากาศเปลียนแปลง เป็นต้น
-------------------------------------------------------

กรดอะมิโน
เป็นสารตั้งต้นของฮอร์โมนและเอนไซม์ ที่พืชจำเป็นต้องสร้างขึ้นมาใช้ เมื่อพืชไม่สามารถผลิตกรดอะมิโนได้ตามความต้องการ ทำให้พืชไม่สมบูรณ์ หรือ ออกดอก ออกผลได้ไม่มาก หรือผลผลิตไม่สมบูรณ์ บิดเบี้ยว ผลเล็ก จึงจำเป็นต้องใช้กรดอะมิโนสำเร็จรูป เพื่อให้พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที ตามความต้องการ ไม่ต้องผ่านขบวนการทางชีวเคมีที่พืชต้องสร้างขึ้นเอง เสมือนหนึ่งเป็นอาหารเสริมบำรุงพืช เพื่อช่วยให้ผลผลิตมีคุณภาพดี ต้นพืชแข็งแรง ทนต่อสภาพอากาศที่แปรปรวนได้มากขึ้น

1.เร่งการเจริญเติบโตในทุกระยะของพืชได้ทุกชนิด ช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อ ขยายโครงสร้างและผลผลิตของพืช เพิ่มน้ำหนักผล เร่งใบเขียว เร่งราก แตกยอด ขยายกอ เร่งสีดอก ผล

2.เร่งให้พืชสร้างฮอร์โมนอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้มีการซ่อมแซมโครงสร้างพืชและการต้านทานต่อโรค แมลง หรือภูมิอากาศที่แปรเปลี่ยนอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ช่วยส่งเสริมการผสมละอองเกสรและการติดผล

3.อุดมด้วยสารอาหารช่วยปรับปรุงคุณภาพดินให้มีโครงสร้างที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืชและจุลินทรีย์ในดินให้มีการขยายตัวดี พืชสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็ว

4.ช่วยในการสังเคราะห์แสงของต้นพืชและบังคับการ ปิด-เปิด ปากใบของพืชเพื่อลดการสูญเสียน้ำ ในต้นพืช ช่วยกระตุ้นการทำงานของฮอร์โมนพืช

การนำไปใช้
#กรดอะมิโน เหมาะจะใช้ในช่วง สะสมอาหาร ติดผลอ่อน ขึ้นลูก ผลร่วง,ดอกร่วงเนื่องจากอาหารไม่พอเลี้ยง เป็นต้น

 
-------------------------------------------------------
มาวิน
มีส่วนประกอบของน้ำตาลทางด่วน ช่วยให้พลังงานพืชทันทีโดยไม่ต้องผ่านขบวนการสังเคราะห์แสง

1. มาวิน จะช่วยทำให้พืชฟื้นตัวได้เร็วขึ้น ในช่วงที่ประสบปัญหาสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย เช่น สภาวะแล้งรุนแรงหรือหลังจากน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน ระบบรากทำงานได้ไม่เป็นปกติ

2. มาวิน ใช้ได้กับพืชในช่วงที่ต้องการใช้พลังงานมากกว่าปกติ เช่น ช่วงแตกใบอ่อน ช่วงการออกดอก ช่วงติดผล และช่วงที่เร่งความหวานให้กับผลไม้

3. มาวิน ลดปัญหาการหลุดร่วงของผลเนื่องจากการแบ่งอาหารสะสมของใบอ่อนที่แตกในระยะติดผลอ่อนหรือเนื่องจากอาหารสะสมในต้นไม่เพียงพอ โดยจะไปช่วยเสริมเป็นแหล่งอาหารทำให้พืชสามารถนำไปใช้ได้ทันท่วงทีก่อนที่จะมีปัญหาผลร่วง

4. ใช้ได้กับพืชทุกชนิด

-------------------------------------------------------
อัตราแนะนำ
20-30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง
การใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและปลอดภัย
อาการขาดธาตุอาหารของพืช
ข้อมูลแถบสีบนฉลากสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช
ข้อแตกต่างระหว่างหนอนผีเสื้อ VS หนอนแมลงวัน ชอนใบในมะเขือเทศ
โรคใบด่างจุดวงแหวนในมะละกอ
ผังแสดงตารางการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชบางชนิด
การระบาดของศัตรูพืชช่วงหน้าร้อน
การปลูกพืชใช้ดินอะไรดี
โรคยอดฮิตในมะละกอ
แนวทางการทำเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง
เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน
เพลี้ยไก่แจ้ส้ม และการป้องกัน
7 วิธีดูแลรักษาไม้ผลในช่วงแล้ง
โรคพืชที่มีสาเหตุมาจากไวรัสในพริก
การตรวจวิเคราะห์ดิน
มารู้จักกับหนอนชอนใบผีเสื้อมะเขือเทศ
โรคราแป้งในเงาะ
รู้ไหมว่าเชื้อ "บีที" คืออะไร
น้ำฝนต่อการเจริญเติบโตของพืช
การดูแลผักในฤดูฝน
ทุเรียนเต่าเผา ทุเรียนไส้ซึม
แต่ละภาค...ปลูกอะไรดี?
โรคเมลาโนสในส้ม
การฉีดพ่นสารทางใบให้ถูกวิธี
การฝังเข็มรักษาโรครากเน่าโคนเน่าอย่างไรให้ได้ผล
เพลี้ยหอยในส้ม
เพลี้ยจักจั่นฝอยทุเรียน
โรคใบจุดสาหร่ายในทุเรียน
โรคใบจุดตากบในพริก
โครงการแก้มลิง
7 วิธีกำจัดหอยทากอย่างปลอดภัย
หนอนม้วนใบส้ม (Citrus leaf-roller)
5 เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับกระท่อม
การดูแลต้นไม้หลังน้ำลด
ระวัง ไรขาวและโรคกุ้งแห้งระบาดในพริก
โรคกิ่งแห้งทุเรียน จากเชื้อฟิวซาเรียม
โรคราสีชมพูในทุเรียน
หนอนหน้าแมวศัตรูต้วร้ายปาล์มน้ำมัน
โรคเน่าคอดินในผักกินใบ
แมลงศัตรูพืชที่ระบาดในหน้าหนาว
โรคพืชที่ต้องระวังในฤดูหนาว
3 ตัวห้ำ แมลงดีในแปลงเกษตร
ธาตุรอง และ จุลธาตุ ธาตุอาหารสำคัญที่พืชขาดไม่ได้
แมลงศัตรูพืชที่สำคัญในทุเรียน
โรคพืชในทุเรียน
ปลูกมังคุดต้องระวัง (โรคและแมลง) อะไรบ้าง
การใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ
8 เทคนิคการจัดการปุ๋ย
มาทำความรู้จัก ปุ๋ยไนโตรเจนกันเถอะ
โรคและแมลงศัตรูพืชยอดฮิตในพริก
วิธีการดูทุเรียนสุก
โรคและแมลงศัตรูพืชที่พบบ่อยในผักตระกูลกะหล่ำ
การขาดธาตุแมงกานีสในทุเรียน
แมลงและโรคพืชที่ต้องระวังในส้ม
6 เรื่อง...ที่ต้องรู้ก่อนซื้อสารกำจัดศัตรูพืช
อาการ...ขาดธาตุโบรอน ในปาล์มน้ำมัน
อาการขาดธาตุสังกะสี
อาการขาดธาตุแมกนีเซียมในปาล์มน้ำมัน
โรคใบติดทุเรียน ภัยร้าย ทำลายพืช !!
วิธีการฟื้นฟู และดูแลต้นไม้หลังน้ำลด
สีของดินบอกอะไรบ้าง?
4 หลักการใส่ปุ๋ยเคมีให้คุ้มค่า
มารู้จัก แมลงศัตรูพืช กันเถอะ
ประโยชน์ของธาตุแคลเซียมที่มีต่อพืช
การดูแล "ผักสลัด" ในหน้าร้อน ทั้งในและนอกโรงเรือน
5 แมลงศัตรูพืชที่สำคัญในส้ม
บำรุงดินด้วยวิธีธรรมชาติ เคล็ดดลับดูแลต้นไม้แบบประหยัด
ปัญหาพืชหน้าฝน โรครากเน่า โคนเน่า
โรคร้ายทำลายข้าว
อาหารทางใบฉีดพ่นยังไงให้ได้ผล
สารกำจัดศัตรูพืช ยาร้อน ยาเย็น ดูอย่างไร?
โรคพืชที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
โรคพืชในส้มที่ควรระวัง